เมษายน 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ความขัดแย้งในอัฟกานิสถาน กำลังส่งผล สงครามแย่งมวลชนระดับโลก ระดับนานาชาติอย่างชัดเจนโดยเฉพาะเฟซบุ๊ก-ทวิตเตอร์-ลิงค์อิน ยูทูป แบนบัญชีผู้ใช้ในอัฟกานิสถาน หลัง ‘ฏอลิบาน’ ยึดอำนาจ และกระแสการหนุนตอลิบันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ผศ.ดร.มาโนชญ์ อารีย์ สะท้อนว่า มีเหรียญสองด้านข่าวสองมุม เช่น “ร้านเสริมสวย “

แชร์เลย

 

 

#มุมที่ 1 ทันทีที่ตาลีบันยึดคาบูล ปรากฎว่ามีการแชร์ภาพที่ร้านเสริมสวยต่าง ๆ ได้ออกมาลบภาพโฆษณาบนกำแพงที่เป็นภาพหญิงสาวสวยในแบบสมัยใหม่ เป็นเรื่องจริง

มุมที่ 2 (ตรงจากพื้นที่คาบูล) ร้านเสริมสวยถูกสั่งปิดชั่วคราว ภาพโฆษณาถูกลบ เพราะภาพเหล่านี้เป็นสิ่งผิดหลักการศาสนา แต่ร้านเหล่านี้จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง โดยไม่ประเจิดประเจ้อ (อันนี้น่าจะหลักคิดคล้ายแบบบ้านเราคือสุราเป็นสิ่งมึนเมา ขายได้แต่ห้ามโฆษณา ) ต้องปลอดภัย ให้บริการเฉพาะผู้หญิง ไม่มีการโฆษณาโดยใช้ภาพที่ไม่เหมาะสม
“ความโกลาหลกับความสงบ” มุมที่ 1 สื่อกระแสหลักหลายสำนักทั้งตะวันตกและตะวันออกส่วนใหญ่รายงานสถานการณ์ในอัฟกานิสถานและฏอลิบาไปในทิศทางเดียวกันคือความโกลาหล การต่อต้านตาลีบัน ความสุดโต่งของตาลีบันที่ไม่ได้ทำเหมือนที่สัญญาไว้ ฯลฯ

มุมที่ 2 (ตรงจากพื้นที่คาบูล) อินเดีย , ปากีสถาน และสำนักข่าวตะวันตก นำเสนอข่าวคลาดเคลื่อน พวกเขากำลังนำเสนอเรื่องราวที่ตรงข้ามกับความจริง เรื่องสื่อเป็นเรื่องใหญ่มากในการทำความเข้าใจอัฟกานิสถาน มีการปล่อยข่าว fake news , ทวิตเตอร์ปลอมของสื่อใหญ่ และอื่น ๆ ถ้าไล่ดูจะเจอข่าวปลอมท่าปล่อยมากมาย และจากทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งฟัยรูซ ข่านยกตัวอย่าง “คลิปที่ยิงศรีษะสตรีคนหนึ่ง
ทั้งที่คลิปนี้มันหลายปีมาแล้ว และ คือ คลิปของ กลุ่ม ไอสิส ที่เคย แพร่ออกมาให้เราเห็นกันในอดีต ไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยสักนิด”

อย่างไรก็แล้วแต่ไม่เพียงระดับนานาชาติ เท่านั้น แต่จากการติดตามพบมีวิวาทะ ที่เมืองไทยโดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ผ่าน สื่อออนไลน์ เฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ คลับเฮาส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพาดหัวข่าวสื่อ เช่น 5สาวพี่น้องอัฟกัน ดิ้นรนอพยพ หวั่นถูกฏอลิบานจับไปเป็นทาสกาม (โปรดดูข่าสด https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_6576866?fbclid=IwAR2Qp9OlZwF_WKuDqWilHs3LR_r5fPYrhRhu9Z0sMTz2-hk8JNNGmtv6Vxs)
การรายงานข่าวของสื่อ ที่ผู้อ่านผู้ฟังรู้สึกว่า เอนเอียง ใช้อารมณ์ ในการนำเสนอ เช่นคุณปลื้มจาก Voice TV โดยใช้คำว่า “ตัวตนที่แท้จริงของฏอลิบานกดขี่ผู้หญิง เป็นอาณานิคมยังดีกว่า? ในอดีตฏอลิบาน ข่มขืน สตรี “

