■ บทความโดย ดร.ยาซีน ออกเตย์ รองหัวหน้าพรรคเอเค พรรครัฐบาลตุรกี และอดีต สส.ของพรรค
แปลและเรียบเรียงโดย ผศ.ดร.ฆอซาลี เบ็ญหมัด
อ่านต้นฉบับ
https://bit.ly/3Exdxre
อัฟกานิสถานมีบทบาทสำคัญในการเมืองโลกตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่สองของศตวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากได้เห็นการยึดครองและสงครามมากมายทั้งในฐานะประเทศและภูมิศาสตร์ อาจเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการมุ่งเน้นไปที่ฉากตอลิบานและฉากของสงครามกลางเมืองที่กำลังดำเนินอยู่และภาพทั่วไปที่แสดงให้เห็นว่าอัฟกานิสถานเป็นเขตขัดแย้ง แต่ภูมิศาสตร์ที่ยากลำบากนี้ บรรดามหาอำนาจทั้งหมดพากันผ่านเข้ามาตามลำดับ แต่พวกเขาทั้งหมดจำต้องถอนตัวออกไป หลังจากได้รับบทเรียนที่จำเป็น
ประเด็นนี้คือสิ่งที่กำหนดชะตากรรมของสหภาพโซเวียตช่วงที่มีอายุได้เจ็ดสิบปี และช่วงสงครามเย็นที่ตามมา ประเทศนี้ไม่สนใจว่าใครลงทุนในมันและลงทุนอะไร เช่นเดียวกับที่ไม่สนใจว่าพันธมิตรกับใครกับใคร เพราะท้ายที่สุดเป็นที่แน่นอนว่าทุกคนที่ทำสงครามที่นั่น ล้วนพากันสร้างความหายนะให้แก่ตนเอง
แน่นอน ตุรกีไม่สามารถเพิกเฉยต่อภูมิศาสตร์ที่สำคัญนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากความสมดุลของโลกที่เกิดขึ้นจากที่นั่นมีผลที่ตุรกีรู้สึกได้
คำพูดที่ว่าสหรัฐฯ ถูกบังคับให้ถอนตัวจากอัฟกานิสถานหลังจากยี่สิบปีของการยึดครองอย่างเข้มงวดและความพยายามอย่างกว้างขวางในการควบคุมประเทศ หรือที่ว่า กลุ่มตอลิบานบังคับให้สหรัฐฯ ถอนตัวออกไป แม้ตอลิบานจะมีศักยภาพที่จำกัด คำพูดทั้งสองอธิบายและสรุปได้ตรงตามความเป็นจริง
ข้าพเจ้าไม่เห็นว่า การสรุปสถานการณ์ในลักษณะนี้จะเป็นการเข้าข้างหรือเกลียดชังต่อฝ่ายใด ไม่ว่าสหรัฐอเมริกาหรือกลุ่มตอลิบาน แต่เป็นการสรุปสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เช่นเดียวกับการกล่าวว่ากลุ่มตอลิบานประสบความสำเร็จด้วยคุณลักษณะหรือข้อได้เปรียบที่พวกเขามี เราต้องตระหนักถึงสิ่งนั้น
ด้วยเหตุนี้ เราพบว่าในที่สุดสหรัฐอเมริกาก็ถึงจุดสิ้นสุดของแบบจำลองในการวางรูปแบบ ไม่ว่าจะในด้านการเมือง สังคม หรือทางการทหาร ต่อหน้าการต่อต้านของกลุ่มตอลิบาน ที่ยืนกรานที่จะดำเนินต่อสู้ด้วยความอดทนเป็นระยะเวลานาน
ไม่ใช่เราที่พูดแบบนี้ แต่เจ้าหน้าที่ของอเมริกาเองที่ยอมรับว่า ตราบเท่าที่ประเทศของพวกเขายังคงอยู่ในอัฟกานิสถาน จะติดหล่มอยู่ในหล่มมหึมาท่ามกลางความสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน สำหรับกลุ่มตอลิบาน พวกเขามีความสูญเสียเพียงเล็กน้อย
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าสถานการณ์ใหม่นี้ทำให้เราจำเป็นต้องทำความรู้จักกับกลุ่มตอลิบานให้มากขึ้นอีกหน่อย หากอัฟกานิสถานมีความสำคัญต่อเรา แต่หากวิสัยทัศน์ของตุรกีไม่กว้างพอ ก็ไม่ต้องไปแยแสต่อภูมิศาสตร์ที่กำหนดเส้นทางของโลกในช่วงสี่สิบปีที่ผ่านมา
