เมษายน 18, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

การสื่อสาร และสื่อฯ ต้องไม่สร้างความขัดแย้ง(เพิ่ม) ในสนามข่าวความขัดแย้งยุคดิจิตอล

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน


ในข้อเสนอแนะหนึ่งหลังเหตุการณ์ลำพะยา คือสื่อต้องไม่ขยายรายงานที่นำไปสู่ความขัดเเย้งเพิ่มหรือผลักให้อีกฝ่ายแบบเหมารวม
(โปรดดูhttp://spmcnews.com/?p=21732&fbclid=IwAR1THCOAapCVgOMbObc9ZDG-ACJczk38-NrC3IGaQfUwKhMxaYSJGxrh8CI)
ยกตัวอย่างให้ชัดเช่นการนำเสนอของนักข่าวใหญ่อย่างเสริมสุข กษิติประดิษฐ์
2 กรณี (สามารถถกเถียงเชิงวิชาการได้)
กรณีการทำให้ถูกเข้าใจว่าอาจารย์วันมุฮัมมัดนอร์ มะทาหัวหน้าพรรคประชาชาติ เป็นแนวร่วมขบวนการแบ่งแยกดินแดน โดยเขียนข่าว
“แถลงการณ์พรรคประชาชาติ …หรือจะเป็นแนวร่วมกันกับขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่ถูกตั้งข้อสังเกตมาตลอด ไม่มีแม้แต่ข้อความเดียวที่ประณามการกระทำของกำลังติดอาวุธ RKK จากขบวนการแบ่งแยกดินแดน BRN ต่อความโหดเหี้ยมสังหารหมู่ชาวบ้านที่เป็นจนท.รักษาความปลอดภัยของหมู่บ้าน ชรบ.มีปืนลูกซอง ปืนพกเป็นอาวุธประจำกาย มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยของชุมชน ถูก RKKปิดล้อมโจมตีด้วยกำลังขนาดใหญ่พร้อมอาวุธสงครามเป็นครั้งแรก”

สองเพิ่มเติมเนื้อหาข่าวในแถลงการณ์สำนักจุฬาราชมนตรีว่า
สำนักจุฬาราชมนตรีออกแถลงการณ์ประณามการกระทำอันเหี้ยมโหดของ BRN ต่อชุดอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ต.ลำพะยา อ.เมือง จว.ยะลา เป็นการกระทำที่ใช้ความรุนแรงอย่างไร้ขอบเขต ไร้ซึ่งมนุษยธรรม ละเมิดหลักธรรมคำสอนของทุกศาสนาอย่างร้ายแรง”
ทั้งๆไม่มีสักคำที่สำนักจุฬาราชมนตรีประณามBRN ดังนั้น โปรดมีจรรยาบรรณในการเขียนข่าว..(โปรดดูในเพจท่านhttps://www.facebook.com/-Sermsuk-Kasitipradit)
นอกจากนี้มีเพจ IO ขาประจำที่โจมตีคนที่ทำงานปกป้องสิทธิมนุษยชน
เช่นกล่าวว่า “NGOs ปกป้องผู้บริสุทธิ์ หรือ พวกโจรกันแน่ องค์กรพวกนี้สมควรให้มีอยู่อีกหรือ?
นี่หรือที่พูดอยู่เสมอว่าทำเพื่อคนบริสุทธิ์ แต่ที่เห็นที่ผ่านมานี่ เพื่อโจรใต้ทั้งนั้น ทุกครั้งที่ผู็บริสุทธิ์เสียชีวิต องค์กรก็เงียบต้องรอให้คนออกมาถามหาว่าไปอยู่ในกะลาอันไหน ถึงจะโผล่หัวออกมา เห็นพี่น้องผู้บริสุทธิ์เป็นผักปลาหรือไง ถึงไม่คิดจะออกมาเรียกร้อง เห็นบ้างไหม ว่าชาวบ้านที่สูญเสียคนรักเขาเสียใจมากแค่ไหน หยาดน้ำตาที่ไหลจนจะเป็นสายเลือดแต่พวกคุณกับมุดหัวอยู่ในกะลา นี่ถ้าเป็นพวกโจรสิ ไม่ต้องรอให้คนมาถามหาหรอก รีบทุบกะลาออกมาแทบไม่ทันเลย
ยุบเถอะมีไปก็ไม่มีผลดีอะไรต่อพี่น้องประชาชนผู้บริสุทธิ์เลย อย่าเห็นแก่ผลตัว
#ไม่ต้องการถอนทหารออกจากพื้นที่
#ไม่ต้องการความรุนแรง
#ถึงเวลาที่อิสลามต้องขับไล่พวกนอกลัทธิ
#ร่วมกันปกป้องศาสนาอิสลามบริสุทธิ์
#นักการเมืองและนักสิทธิมนุษยโจรหายไปไหน???
(โปรดดูในเพจแฉ ความเคลื่อนไหวสถานการณ์จริง BRN)
ทั้งๆถ้าเรารวบรวมแถลงการณ์ กรณีเหตุการณ์ยิงถล่มป้อม ชรบ.ตำบลลำพะยา อ.เมืองยะลา เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 15 ราย บาดเจ็บ 4 ราย เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562กลับตรงกันข้าม
ลิงค์ของ สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี The Federation of Patani Students and Youth – PerMAS
https://www.facebook.com/…/a.14462563556…/2239762826325309/…
ลิงค์ของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม Cross Cultural Foundation (CrCF)
https://www.facebook.com/CrCF.Thailand/posts/2494470730600198
ลิงค์ของสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง)
https://www.facebook.com/…/rpp.146958712…/2556607531084020/…
ลิงค์ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)