(โปรดดู https://fb.watch/7xyCwQ9M7n/)
ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ก็ไม่ต่างกับ การรายงานข่าวของสื่อต่อสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศไทยที่เราอยู่ทุกวัน ซึ่งเป็นความท้าทายไม่แพ้กัน มันเป็นความท้าทายที่ไกลกว่าการรายงานเหตุการณ์
นวลน้อย ธรรมเสถียรอดีตในข่าวบีบีซีภาคภาษาไทย กล่าวว่า “ความท้าทายในการทำข่าว ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมหรือในสถานการณ์ความขัดแย้งอื่นๆ คือการทำให้เรื่องราวลึกลงไป ให้ผู้อ่านหรือคนที่อยู่ไกลออกไปจากสถานที่หรือประเด็นนั้นได้มีส่วนร่วมกับประเด็นนั้นๆ

“เรื่องการชุมนุมเป็นระนาบข้างบนของปัญหา เพราะก่อนมาชุมนุมมันมีปัญหาที่ถูกแช่อยู่ข้างล่าง การชุมนุมมันเป็นการแสดงออกที่เป็นจุดยอดของมัน หลังชุมนุม ปัญหาหลายอย่างมันยังอยู่ เวลามีการตกลงกับรัฐหรือถูกสลายการชุมนุม มันไม่ใช่การแก้ปัญหา”

“ความท้าทายของนักข่าวคือการทำยังไงให้คนรับสารเห็นว่า ก่อนที่เขาตัดสินใจมาชุมนุมที่เป็นการตัดสินใจของปัจเจก มันเกิดอะไรกับการตัดสินใจของเขา มันเป็นเรื่องต้นทุนของผู้ชุมนุมที่ไม่เหมือนกัน แต่ก่อนจะมีคำว่าจ้างมาชุมนุม ก็ว่ากันไปตามกรณี แต่มันไม่ใช่ทฤษฎีที่ใช้ไม่ได้ทุกครั้ง”

“ความท้าทายของนักข่าวคือทำอย่างไรในการทำสิ่งเหล่านี้ให้คนได้เห็น คือเชื่อมโยงความเป็นมนุษย์เข้ากับมนุษย์ด้วยกัน ให้เห็นว่าคนที่มาชุมนุมมีเดิมพันกับสิ่งเหล่านั้นด้วย มันไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองไม่เกี่ยวข้อง” (อ่านเพิ่มเติมใน
https://prachatai.com/journal/2021/08/94563)