มีอีกแง่มุมหนึ่งที่ต้องชี้ให้เห็นคือ เมื่อเราเรียกร้องให้สนับสนุนให้มองตาลีบันด้วยสายตาสื่อตะวันตกหรือสื่อต่อต้านอิสลามโดยทั่วไป ไม่ได้หมายความว่าเรามองว่าตอลิบานเป็นวีรบุรุษ สัญลักษณ์หรือคุณธรรมเหนือธรรมชาติ ความคิดแบบนี้ไม่ใช่ลักษณะของเรา แต่เป็นความคิดฝ่ายซ้าย ซึ่งฝันถึงความโกลาหลบนถนนทุกสายในตุรกี
แต่ถ้าหากว่าตุรกีมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ที่ทำให้รู้ว่าใครคือกลุ่มตอลิบาน ธรรมชาติของกลุ่มคืออะไร และอะไรที่อัฟกานิสถานสามารถทำได้และอะไรที่ไม่สามารถ
แน่นอนว่ามีบางภาคส่วนที่ต่อต้านอิสลามมาก่อนและยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อกลุ่มตอลิบานก้าวมามีอำนาจ และพวกเขาปฏิเสธความจริงโดยปราศจากหลักความยุติธรรมแม้แต่น้อย ถึงขนาดว่าหากพวกเขาพูดคำว่าตอลิบาน พวกเขาจะคิดว่าลิ้นของพวกเขาจะไม่สะอาดเว้นแต่จะต้องสาปแช่งกลุ่มตอลิบานและแสดงปฏิกิริยาแสดงความเกลียดชังต่อพวกเขา
แต่ในทางกลับกัน พวกเขาไม่ได้พูดอะไรเกี่ยวกับผู้ยึดครองอัฟกานิสถานเป็นเวลา 50 ปี และได้สังหารชาวอัฟกัน ซึ่งอาจจะมากกว่าที่กลุ่มตอลิบานสังหารถึง 50 เท่า ประหนึ่งว่าอัฟกานิสถานสดใสและเงียบสงบก่อนที่กลุ่มตอลิบานจะเข้าควบคุม และเมื่อมันเข้าควบคุม ทุกสิ่งที่สวยงามก็จบลง ทั้งๆที่ในความเป็นจริง สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการถอนตัวของประเทศที่ครอบครอง
ในทางกลับกัน สิ่งที่อัฟกานิสถานจะทำในระยะต่อไปยังคงเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับทุกคน ในบริบทนี้ ความกังวลที่ร้ายแรงเกี่ยวกับการปฏิบัติของตอลิบานในอดีต จะถือว่าเป็นเรื่องไม่จริงไม่ได้ แต่จะต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม และกลั่นกรองขอบเขตการปฏิบัติของตอลิบานเกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม หรือความเข้าใจอิสลามของตอลิบาน และสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับสภาพสังคมและประเพณีในอัฟกานิสถานอย่างไร
สำหรับผู้ที่เปรียบเทียบระหว่างตุรกีกับอัฟกานิสถาน และนำแบบจำลองจากที่นี่ไปที่นั่น ฉันไม่แน่ใจว่าพวกเขาจะรู้วิธีอ่านและเขียนหรือไม่
พวกเขาพากันขอบคุณต่อเซคคิวลาร์และ Kemalist เมื่อกล่าวถึงพัฒนาการในอัฟกานิสถาน ที่ซึ่งไม่มีตรรกะในข้อเสนอเลย แต่เป็นสภาวะของอารมณ์ล้วนๆ
และอีกอย่าง ข้าพเจ้าอยากจะพูดถึงข้อเท็จจริงพื้นฐานที่นี่ อัตราการรู้หนังสือในอัฟกานิสถานมีเพียง 30% เท่านั้น และ 42% ของชาวอัฟกันมีอายุระหว่าง 0 ถึง 14 ปี ในขณะที่ 80% ของชาวอัฟกันอาศัยอยู่ในชนบท ซึ่งหมายความว่าอัตราการเป็นเมืองอยู่ที่ระดับเพียง 20% ดังนั้น ชนเผ่าจึงมีบทบาทสำคัญในชีวิตทางการเมืองและสังคมของอัฟกานิสถาน หากเราคำนึงถึงอัตราของผู้คนที่อาศัยอยู่ในชนบท
หากเราไม่พูดถึงอัฟกานิสถาน แต่เป็นชนเผ่าแอฟริกัน เราจะเห็นเหตุการณ์ที่น่าตกใจอันเนื่องจากสภาพของสังคม แต่กลับไม่มีอิทธิพลต่อสื่อเหมือนกับสิ่งที่เกิดในอัฟกานิสถาน ตัวอย่างเช่นในรวันดา การตีความทางศาสนาแบบใดในสงครามกลางเมืองของรวันดา ที่ทำให้สามารถสังหารคนกว่าล้านคนอย่างโหดเหี้ยมภายในหนึ่งสัปดาห์ มีใครพูดถึงเรื่องนี้บ้างไหม?
