อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
โดยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 มี พิธีปิด โรงพยาบาลสนามชุมชนโคกเค็ต ซึ่งชาวบ้านเรียกง่ายๆเพื่อความเข้าใจ “โรงพยาบาลสนามชุมชนโคกเค็ต “ในแง่วิชาการ เรียกว่า “ศูนย์กักชุมชน หรือ CIC มาจากคำว่า Community Isolation Center” เหลือคนไข้เพียงไม่กี่คนแล้ว ซึ่งส่งต่อไปโรงพยาบาลสนามโรงเรียนศาสนบำรุง
“จะเรียกมันข่าวดีก็ได้ หมู่บ้านโคกเค็ตที่ใช้โรงเรียนตาดีกาเป็นโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิดตอนนี้ได้ปิดตัวลงแล้ว (30 กรกฎาคม 2564 )เพราะผู้ป่วยที่เป็นคนในหมู่บ้านโคกเค็ตได้หมดลงแล้ว อยากให้จำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนามอีกหลายๆพื้นหมดลงบ้าง อย่างน้อยบุคคลากรทางการแพทย์ จะได้เหนื่อยน้อยลงบ้าง อีกนานไม่นาน พื้นที่อื่นก็คงคงทยอยหมดไปบ้าง ตอนนี้เป็นกำลังใจให้ประชาชนและบุคคลากรทางการแพทย์ทุกคน “
#ประเทศไทยต้องรอด #จะนะเมืองน่าอยู่
เพจโรงพยาบาลจะนะ ได้ให้ข้อมูลว่า “สถานการณ์โรคโควิดในอำเภอจะนะกำลังดีขึ้นช้าๆ
เตียงของโรงพยาบาลจะนะที่รับผู้ป่วยโควิดยังแน่นมาก เพราะยังมีผู้สูงอายุและผู้ที่ป่วยปานกลางต้องทานยาฟาวิพิราเวียร์ ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะรับไว้นอนที่โรงพยาบาล เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการดูแลผู้ป่วย
ส่วนเตียงของโรงพยาบาลสนามนั้นเริ่มโล่งแล้ว โรงพยาบาลสนามจะนะวิทยา ที่รับได้ 120 คน โรงพยาบาลสนามศาสนบำรุง รับได้ 150 คน และโรงพยาบาลสนามค่าย ตชด.สะพานไม้แก่น รับได้ 120 คน ทั้ง 3 แห่งยังมีเตียงว่างสำหรับผู้ป่วยโควิดพอสมควร แต่ก็หวังว่าจะไม่มีใครไปนอนจะดีที่สุด
ส่วนโรงพยาบาลสนามโรงเรียนตาดีกาโคกเค็ดนั้น เหลือคนไข้เพียงไม่กี่คนแล้ว และจะปิดตัวลงในวันพรุ่งนี้ (30 กรกฎาคม 2564 ) เพราะการแพร่ระบาดของพื้นที่หมู่ 4,6,7 ตำบลบ้านนาได้เกือบจะยุติลงแล้ว จึงสามารถปิดโรงพยาบาลสนามได้หลังจากเปิดดำเนินการมา 6 สัปดาห์
แม้จะนะจะมีสถานการณ์ที่ดีขึ้นบ้างอย่างช้าๆ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังพบผู้ติดเชื้อวันละ 20-30 คนทุกวัน ดังนั้น การร่วมด้วยช่วยกันดูแลตนเองไม่ให้ติดเชื้อ ยังมีความสำคัญอย่างยิ่ง แล้วเราจะผ่านพ้นการแพร่ระบาดของโควิดไปด้วยกัน
อะไรคือบทเรียนที่เราสามารถสื่อสารเพื่อส่งเรื่องดีๆดังนี้
#ที่มา โรงพยาบาลสนามชุมชนโคกเค็ต
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจกรุณาสะท้อนว่า
การระบาดของโควิดในอำเภอจะนะนั้นหนักมาก พบผู้ติดเชื้อกระจายในทุกตำบล ในหลายคลัสเตอร์ที่ปะเดปะดังเข้ามา ในแต่ละวันมีการทำ swab หาผู้ติดเชื้อกว่า 250-400 รายต่อวัน และเมื่อผลบวกออกมา ว่ามีผู้ติดเชื้อวันละ20-40 คน คำถามที่น่าหนักใจที่สุดตือ จะให้ผู้ติดเชื้อโควิดเหล่านี้ นอนกักรักษาตัว 14 วันที่ไหน เพราะโรงพยาบาลจะนะนั้นเตียงเต็มหมดแล้ว
คลัสเตอร์ใหญ่ที่สุดในอำเภอจะนะในวันที่25 มิถุนายน 2564 คือ คลัสเตอร์หมู่6ท่าชะมวง (บ้านโคกเค็ต )ตำบลบ้านนา คลัสเตอร์นี้พบว่า หมู่ที่ 6 และหมู่ที่ 4 ที่อยู่ติดกัน พบผู้ติดเชื้อแล้วร่วม 100 ราย และเมื่อโรงยาบาลจะนะที่มีเตียงรับผู้ป่วยโควิดแล้วถึง 76 เตียงซึ่งต้องรับผู้ป่วยในคลัสเตอร์อื่นๆด้วย แล้วคนหมู่ 6 หมู่ 4 จะนอนไหน คำตอบชัดเจนว่า คนในชุมชนต้องช่วยกันหาที่นอนกักรักษาในชุมชน และแล้วอาคารเรียนโรงเรียนตาดีกาในพื้นที่ของมัสยิดหมู่ที่6 (บ้านโคกเค็ต ) ก็ได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นศูนย์กักชุมชน
ที่นี่ชั้นบนมี 8 ห้อง สามารถวางเบาะนอนได้ห้องละ 10 เบาะ ก็รวม 80 เตียง ทางโรงพยาบาลจะนะได้รับความร่วมมือจากชุมชน ