พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

##เศรษฐกิจเกื้อกูลภายใต้ความท้าทายทุนนิยมและอำนาจรวมศูนย์

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ช่วงวันที่ 28 ก.ค.2564 ได้มีการจัดเวทีเสวนา “ฤา ระบบเศรษฐกิจเกื้อกูล” จะเป็นวัคซีนสามัญประจำภาคใต้ เพื่อร่วมคิด ร่วมแลกเปลี่ยน ทางเลือกทางรอดของแผ่นดินใต้ เมื่อแผนพัฒนาประเทศไม่สอดคล้องกับศักยภาพของทรัพยากรในภูมิภาค ซึ่งมี วิทยากรร่วมเสวนา ดร. สินาด ตรีวรรณไชย คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยเขตหาดใหญ่ นายบรรจง นะแส อดีตนายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย นายประสิทธิ์ชัย หนูนวล นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน นางสาวประไพ ทองเชิญ จากเครื่อข่ายกินดีมีสุข จังหวัดพัทลุง และนายปกรณ์ ปรีชาวุฒิเดช ผู้ทรงคุณวุฒิสภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ IMT-GT (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle)
มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า “เศรษฐกิจต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน “หรือธุรกิจเพื่อการเกื้อกุล (Social Contribution System)ซึ่ง รูปแบบธุรกิจที่มีเป้าหมาย และความปรารถนาที่จะยกระดับความอยู่ดีกินดี พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคมโดยรวมให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืน โดย “เป้าหมายธุรกิจ” มุ่งสู่การสร้างสรรค์สังคมเครือข่ายแห่งการเกื้อกูล แบ่งปัน จุนเจือระหว่างกัน โดยมีพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า มนุษย์ล้วนมีจิตที่คิดจะแบ่งปันให้ผู้อื่นเป็นรากฐาน และเราสามารถทำให้เกิดวงจรแห่งการเกื้อกูลนี้ได้ด้วยการขยายความเกื้อกูลจากกลุ่มหนึ่งไปสู่กลุ่มหนึ่ง บนความเชื่อที่ว่าระบบธุรกิจเพื่อการเกื้อกูลจะสามารถเติบโตขึ้นจนกลายเป็นวัฒนธรรมทางธุรกิจแห่งการเกื้อกูล และแบ่งปันได้ในที่สุด จากภาคความคิดสู่รูปแบบธุรกิจเชิงรูปธรรม จุดเริ่มต้นของระบบธุรกิจแห่งการเกื้อกูลกัน (Social Contribution System)
แต่คำถามสำหรับผู้เขียน ไอ้ระบบธุรกิจเกื้อกูลมันจะเป็นไปได้หรือภายใต้ระบบทุนนิยม(ทุนใหญ่)ยิ่งอยู่ภายใต้รัฐบาลรวมศูนย์อำนาจ กฎหมายรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตยยิ่งเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะช่วงโควิดที่ต้องเผชิญปีกว่าและระลอกนี้คนตายเป็นร้อย ผู้ติดเชื้อ เป็นหมื่น มีการประกาศล็อคดาวเป็นเดือน
ในขณะที่บทเรียน เชิงประจักษ์ “จากบทเรียนการพัฒนาในพื้นที่ภาคตะวันออก ไม่เคยเชื่อว่าการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่วัดด้วยการเจริญเติบโตของ GDP ของประเทศ จะมาตอบโจทย์ความยั่งยืนของเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตคน และทรัพยากรได้ การพัฒนาจะต้องอยู่บนพื้นฐานการมีส่วนร่วม พัฒนาบนฐานทรัพยากร และต้องเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์และความยั่งยืนต่อส่วนรวม สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การพัฒนาให้เกิดความ มั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน ที่แท้จริง “
ดังนั้นจึงต้องทำสองส่วนคู่กัน อย่างอดทน หนึ่งการขับเคลื่อนเชิงรูปธรรมของเศรษฐกิจหรือธุรกิจเกื้อกูลในหลายๆพื้นที่ และทำงานร่วมกันเป็นเครือข่าย สอง การต่อสู้ การเคลื่อนไหวในระดับนโยบาย ที่ต้องสามารถไปเปลี่ยนนโยบาย กฎหมาย ซึ่งทั้งสองส่วน ต้องอาศัยการสื่อสารของสื่อด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ใหญ่ให้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส โดยผ่านสภาผู้ชม ที่ร่วมกันอิกแบบในวันนี้

หมายเหตุ
1.
ฟังย้อนหลัง
https://www.facebook.com/SapaThaiPBSsouth/videos/1166798937174537/ และ https://www.facebook.com/SapaThaiPBSsouth/videos/1969090223241911/
2.ฟังย้ออนหลัง เสวนา “เมกะโปรเจกต์ภาคใต้” ไม่สามารถเป็นวัคซีนแก้วิกฤตเศรษฐกิจได้และไทยพีบีเอสจึงจำเป็นในการเปิดพื้นที่กลางอันเป็น เวทีสาธารณะ
http://spmcnews.com/?p=42644

 12,099 total views,  6 views today

You may have missed