การตีความศาสนาอิสลามไม่ได้เป็นสิ่งที่รับผิดชอบในสิ่งที่กลุ่มตอลิบานได้ทำ และไม่ได้เป็นสาเหตุของการโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับการต่อต้านอิสลามทั่วโลก และไม่ใช่หลักนิติศาสตร์อิสลามที่ต้องรับผิดชอบต่อนโยบายของตอลิบานมากเท่ากับขนบธรรมเนียมประเพณี โดยเฉพาะเมื่อพูดถึง “ปุชตุน” ที่มีประเพณีกำหนดบุรกา (ผ้าคลุมใบหน้าและร่างกายของผู้หญิง) กล่าวอีกนัยหนึ่ง กลุ่มตอลิบานเป็นผลผลิตของความเข้าใจดั้งเดิมที่ได้รับอิทธิพลจากประเพณีท้องถิ่น
และอย่าลืมว่าต่างชาติที่ยึดครองอัฟกานิสถานมาเป็นเวลาราว 40 ปี และสงครามต่อต้านประเพณีนี้อาจทำให้อัฟกานิสถานปิดตัวเองมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่บุรก้าเปลี่ยนจากสัญลักษณ์ดั้งเดิมไปเป็นปฏิกิริยาโกรธแค้นต่อการยึดครองที่ดำเนินมายาวนาน
ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่าระยะห่างทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภูมิศาสตร์ระหว่างตุรกีและอัฟกานิสถานนั้นยาวนานมาก แต่การตีความทางการเมืองดูเหมือนจะลดระยะห่างเหล่านั้นไปในทางที่ต่างออกไป
หมายเหตุ บทความ/รายงานเกาะติดสถานการณ์
อัฟกานิสถานก่อนหน้านี้ของผู้เขียน(อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์)
1.อัฟกานีสถาน:ชารีอะห์อิสลามมีความหมายมากกว่าการบังคับใช้กฎหมายอิสลาม
http://spmcnews.com/?p=43555
2.ชัยชนะของฏอลิบาน มองย้อนบทเรียน “การพิชิตนครมักกะฮ์ของนบี”
http://spmcnews.com/?p=43433
3.สถานการณ์อัฟกานิสถาน กับปฏิกิริยาของสังคมไทย และสามจังหวัดชายแดนใต้/(https://www.matichonweekly.com/column/article_456993)
4. #การเจรจาให้สุดความสามารถอันเป็นวิธีที่ดีที่สุดในทางออก “สันติภาพในอัฟกานิสถาน”
http://spmcnews.com/?p=43924
5.ความขัดแย้งในอัฟกานิสถาน กำลังส่งผล สงครามแย่งมวลชนระดับโลก หลัง ‘ฏอลิบาน’ ยึดอำนาจ
http://spmcnews.com/?p=43523
6. ฏอลิบานชนะแค่ทางการทหารที่ปันชีร์,ทำไม?
เกาะติดสถานการณ์ อัฟกานิสถาน:ฏอลิบานชนะแค่ทางการทหารที่ปันชีร์,ทำไม?
7.
เกาะติดสถานการณ์อัฟกานิสถาน:ฏอลิบานประกาศตั้งคณะรัฐมนตรี , เสนอแนะให้รัฐบาลใหม่รับฟัง เยาวชนคนรุ่นใหม่เพื่อร่วมกันพัฒนาอัฟกานิสถาน
http://spmcnews.com/?p=44039
5,704 total views, 4 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.