เมษายน 19, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เหตุยิงถล่ม ที่ลำพะยา จะยิ่งทำให้ประชาสังคมพุทธ-มุสลิมจับมือมากขึ้นอย่างเหนียวแน่น

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน


หากเราจับกระแสจะพบว่า “จากเหตุที่คนร้ายใช้อาวุธสงคราม ยิงถล่มชุดรักษาความปลอดภัยประจำหมู่บ้านทุ่งสะเดา และชุดคุ้มครองตำบลลำพะยา จ.ยะลา ในช่วงกลางดึกวันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งถ้าเราติดตามข่าวก็คงเห็น ภาพสอดคล้องกันว่ามีทั้งแสดงความเสียใจ และประณาม จากผู้คนส่วนใหญ่แม้กระทั่งนักการเมือง นักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชนที่เห็นต่างจากรัฐรวมทั้งจากสำนักจุฬาราชมนตรี”
ซึ่งหากรวบรวมแถลงการณ์ดังกล่าวก็จะพบ เช่นแถลงการณ์ของ สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี The Federation of Patani Students and Youth – PerMAS
https://www.facebook.com/…/a.14462563556…/2239762826325309/…มูลนิธิผสานวัฒนธรรม Cross Cultural Foundation (CrCF)
https://www.facebook.com/CrCF.Thailand/posts/2494470730600198 สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง)
https://www.facebook.com/…/rpp.146958712…/2556607531084020/…
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) https://news.thaipbs.or.th/content/285845
และสำนักจุฬาราชมนตรี https://siamrath.co.th/n/113929
ในขณะที่ทั้งนักการเมืองฝ่ายรัฐ ฝ่ายค้านก็มีแถลงการณ์และเข้าเยี่ยมผู้ได้รับผลกระทบ และญาติซึ่งล่าสุดนายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรีและคณะ กกจ.ชายแดนใต้นำคณะมาเยี่ยมมาให้กำลังใจเองหลังจากออกแถลงการณ์ เพียงหนึ่งวัน ที่สำคัญเห็นความร่วมมือประชาสังคมชายแดนใต้ทั้งพุทธ-มุสลิมด้วยเช่นกันเป็นการโดดเดียวคนใช้ความรุนแรง (ฝ่ายเห็นต่างที่ใช้อาวุธต่อสู้ซึ่งในแง่การเมืองเรื่องมวลชนก็ต้องมอนิเตอร์ให้ดีๆ)

(หมายเหตุโปรดดูรายงานนี้
https://www.isranews.org/south-news/documentary/82423-nine-82423.html?fbclid=IwAR1naaCsIdnEbhcsF4mzyfZK5tcBRo7e31Y6Yb1zujsjf10WlM0sk67O7Y4)
ในขณะเดียวกันสภาประชาสังคมชายแดนใต้ร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนอื่นเตรียมแสดงจุดยืน ไม่เอาคว่มรุนแรงและปัญญาจากรากเหง้ามากกว่าตามกระเเสโดยแสดงผ่านงาน สมัชชาสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี2019 ในหัวข้อสันติภาพ การพัฒนาและความยุติธรรม ซึ่งจะจัดที่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วัน 20 พฤศจิกายนนี้ และจะพาขึ้นเสนอที่เวทีส่วนกลาง 19-20 ธันวาคม 2562
สำหรับหัวข้อสันติภาพ การพัฒนาและความยุติธรรมนั้นจะได้พิจารณาเรื่อง สันติภาพ การพัฒนาและความยุติธรรม ในสี่คำ หลักคือตระหนัก กังวล ชื่นชมและรับทราบภายใต้ สามประเด็น คือหนึ่งด้านกระบวนการสันติภาพ สองด้านการพัฒนา และสามด้านการสร้างความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน
กล่าวคือ
ตระหนัก ว่าการสร้างประเด็นปัญหานโยบาย (Problematic) ในแบบใหม่ที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการกำหนดประเด็นปัญหาและนำไปสู่วาระเชิงนโยบายสาธารณะที่ก้าวหน้า จะส่งผลต่อการแก้ปัญหาในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน มากกว่าเป็นนโยบายสาธารณะที่กำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญระดับสูงหรือชนชั้นนำแต่เพียงอย่างเดียว
กังวล ต่อปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เริ่มมีความรุนแรงอย่างชัดเจนในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ และมีความต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ นับเป็นเวลาได้ ๑๖ ปีแล้ว ปัญหาที่ทำให้เหตุการณ์ขยายตัวลุกลามมาจนถึงปัจจุบัน มีลักษณะพิเศษที่ในทางวิชาการเรียกว่าความขัดแย้งเชิงอัตลักษณ์ (Identity Conflict)
ชื่นชม ว่าท่ามกลางการเกิดพลวัตของความขัดแย้งแต่ก็ยังเกิดกลุ่มพลังทางสังคมหลายกลุ่ม ทั้งภาคประชาชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคการเมืองและภาครัฐ ที่ร่วมดำเนินการเพื่อสร้างสันติสุขในพื้นที่ ซึ่งก็ส่งผลให้ระดับความรุนแรงจำกัดตัวในระดับหนึ่ง
รับทราบ ว่าสาเหตุหลักที่เป็นรากเหง้าปัญหาก็คือ ประเด็นเรื่องอัตลักษณ์ คนมลายูมุสลิมซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์มลายู มุสลิม และปาตานี โดยสำนึกทางประวัติศาสตร์ แต่ก็สามารถอยู่ร่วมกับคนไทยพุทธซึ่งเป็นคนส่วนน้อยในพื้นที่ในสังคมหลากหลายทางวัฒนธรรมได้ อีกด้านหนึ่งประวัติศาสตร์ของความขัดแย้งกับรัฐในอดีตก็ยังคงส่งผลมาถึงปัจจุบันด้วย เนื่องจากในอดีต รัฐไทยพยายามเปลี่ยนรัฐปาตานีเก่าให้มีโครงสร้างทางการเมือง ระบบการศึกษา ระบบกฎหมาย วัฒนธรรมและภาษาให้เป็นแบบไทยอย่างเข้มข้นภายใต้นโยบายที่เรียกว่าการผสมกลมกลืน (Assimilation) และเกิดการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมหลายอย่างจากเจ้าหน้าที่รัฐในอดีต ความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมทำให้เกิดขบวนการการต่อต้านทั้งที่ใช้ความรุนแรงและไม่ใช้ความรุนแรง
มติเห็นว่า ปัญหาความรุนแรงทางตรง ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม จะได้รับการแก้ไข ต้องอาศัยการสร้างพื้นที่กลาง (Common Space) โดยภาคประชาชนจากทุกฝ่าย สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น เป็นกระบวนการที่ให้ประชาชนและหน่วยงานของรัฐได้ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเรียนรู้อย่างสมานฉันท์เพื่อนำไปสู่การเสนอแนะ นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ โดยจัดให้มีการประชุมอย่างเป็นระบบและมีส่วนร่วมด้วยการใช้ประเด็นสาธารณะเป็นตัวตั้งในการดำเนินการ เป็นกระบวนการที่มีความสอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน
สำหรับรายละเอียดด้านกระบวนการสันติภาพ ด้านการพัฒนา ด้านการสร้างความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนคงจะได้ทราบวันจัดเวที สมัชชาสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี2019
ซึ่งผูเขียนได้รายงานเชิงลึกเพราะผู้เขียนก็เป็นคณะทำงานงานนี้ด้วย

/////////////////////////

 554 total views,  2 views today

You may have missed