อีกเรื่องสื่อต้องตรวจสอบว่า แหล่งข่าวที่ได้รับนั้นจริงเช่นเขียนข่าวว่า ขบวนการBRN ออกแถลงการณ์ยอมรับซึ่งอาจารย์ฮารา ชินทาโร่คนญี่ปุ่นโน้น ออกมาตั้งข้อสังเกตในFacebookว่า
“ผมไม่แน่ใจว่า สิ่งที่ถูกรายงานว่าเป็น “แถลงการณ์” ของ BRN นั้นเป็นของจริงหรือไม่ เพราะ
๑. เพจที่มาของ “แถลงการณ์” ฉบับนี้พิมพ์ชื่อองค์กรผิด ชื่อ BRN เป็น Barisan Revolusi National ส่วน BRN ในแถลงการณ์ที่เป็นของจริงทั้งหดใช้ชื่อเป็น Barisan Revolusi Nasional (คำสุดท้ายสะกดตามวิธีการสะกดภาษามลายู)
๒. ตามปกติ องค์กรนี้ไม่เคยสื่อสารเกี่ยวกับเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และยังใช้ความเป็นองค์กรลับเป็นจุดแข็งในปฏิบัติการ ดังนั้นการออกมาแถลงการณ์แบบนี้ไม่เข้ากับลักษณะขององค์กร
๓. แถลงการณ์ฉบับนี้ใช้คำว่า ดารุลฮัรบี ซึ่งเป็นคำศัพท์ที่ผมไม่เคยเห็นในเอกสารหรือแถลงการณ์ที่เป็นทางการขององค์กรดังกล่าว
๔. ก่อนหน้านี้ แถลงการณ์ที่เป็นทางการขององค์กรดังกล่าวมีภาษามลายูเป็นต้นฉบับ (และบางฉบับมีฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ) แต่ไม่เคยปล่อยแถลงการณ์เป็นภาษาไทยภาษาเดียว
อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งที่สามารถยืนยันได้ว่า “แถลงการณ์” ที่ถูกรายงานฉบับนี้เป็นของจริงหรือของปลอม จึงขอมอบให้กับพิจารณาญาณของทุกท่านครับ ที่ผมระบุข้างบนเป็นแค่ความเห็นส่วนตัว”
(โปรดดูคนทำข่าวต้องมีอาชีพจริงๆในยุคดิจิตอล
https://www.facebook.com/1710903737/posts/10207063896631757?d=n&sfns=mo

 


ล่าสุดมีเพจหนึ่งกล่าวหามุสลิมตลอดโดยสร้างข่าวเท็จในหมู่คนไทยพุทธให้เกลียดมุสลิมทั้งประเทศและส่งผลต่อชายแดนใต้เพจนั้นคือ ยกเลิกพ.ร.บอิสลาม
จนสพฐ.ต้องรีบแจงความคลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริงและบิดเเบือน ในโลกออนไลน์
กล่าวคือนายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสการส่งต่อข้อมูลทางสังคมออนไลน์ซึ่งเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษานั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดขยายวงกว้างออกไปเรื่อยๆ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขอชี้แจงว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เริ่มสอนรายวิชาอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีนักเรียนนับถือศาสนาอิสลามเกินร้อยละ 50 มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 โดยจัดให้อิสลามศึกษาอยู่ในกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและกลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยในหลักสูตรประถมศึกษา และจัดเป็นรายวิชาในหมวดสังคมศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ซึ่งได้พัฒนาหลักสูตรอิสลามศึกษามาเป็นระยะเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรของศธ.
ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในโรงเรียนสังกัด สพฐ. มี 2 มิติ ได้แก่ มิติแรก สาระการเรียนรู้อิสลามศึกษา ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 มิติที่สอง การเรียนการสอนวิชาสามัญควบคู่ศาสนาหรืออิสลามศึกษาแบบเข้ม ตามนโยบายศธ. ปัจจุบันมีโรงเรียนของรัฐที่เปิดสอนวิชาสามัญควบคู่ศาสนา ทั้งสิ้น 350 โรงเรียน โดยการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาทั้ง 2 มิตินั้น มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น ไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องเรียนอิสลามศึกษาตามที่มีกระแสการส่งต่อข้อมูลในสังคมออนไลน์แต่อย่างใด
กระแสข่าวกระทรวงศึกษาธิการ บรรจุหลักสูตรวิชาอิสลามศึกษา โดยบังคับให้เด็กชั้นประถมศึกษา-มัธยมศึกษาทุกคนเรียน สร้างความปั่นป่วนบนโลกออนไลน์ กับข้อกังวลเรื่องความเชื่อที่แตกต่างกันระหว่างศาสนาอิสลาม และพุทธ ข้อเท็จจริง คือ กระทรวงศึกษาธิการ เริ่มสอนรายวิชาอิสลามศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2518
ปัจจุบันหลักสูตรนี้ มุ่งเป้าหมายเฉพาะผู้นับถือศาสนาอิสลาม ไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องเรียนวิชานี้ตามที่มีการส่งต่อข้อมูลในสังคมออนไลน์
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ
ดังนั้นสื่อมีความสำคัญมากๆซึ่งต้องไม่ไปเพิ่มอุณหภูมิความขัดแย้งโดยเฉพาะในสนามข่าวความขัดแย้งยุคดิจิตอล

 777 total views,  2 views today

You may have missed