SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
#SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
ภาคีเครือข่ายประชาชนภาคใต้ ตั้งข้อสังเกต ร่าง พ.ร.บ.ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้’ หรือ SEC มีอำนาจล้น สร้างกลไกพิเศษ แก้ผังเมือง เอื้อกลุ่มทุนต่างชาติ พร้อมประเคนทรัพยากรในพื้นที่ เปิดทางอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ ทำให้ SEA สงขลา-ปัตตานี ที่ทุกภาคส่วนที่กำลังทำเวทีกว่า 20 เวที นั้นไร้ค่า?
ร่าง พ.ร.บ. SEC หรือ ชื่อเต็มคือ ร่างพระราชบัญญัติระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor : SEC) ร่าง พ.ร.บ. SEC กำลังถูกเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร โดย คุณอนุทิน ชาญวีรกุล และ คุณสฤษฎ์พงษ์ เกี่ยวข้อง จากพรรคภูมิใจไทย ซึ่งทั้งสองคนได้เสนอร่างคนละร่างที่มีเนื้อหาเหมือนกัน และ ปัจจุบันผ่านการรับฟังความคิดเห็นประชาชนผ่านระบบกฎหมายกลาง และ ประเมินผลกระทบกฎหมายไปแล้ว
(อ่านเพิ่มเติมฉบับเต็มใน https://www.parliament.go.th/section77/manage/files/file_20210203160632_1_127.pdf)
ทำไม อย่างไร
ภาคประชาชน ได้ตั้งข้อสังเกต ร่าง พ.ร.บ.ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ มีสาระสำคัญที่พรรคการเมือง ได้เสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้น เมื่อสรุปใจความแล้วพบว่า อย่างน้อยห้า ข้อดังนี้
หนึ่ง
ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ เท่ากับเป็นการซื้อ-ขายภาคใต้ เพราะในท้ายที่สุดแล้วทั้ง 67 มาตรา ที่ถูกเขียนขึ้นในร่างกฎหมาย คือการใช้อำนาจเปลี่ยนแปลงที่ดินของประชาชน ใช้อำนาจเปลี่บยแปลงผังเมือง ใช้อำนาจยกเลิกที่ดิน ส.ป.ก. ใช้อำนาจยกเลิกที่ดินราชพัสดุ ใช้อำนาจเปลี่ยนแปลงการถือครองที่ดินของประชาชน 10 ล้านคนในภาคใต้
สอง
พ.ร.บ. ฉบับนี้ ให้อำนาจการแก้กฎหมาย และบัญญัติกฎหมายใหม่ได้ หมายความว่า เมื่อไรก็ตามที่พื้นที่หนึ่งสามารถบัญญัติกฎหมายเองได้ โดยไม่ต้องผ่านกลไกนิติบัญญัติของประเทศไทย เท่ากับว่ากำลังสถาปนารัฐอิสระขึ้นมาบนแผ่นดินภาคใต้ ซึ่งในคำประกาศของเครือข่ายฯ ใช้คำว่า “การทำเช่นนี้เป็นหลักการเหยียบคนใต้ให้จมดิน”
สาม
การบัญญัติว่าไม่ต้องทำตามกฎหมายไทยทุกฉบับ ไม่ว่ามีกฎหมายใดก็สามารถแก้ได้ทุกฉบับ
สี่
อำนาจในการให้สิทธิพิเศษ ที่ระบุอยู่ในมาตรา 8 ยังหยิบยื่นกรรมสิทธิ์ที่ดินให้ต่างชาติถือครอง ได้โดยไม่ต้องปฎิบติตามกฎหมายว่าด้วยการจัดการที่ดิน ในขณะที่ประชาชนคนไทย ยากลำบากในเรื่องการไม่มีที่ดิน
ห้า
อำนาจการกำหนดการพัฒนา ภาคใต้มีประชากร 10 ล้านคนอาศัยอยู่ มีกระบวนการทางเศรษฐกิจที่มีความสมดุลระหว่างการเกษตร การท่องเที่ยว การประมง และภาคอุตสาหกรรมขนาดเล็ก โดยมองว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้จะแปรพื้นที่ทั้ง 14 จังหวัดไปเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมทุกชนิด และมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 ชนิดที่จะต้องพลักดันให้ได้
ในขณะที่SEA สงขลา-ปัตตานีมีชื่อเต็มว่าโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี
สำหรับโครงการดังกล่าว เป็นการดำเนินการที่เกิดขึ้นมาจากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 ที่มอบหมายให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดให้มีการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) และแผนแม่บทต่าง ๆ โดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ
ซึ่งที่ผ่านมา สศช. ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมายกร่างขอบเขตของงานจ้างที่ปรึกษา และใช้ในกระบวนการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก และสำนักงานสภาพัฒฯ คัดเลือกมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มาเป็นที่ปรึกษาโครงการ เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี โดยใช้กระบวนการ SEA ตามแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ของ สศช. เพื่อทำแผนให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ คำนึงถึงความสมดุลของการพัฒนา ทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
โครงการนี้มีกรอบระยะเวลาดำเนินการ 18 เดือน ที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในการแสดงความคิดเห็น โดยกำหนดไว้ไม่น้อย 40 เวทียังไม่นับเวทีย่อย ๆ เเบบไม่เป็นทางการอีกหลายครั้ง
ปัจจุบันได้ทำไปแล้ว 23 เวที ผ่านไปกว่าครึ่งมีผลสรุปเบื้องต้นดังนี้
“มหานครแห่งความสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความมั่งคั่งอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม” ภายใต้
ยุทธศาสตร์ มี 4 ประเด็น ได้แก่
1. การยกระดับเศรษฐกิจเดิม และสร้างเศรษฐกิจใหม่อย่างสร้างสรรค์
2. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่
3. การสร้างสรรค์สังคมเป็นธรรมและเป็นสุข
4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ จ.สงขลาและ จ.ปัตตานี
นางโซรยา จามจุรี ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ สะท้อนว่า “เวที SEA (การรับฟังความเห็นภายใต้โครงการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ จ.ปัตตานีและสงขลา) ช่วงท้ายวันนี้ ( 18 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี) ช่วยกันระดมความเห็นเกี่ยวกับต้นทุน /ทรัพยากร ที่เปี่ยมปังในจังหวัดปัตตานี และทิศทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ควรจะเป็น กลุ่มเราเห็นว่า ควรจะใช้ต้นทุนอันโดดเด่นในพื้นที่ทั้งต้นทุนทางทรัพยากร ( ท้องทะเล/อ่าวปัตตานี/แม่น้ำปัตตานี/ สถานที่ทางธรรมชาติ อันสวยงาม เป็นต้น) + ต้นทุนทางวัฒนธรรม (ภาษา/ศาสนา/ ศิลปวัฒนธรรม/อาหาร/สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น) ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ และความภาคภูมิใจให้ชาวจังหวัดปัตตานี อีกกลุ่ม ก็เห็นด้วยว่าทิศทางการพัฒนาจังหวัด ควรจะมาทางนี้ แล้วก็ผุดไอเดียการท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบตามมา เช่น การท่องเที่ยวสุขภาพ การท่องเที่ยวอาหาร (เที่ยวไป กินไป) การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวทางศาสนา/ความเชื่อ (เช่น เที่ยววัด เที่ยวมัสยิด ทำบุญไปด้วย) เป็นต้น คุยกันสนุก เพราะเป็นการมองไปข้างหน้า และขุดค้นของดีในพื้นที่ออกมาชื่นชม และคิดใช้ประโยชน์ สิ่งที่กลุ่มคิดมานี้ ก็สอดรับอยู่นะ กับเป้าหมายการพัฒนาของจ.สงขลา + ปัตตานี ที่ระบุในเอกสารว่า “ศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคใต้ ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืน บนฐานทรัพยากร และความหลากหลายทางวัฒนธรรม” นี่หากเหตุการณ์สงบดี สิ่งที่วาดหวังไว้ จะทะลุกว่านี้ เพราะวันนี้ เราก็เห็นแล้วว่าปัตตานี มีศักยภาพมาก นักท่องเที่ยวมาเลย์ ไหลเข้ามาไม่ขาดสาย (… หมายเหตุชมย้อนหลังใน 1. https://www.facebook.com/share/v/aETd87qTFUmjqv93/? 2. https://www.facebook.com/share/v/aETd87qTFUmjqv93/? 3. https://www.facebook.com/share/v/ueMosTbqbsRNS3Vo/? 4. https://www.facebook.com/share/v/KsD6o4pxNFfGxe4N/? 5. https://www.facebook.com/share/v/6ngrCfsjw5xAQPBv/? 6. https://www.facebook.com/share/v/6ngrCfsjw5xAQPBv/? 7. https://www.facebook.com/share/v/1otNYSsTsgkoi2aB/?)