#สถานการณ์อัฟกานีสถานกับปฎิกริยาของสังคมไทยและสามจังหวัดชายแดนใต้

◦ เมื่อยี่สิบปีที่แล้วที่สามจังหวัดชายแดนใต้มีการละหมาดฮายัดตอนที่ทหารอเมริกันและพันธมิตรบุกยึดอัฟกานิสถาน จึงเห็นว่าตอนนี้มีการปฏิกริยาที่สนับสนุนฏอลิบาน และกระแสต่อต้านที่อาจจะเกินจริงจากสถานการณ์ปัจจุบัน
◦ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้มีประสบการณ์การทำงานที่ดีจะลดอุณหภูมิความขัดแย้งตลอดมา มีการพูดคุย สานเสวนา กับพื้นที่กลาง ปลอดภัยโดยทำอย่างไรให้การเห็นต่างมีพื้นที่ โดยไม่ใช้ความรุนแรง การสานเสวนาภายใต้เจตนารมณ์อิสลาม(หลักการศาสนา)ทางการเมือง สิทธิมนุษยชนเหล่านี่มีจุดร่วมและจุดต่าง
• สังคมและความเชื่อของชาวมุสลิมชายแดนภาคใต้ มีหลายกลุ่ม อย่างน้อยแบ่งได้เป็นสามกลุ่มในบริบทปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในอัฟกานีสถาน และก็ยังคงเป็นอยู่ในปัจจุบันคือ กลุ่มที่นิยมความรุนแรงในการแก้ปัญหา อีกกลุ่มหนึ่งเห็นใจสถานการณ์ในอัฟกานิสถาน แต่ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มมุสลิมที่ pro America (หนุนอเมริกา)หรือ ทางฝั่งตะวันตก
• การให้ความเห็นทางวิชาการเรื่องปรากฎการณ์การที่ตาลีบันยึดครองอัฟกานิสถานกลับมาได้นั้นต้องเป็นการสื่อสารข้อมูลที่เกิดขี้นบนฐานความเข้าใจความซับซ้อนของพื้นที่นี้และต้องมีข้อมูลเชิงการข่าวที่ตรวจสอบแห่งที่มาแล้วจึงจะสามารถสื่อสารในทางการวิเคราะห์ได้ แต่ก็ค่อนข้างยากเพราะมีคนที่อยู่ในกระแสต่อต้านฏอลีบานอย่างเกินจริง มีคนที่สนับสนุนฏอลีบานมากด้วยความรู้สึก การตรวจสอบข้อเท็จจริงในข่าวแต่ละชิ้นจึงยากแต่ก็ต้องทำ
• คำตอบและคำอธิบายของเหตุการณ์หนึ่งหรือเรื่องหนึ่งคงได้มาโดยไม่ง่าย เช่น ทำไมตาลีบันใช้อาวุธ ทำไมทหารอัฟกันที่มีอุปกรณ์การรบจำนวนทหารมากมายจึงไม่ต่อสู้กับตาลีบัน ตาลีบันปรับเปลี่ยนท่าทีไปแล้วเพียงเพื่อการได้รับการยอมรับหรือเปลี่ยนไปจริงๆตามที่แถลงการณ์ออกมา เรื่องเล่าหนึ่งเรื่องจากประสบการณ์จริงของหนึ่งคนอาจจะไม่สามารถอธิบายสถานการณ์ได้ และก็มีการกล่าวด้วยว่าสถานการณ์ของสตรีทั้งก่อนหรือระหว่างหรือหลังการปกครองฏอลีบานก็อาจจะไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย เป็นต้น
• ปัจจุบัน(ส่วนใหญ่)สังคมไทยไม่ได้เข้าถึงข้อมูลในสถานการณ์อัฟกานิสถานได้ง่ายนัก เพราะข้อมูลต่างๆที่เผยแพร่ออกมาหลายมุมมองและมีผลประโยชน์ทับซ้อนทั้งจากประเทศตะวันตก จากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งใกล้ไกลและมีอิทธิพลไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง จึงต้องมีการกลั่นกรอง เหมือนเอามาใส่ตะแกรงร่อนให้ได้ข้อมูลข้อเท็จจริงในการนำไปวิเคราะห์และทำงานตามสายงานของตน ไม่ว่าจะเป็นนักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน นักการศาสนา หรือสื่อมวลชน อีกทั้งตอนนี้ทุกคนมีสื่อในมือการวิเคราะห์ข่าวหรือการอ่านข่าวให้เป็นจริงมีความสำคัญมากในสถานการณ์ที่ยังฝุ่นตะหลบ

