พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ชรบ.และกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านชายแดนใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)


หลังเหตุการณ์ความโศกนาฏกรรมที่ลำพะยาสองเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันคือชรบ.ในมุมมองนักสิทธิมนุษยชนและกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านอันเป็นปัจจัยสู่สันติภาพชายแดนใต้ผู้ที่น่าถ่ายทอดดีที่สุดน่าจะเป็นคุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผู้อำนวยการมูลนิธิผสานวัฒนธรรมที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและเกาะติดเรื่องกระบวนยุติธรรมชายแดนใต้
สำหรับ ชรบ.ในมุมมองของคนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนชายแดนใต้แล้ว
นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติกล่าวว่า” ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เห็นด้วยกับทหารว่า ชรบ.เป็นพลเรือน  เพราะคิดว่าชรบ.ไม่ได้ฝึกมาให้รบ ให้มารักษาความปลอดภัย (ภัยหลายแบบ)แม้จะมีเป้าประสงค์เพื่อต้านภัยก่อความไม่สงบ แต่ไม่ได้เป็นฝึกเพื่อรบเหมือนกับทหารพราน ฯ (หรือแม้กระทั้งทหารพรานบางหน่วยหรือบางส่วนงานก็อาจจะไม่ใช้พลรบก็ได้). มันสีเทาๆ แต่ในมุมมองด้านสิทธิมนุษยชนเราคิดว่าควรตีความความเทาๆ นี้ เป็นประโยชน์ในการคุ้มครองชีวิตมนุษย์ เราไม่ส่งเสริมให้มีการรบหรือการใช้ความรุนแรงต่อกัน

การติดอาวุธพลเรือนของเราไม่ได้เป็นหลักสากลที่มีการอ้างถึงกฎหมายสงครามหรือกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ชรบ.ไม่ได้ฝึกแบบนักรบ ไม่มีสรรพกำลังในทางรบ ไม่งานที่มอบหมายให้ไปรบ มีแต่การรักษาความปลอดภัย ดังนั้น เราไม่ได้กำลังอยู่ในแนวคิดการรบแบบสากลที่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศกำหนด จึงคิดว่า ชรบ.มีสภาพจริงๆ เป็นพลเรือน มากกว่า พลรบ

ในบางประเทศที่ค้นคว้ามา มีการระบุว่า กองกำลังหลักต้องประกาศว่า พลเรือนที่ติดอาวุธเป็นพลรบของตนอย่างเป็นทางการด้วย จึงจะเข้าข่ายว่าเป็นพลรบ แต่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการประกาศว่าผู้เสียชีวิตเป็นวีรชน เขาเป็นผู้เสียหายและครอบครัวต้องได้รับการเยียวยา และไม่เห็นด้วยในการติดอาวุธพลเรือนทุกรูปแบบ (ไม่ใช่แนวทางสันติวิธี) และต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างของชรบ.เพื่อทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยสาธารณะได้ด้วยวิธีการหลากหลายที่ไม่ใช่แค่เพียงการให้ปืนให้เงินค่ากาแฟทั้งระดับนโยบายและปฏิบัติอย่างจริงจัง
ส่วนเรื่องกฎหมายพิเศษกับกระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่านนั้น

คุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ ผอ. มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ติงในเรื่องกฎหมายพิเศษที่มีความพิเศษมายาวนาน มีความพิเศษในทุกรัฐบาลที่ยังใช้ความพิเศษมาจนปัจจุบัน ตอนแรกที่ดิฉันและชาวบ้านได้ไปเยี่ยมต้องไปกันด้วยรถกระบะหลายคัน เราต้องหาทุนและพกหัวใจมาทำงานด้วยกัน และเมื่อเห็นว่าผู้ถูกจับกุมมากมาย แล้วให้ผู้หญิงต้องรับภาระหนัก เราเห็นทุนทางสังคมมันกำลังจะหมด เมื่อวานได้ไปเยี่ยมครอบครัวหนึ่งที่มีการจับกุมผู้หญิงรายหนึ่งที่ครอบครัวมีรายได้วันละ 50 บาทต่อวัน ต้องประสบปัญหามากมาย เราเห็นว่าที่สามจังหวัดชายแดนใต้เราต้องต่อสู้กับกระบวนการยุติธรรมที่เจ้าหน้าที่ไม่บอกว่าใช้กฎหมายอะไร ฉบับไหน เราไม่สามารถบอกเจ้าหน้าที่ได้เลยว่า เราต้องตั้งสมมุติฐานว่าคนที่จับกุมมานั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ไว้ก่อน แต่เจ้าหน้าที่มักจะบอกว่าเขาเชิญตัว ซึ่งเป็นการเชิญตัวที่เราปฏิเสธไม่ได้ เราไม่มีกลไกไหนที่จะตรวจสอบการใช้อำนาจได้เลย เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายอ้างถึงการใช้อำนาจพิเศษ ซึ่งจะเห็นได้ว่ารัฐยังคงใช้วิธีการทหารนำการเมือง และต้องถามต่อว่า “ทหารนำตุลาการ” ด้วยหรือไม่