“สำหรับคำว่า SEA หรือ Strategic Environmental Assessment แปลตรงๆ ว่า การประเมินผลกระทบทางยุทธศาสตร์
แปลให้ง่ายเข้าไปอีกก็คือ เป็นการศึกษาภาพกว้างว่า สมควรดำเนินโครงการอะไรก็แล้วแต่จะ จะนะ จะปัตตานี เมืองอุตสาหกรรมหรือไม่ ถ้าควรสร้างควรจะสร้างที่ไหน เมื่อระบุคร่าวๆ แล้วว่าควรจะสร้างและสร้างที่ไหน จึงค่อยมาศึกษา EHIA หรือ EIA เพื่อลงรายละเอียดต่อไป
SEA สงขลา- ปัตตานี ที่กำลังดำเนินการอยู่ เป็นผลจากข้อเรียกร้องที่พี่น้องจะนะ เสนอต่อรัฐบาลก่อนหน้านี้นั้น หัวใจสำคัญ คือ ทุนและรัฐ ต้องคืนอำนาจให้พี่น้องจะนะ ซึ่งตอนนี้รวมทั้งสงขลา และปัตตานี ในการการพัฒนาพื้นที่นี้ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย SEA “การประเมินผลเชิงยุทธศาสตร์เพื่อแสวงหารูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรของจังหวัดสงขลา และปัตตานีเพื่อการสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืนที่นำไปสู่การกระจายและเป็นธรรมต่อประชาชนโดยรวมของสองจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียง หาก พรบ.SEC ทั้งภาคใต้ผ่าน SEA ในพื้นที่ที่อุตส่าห์ทำจะมีค่าอะไร นี่คือข้องกังวลใหญ่ ไม่เพียงแต่สองจังหวัดนี้เช่นกัน แต่ที่สำคัญประเทศนี้หลังจากนี้ประชาชนทุกภาคส่วนต้องกำหนดทิศทางการพัฒนาหมดสมัยที่กลุ่มทุนจะมาชี้นิ้วสั่งการอีกต่อไป”
ไม่เพียงเท่านั้นแต่ข้อกังวลนี้ อาจจะกระทบต่อกระบวนการสันติภาพและการแก้ปัญหาความขัดแย้งจังหวัดชายแดนใต้ ดั่งที่ข้อสังเกตในเวที คพท. ซึ่งคพท.สงขลา ให้ข้อสังเกตที่ต้องระวัง “ ปัจจัยเอื้อไม่หนุน กระบวนการสันติภาพ” และปัจจัยเอื้อจุดประเด็นความขัดแย้ง ในสองประ
1.ประเด็นสิ่งแวดล้อม
2.SEC -SEA ในการประชุมคณะขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ ครั้งที่ 3 ซึ่งจัดโดยสำนักงานขับเคลื่อนการพูดคุยสันติสุขระดับพื้นที่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 ณ ห้องประชุมโรงแรม ซี เอส ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ซึ่งมพลโทีพลโท ปราโมทย์ พรหมอินทร์ แม่ทัพน้อยที่ 4 / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เป็นประธานการประชุม
(อ่านรายงานเพิ่มเติมใน
https://share.csitereport.com/share.php?post_id=0000041744
หมายเหตุ
1.SEC ภาคใต้ https://theactive.net/news/lawrights-20240227/
2.SEA สงขลา-ปัตตานี http://sea.nesdc.go.th/pilot-project/โครงการติดตามและประเมิน/
58,120 total views, 281 views today
More Stories
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.
ชายแดนใต้:รูปแบบการปกครองพิเศษ การรวมศูนย์อำนาจที่ชัดเจนที่เดียวในไทย “ปัญหาและทางออก” บทเรียน 3 วัน 12 เวทีที่นราธิวาสกมธ.สันติภาพ