• ในมุมมองของนักสิทธิสตรี(บางท่าน)ในพื้นที่(อัฟกานิสถาน)สะท้อนมาว่าตนต้องหลบซ่อนตัวก่อน ปิดสื่อออนไลน์ และลบบัญชีไปทั้งหมดเพื่อป้องกันการคุกคาม รอดูสถานการณ์ กลุ่มสตรีนักกิจกรรมมีประสบการณ์ด้วยตนเองจึงยังไม่เชื่อมั่นว่าตาลีบันจะทำตามที่แถลงต่อประชาคมโลก และไม่เห็นด้วยกับกลุ่มผู้สนับสนุนตาลีบันที่ไม่ทราบสถานการณ์จริง
• ในจังหวัดชายแดนใต้มีคนแสดงท่าทีสนับสนุนตาลีบันในการปลดปล่อยอัฟกานีสถานและเชื่อโดยสนิทใจว่าข่าวสารที่ออกมาในทางลบต่อตาลีบันนั้นเป็นข่าวที่ผลิตขึ้นจากฝั่งตะวันตกที่ต้องการให้ร้ายกับฝ่ายมุสลิม ซึ่งอาจหมายถึงไม่เชื่อข้อมูลจากนักวิชาการและนักสิทธิมนุษยชนที่มาพูดเรื่อง สิทธิสตรีและอื่นๆ ในตอนนี้ รวมทั้งพวกเขาบางส่วนยังมีความคิดมุ่งมั่นเรื่องการก่อตั้งรัฐอิสลาม ศาลชารีอะห์ ซึ่งก็ทำให้ข่าวสารเรื่องตาลีบันกลายเป็นแรงบันดาลใจ แต่จะถึงขั้น เข้าร่วมแนวทางการใช้ความรุนแรงหรือการต่อสู้ทางอาวุธขึ้นมาหรือไม่ยังไม่อาจตอบได้
• ในมุมเรื่องการสื่อสาร ตอนนี้มีหลายฝ่ายที่สื่อสารออกแบบในเรื่องอัฟกานิสถานในมุมมองที่สนับสนุนแนวคิดเดิมของตนเอง เช่น อาจมีบางกลุ่มที่สนับสนุนการใช้ความรุนแรงอยู่แล้วก็จะสื่อสารในทำนองที่สนับสนุนหรือมีความฮึกเหิมในการต่อสู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ใช้ความรุนแรง ที่มองว่าประสบความสำเร็จได้ หรือในกรณีที่ต้องการสนับสนุนการกำหนดชะตากรรมของตนเองก็อาจจะมองเรื่องเหตุการณ์ในอัฟกานิสถานเป็นแรงบันดาลใจ ยิ่งถ้าเป็นข่าวสารที่ใช้ภาษาอาหรับหรือภาษามลายูด้วยแล้วก็จะเชื่อถือข่าวสารเหล่านั้นอย่างสนิทใจ รวมทั้งมีความเชื่อเรื่องทฤษฎีสมคบคิดอยู่แล้ว (Conspiracy Theory) ก็จะมองการวิพากษ์วิจารณ์ตาลีบัน เป็นวิจารณ์อิสลาม ของฝ่ายตะวันตก
• ทั้งที่ข่าวสารด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนและละเมิดสิทธิสตรีและเด็กก็เป็นข่าวที่เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงในส่วนที่ได้มีการเผยแพร่และสื่อสารเช่นจากชาวอัฟริกาที่อยู่ต่างประเทศ หรือจากญาติพี่น้องที่ยังคงประสบเหตุการณ์ในปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องว่ามีการสร้างข่าวหรือทำข่าวเท็จ เช่นการไปเคาะประตูบ้าน การเผาสวนสาธารณะ การฆ่าเด็กที่ถือธงชาติอัฟกัน เป็นต้น
• นักสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ นักข่าวที่อยู่ห่างไกลจากข้อเท็จจริง ก็ยังคงต้องแนวทางการสื่อสารอยู่บนพื้นฐานที่ว่า ทุกฝ่ายมีผลประโยชน์ในอัฟกานิสถาน เมื่อเราเสพสื่อผ่านคนอื่น ก็จะมีทั้งความรู้สึก ความกลัว ผลประโยชน์ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเสพข้อมูลที่เป็นจริงอยู่หรือไม่อย่างไร และข้อมูลที่ได้มาก็ไม่ใช่ตัวแทนของเรื่องราวนั้นก็ได้ เหตการณ์หนึ่งเหตุการณ์บรรยายจากคนในเหตุการณ์ที่ประสบมาก็ไม่ได้หมายความว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นทั่วอัฟกานิสถาน
• มีข้อเสนอว่าเหตุการณ์ยังครุกรุ่น จึงต้องรับฟังอย่างรอบด้าน ใจเย็น ไม่ตีขุม กรองความเห็นออกไปให้ได้มากที่สุด แสดงความเป็นห่วงใยต่อสถานการณ์เด็กและสตรีได้ อย่าลืมว่าสื่อก็มีธง และตัวเราเองเวลาเสพสื่อก็มีธง
• เรามีทั้งIO ในประเทศไทย IO ในระดับสากลก็มีหนักมากด้วย เราต้องเข้าใจสิ่งที่เรียกว่า Misinformation and information disorder เราจึงต้องวิเคราะห์เนื้อหาข่าว สื่อมาจากไหน ใครเป็นคนสร้าง อะไรที่ซ่อนอยู่ในสื่อนั้น สื่อต้องการอะไรจากเรา เราคิดอย่างนี้เพราะอะไร
• สถานการณ์อัฟกานีสถานกับปฎิกริยาของสังคมไทยและสามจังหวัดชายแดนใต้ทำให้ต้องคิดถึง 5 เรื่องใหญ่ๆที่จะยังคงอยู่แม้สถานการณ์อัฟกานิสถานจะคลี่คลายลงได้แก่ islamicphobia, Peace&Conflct resolution, Human rights in the Deep south, Democracy in Thailand including gender issues