เราอยากให้มี ศอ.บต. ให้มีอยู่ในรูปแบบของพลเรือน ไม่ใช่ในรูปแบบทหารดังที่เป็นอยู่ อยากให้กฎอัยการศึกเป็นกฎที่เอาเจ้าหน้าที่รัฐมารับการรับโทษด้วย และควรยุติการควบคุมตัวบุคคลไว้ใน 7 วัน และต้องยกเลิกหมายจับ ฉฉ ที่เจ้าหน้าที่ใช้ได้ตามอำเภอใจ ในการจับกุมควบคุมตัว ตำรวจก็ไปให้ความร่วมมือกับทหารไม่มีการตรวจสอบอำนาจว่าการใช้อำนาจของทหารนั้นถูกต้องหรือไม่ ในการจับกุมตำรวจควรต้องดูว่ามีคดีค้างที่ไหนบ้าง และในการใช้ที่ดินค้ำประกันในเรื่องต่างๆ คิดว่าตอนนี้ที่ดินที่สามจังหวัดภาคใต้ส่วนใหญ่ใช้ค้ำประกันอยู่ที่ศาลเกือบหมดแล้ว

เราอยากได้ความจริง และอยากให้จับกุมตัวจริง ให้ความเป็นธรรม เราให้ความหวังกับการเจรจากับทุกฝ่าย ขอให้เจรจาให้สำเร็จ ส่วนเรื่องของเงินเยียวยา ที่จะช่วยนำเงินมาฟื้นฟูครอบครัว รักษาพยาบาล ใช้หนี้สิ้น แต่ก็ต้องบอกว่าเงินภาษีที่จ่ายให้กับการเยียวยาไม่ได้หมายถึงเราจะยุติการจับตัวผู้กระทำผิด เงินเยียวยาเป็นการใช้เพื่อฟื้นฟูเพื่อดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี มีการตรวจสอบในเรื่องของสิทธิมนุษยชน ต้องยอมารับว่าตอนนี้องค์กรอิสระก็หวังพึ่งไม่ได้ เราควรจะทบทวนคำพิพากษากันใหม่กับกรณีโทษประหารชีวิต หากรื้อฟื้นได้ยากแต่น่าจะคุยกันภายในก็ได้ว่า จะทบทวนกันได้อย่างไร

และอย่าไปจับกุมคนที่ใช้สื่อ social ที่อัดอั้นตันใจแสดงออกความคิดเห็น ขอให้รัฐตรวจสอบเนื้อหาไม่ใช้ไปหาว่าใครโพสต์อะไรเข้าไป ในส่วนของประชาสังคมก็ต้องสื่อสารให้ครบถ้วนด้วย ส่วนการให้องค์กรระหว่างประเทศที่รัฐไม่ต้องการให้องค์กรต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมในการเข้ามาดูแลและบอกว่าไทยจัดการกันเองได้นั้น อย่าลืมว่าเราได้ให้สัตยาบันใน ICCPR และอนุสัญญาต่าง แต่เวลารายงานต่อ UN ก็ยังมีการปกปิด ไม่พูดว่าเรามีการใช้กฎอัยการศึกมา 16 ปี ไม่เคยแจ้งเลขาธิการ UN ให้รับรู้ว่าเราบริหารจัดการพื้นที่สามจังหวัดใต้ด้วยกฎหมายปกติไม่ได้ ทั้งที่เราไม่ได้อยู่ในภาวะสงคราม หากเราจะรบกันก็ต้องไม่ใช้อาวุธเคมี ต้องไม่ทำร้ายเด็กหรือใช้อาวุธกับโรงพยาบาล ตลาด โรงเรียน เราต้องการให้ใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่กฎหมายมนุษยธรรม ยืนยันว่าพื้นที่สามจังหวัดไม่จำเป็นต้องใช้สถานการณ์ฉุกเฉินและให้หน่วยงานรัฐทบทวนเรื่องนี้ทุกสามเดือน
หมายเหตุ
โปรดดูบทสัมภาษณ์
ชรบ.ในมุมมองรนทำสิทธิมนุษยชนชายแดนใต้
นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เห็นด้วยกับทหารว่า ชรบ.เป็นพลเรือน
เพราะคิดว่าชรบ.ไม่ได้ฝึกมาให้รบ ให้มารักษาความปลอดภัย (ภัยหลายแบบ)แม้จะมีเป้าประสงค์เพื่อต้านภัยก่อความไม่สงบ
หมายเหตุ
โปรดดูบทสัมภาษณ์

 1,716 total views,  2 views today

You may have missed