อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน
ก่อนจะอ่านบทความหรือข้อเสนอนี้ท่านต้องอ่านบทความผม/รายงานผมก่อนหน้านี้
1.นอกจากประณาม !!ต้องค้นหาความจริง กรณียิงถล่ม ชรบ.ตายหมู่
2.แก้ปัญหาไฟใต้ “จากรากเหง้า”
3. การสื่อสาร และสื่อฯ ต้องไม่สร้างความขัดแย้ง(เพิ่ม) ในสนามข่าวความขัดแย้งยุคดิจิตอล
การสื่อสาร และสื่อฯ ต้องไม่สร้างความขัดแย้ง(เพิ่ม) ในสนามข่าวความขัดแย้งยุคดิจิตอล
สำหรับผู้เขียนแน่นอนไม่เห็นด้วยใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา เพียงแต่รัฐจะต้องมีสติ และแก้ปัญหาในรากเหง้ามากกว่าการแก้ปัญหาตามกระแส
การแก้ปัญหาจากรากเหง้า นี่อีกสองข้อเสนอที่พูดถึงรากเหง้าของปัญหา ผ่านงานวิชาการ
กล่าวคือ จำได้ว่า 28 ก.พ.2562 ที่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เครือข่าย Peace Survey 19 องค์กร ร่วมกับศูนย์วิจัยดิเรก ชัยนาม และ ศูนย์ข่าวสารสันติภาพ จัดเวทีนำเสนอ 7 ข้อเสนอจากประชาชนสู่นโยบายชายแดนใต้หลังเลือกตั้ง ปี 62 โดยมีตัวแทนพรรคการเมืองจาก 9 พรรคเข้าร่วมรับฟังและนำเสนอนโยบายที่แต่ละพรรคมีต่อสถานการณ์ความขัดแย้งใน จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยข้อเสนอทั้ง 7 ข้อ ประกอบด้วย 1. ยกระดับให้การพูดคุยสันติภาพเป็นแกนกลางในการแก้ไขความขัดแย้งทางการเมือง 2. เร่งปกป้องพลเรือนจากความรุนแรงและการละเมิดสิทธิ์ 3. ทบทวนประสิทธิผลการแก้ปัญหายาเสพติดและเร่งตั้งกลไกพิสูจน์ข้อเท็จจริงเหตุรุนแรง 4. ตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้งบประมาณด้านการพัฒนาในพื้นที่5. ออกแบบระบบการศึกษาที่มีคุณภาพและสะท้อนวิถีอัตลักษณ์วัฒนธรรม 6. กระจายอำนาจมากขึ้นด้วยโครงสร้างการปกครองที่มีลักษณะเฉพาะของพื้นที่ และ 7. เปิดพื้นที่ให้คนได้ถกเถียงเรื่องอ่อนไหวทางการเมืองโดยไม่ถูกคุกคามจากทุกฝ่าย
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ว่านี้ เป็นผลมาจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อกระบวนการสันติภาพ (PeaceSurvey) จำนวน 4 ครั้ง โดยเริ่มต้นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 จนถึงครั้งล่าสุดในเดือนกันยายน 2561 รายงานระบุไว้ว่าการสำรวจทั้งหมดมาจากตัวอย่างหรือผู้ให้ความเห็นรวมทั้งสิ้นจำนวน 6,321 คน มาจากทั้งหมด 622 หมู่บ้าน ในวิธีการที่ผู้ดำเนินการระบุว่า มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) ที่ลงไปจนถึงระดับครัวเรือน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนทุกคนและทุกกลุ่มมีโอกาสถูกเลือกในการแสดงความเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
สำหรับการสำรวจนั้นครอบคลุมเรื่องของทัศนคติต่อสภาพความเป็นอยู่ในพื้นที่ สาเหตุของปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ความพยายามในการแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการสันติภาพ และข้อเสนอแนะต่อแนวทางแก้ปัญหาในอนาคต
ผลของการสำรวจความเห็น ได้ข้อมูลโดยสรุปว่า ที่ผ่านมามีประชาชนเพียง 1 ใน 4 (ร้อยละ 25.6) ที่รู้สึกว่าสถานการณ์ดีขึ้น แต่ประชาชนที่เหลืออีกราว 1 ใน 5 (ร้อยละ 21.7) มองว่าสถานการณ์แย่ลง และมีอีกเกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 42.6) ที่มองว่าเหมือนเดิม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ในความรู้สึกของผู้ถูกสอบถามนั้น มาตรการแก้ปัญหาความขัดแย้งในชายแดนใต้ที่ดำเนินการมายังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในพื้นที่ให้ดีขึ้นได้ ทั้งหมดนี้เน้นย้ำให้เห็นว่ามีความจำเป็นที่พรรคการเมืองควรจะปรับนโยบายที่มีต่อสามจังหวัดภาคใต้ ในส่วนหนึ่งของการประมวลความเห็น รายงานของผู้ดำเนินการสำรวจระบุว่าประชาชนส่วนใหญ่ที่ให้ความเห็นคือ 65.4% ไม่ว่าจะมาจากศาสนาใดล้วนสนับสนุนการพูดคุยสันติภาพ
(สามารถดาวน์โหลดเอกสารฉบับเต็มได้ที่ https://deepsouthwatch.org/th/node/11910)
ทหารถอยจากอำนาจโดยใช้นโยบาย “การเมืองนำการทหารเชิงประจักษ์” หรือ“การเมืองนำการทหาร” อย่างเป็นรูปธรรม ถอยจากอำนาจ ในศอ.บต. ทำให้ ศอบต. มีความเป็นอิสระ มีความเป็นประชาธิปไตย นำพรบ.ศอ.บต.มาใช้เต็มรูปแบบโดยเฉพาะสภาที่ปรึกษาเดิมที่มาจากทุกภาคส่วน และยกระดับให้เป็นหน่วยงานที่มีผู้นำสูงสุดมาจากการเลือกตั้งทางตรงเพื่อกระจายอำนาจสู่พื้นที่ ยกเลิกการนำ ศอ.บต. ไปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กอ.รมน. 4 โดยให้ กอ.รมน. 4 กำกับดูแลเฉพาะหน่วยกำลัง เพื่อรักษาความสงบ และให้ กอ.รมน. ปฏิบัติตามนโยบายเกี่ยวกับจชต. ที่ที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่ส่งผ่าน ศอ.บต. เท่านั้น
ข้อควรระวังมากๆคือการคอร์รัปชั่น ซึ่งต้องขจัด/ลดปัญหาการคอร์รัปชั่น หักหัวคิว เพราะหากยังปล่อยให้มีการทุจริต จะยิ่งดิสเครดิตฝ่ายรัฐเอง พร้อมเสริมบทบาทท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมในการกำหนดแผนงานพัฒนาให้ตรงกับความต้องการของประชาชนมากขึ้นกว่าเดิม
(โปรดดูตะกอนไฟใต้…เงื่อนไขที่ยังไม่ถูกแก้.https://www.isranews.org/south-news/scoop/82384-sediment.html
สรุป กองทัพต้องถอยจากทำทุกเรื่องที่ชายแดนใต้ภายใต้งบประมาณนับแสนล้าน
849 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.