#ข้อเสนอแนะเบื้องต้น
1. ทำ fact check ทั้งที่ทำอยู่แล้วและทำต่อ ก่อนการสื่อสารเผยแพร่แม้จะเป็นการส่งต่อด้วยช่องทางส่วนตัวและการสื่อสารอื่น
2. ส่งเสริมการสื่อสารเพื่อสันติภาพหรืออีกนัยหนึ่งคือการทำสื่ออย่างมืออาชีพต่อไปอย่างกว้างขวาง
3. ข้อมูลที่ไม่เท่ากัน ในบริบทเวลาที่ต่างกัน อาจจะต้องมีการศึกษาเรื่องอัฟกานิสถานกันแบบเริ่มต้น set zero เพื่อการก้าวไปข้างหน้า ทั้งเรื่องกระบวนการสันติภาพและหรือการเปลี่ยนผ่านไปสู่สันติภาพจริง การแลกเปลี่ยนเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังกับมุมมองทางศาสนาอิสลาม
4. การติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดรวมทั้งผลกระทบที่อาจส่งมาถึงสามจังหวัดชายแดนใต้ และก็คงหมายถึงการเฝ้าดูสถานการณ์ ทั้งห้าเรื่องนี้ที่กำลังเข้มข้นและก็จะไม่จางหายไป เมื่อสถานการณ์อัฟกานิสถานได้คลี่คลายลง islamicphobia, Peace&Conflct resolution, Human rights in the Deep south, Democracy in Thailand including gender issues
5. องค์กรสิทธิฯ ยืนยันในหลักการด้านสิทธิมนุษยชน สื่อสารข้ามวัฒนธรรม หลักการด้านสิทธิมนุษยชนกับหลักศาสนาอิสลามต้องนำมาพูดคุยสร้างพื้นที่ กลางปลอดภัย ให้เกิดบทสนทนาให้มุมมองที่แตกต่างสามารถรวมพบปะ พูดคุยกันได้ หาจุดร่วมกันในการพูดคุยกันต่อเนื่อง
#ความท้าทาย
ความท้าทายหลังจากนี้สำหรับการบริหารประเทศภายใต้รัฐบาลใหม่ของฏอลิบานมีสองปัจจัยที่จะทำให้รัฐบาลใหม่จะสามารถเดินต่อได้หรือไม่อย่างไร
หนึ่งภายในประเทศ บรรยากาศทางการเมืองภายในประเทศที่เต็มไปด้วยความหลากหลายของกลุ่มและการได้มาของรัฐบาลครั้งนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า ผ่านด้วยการต่อสู้ทางอาวุธ ซึ่งฏอลีบ

 7,160 total views,  2 views today

You may have missed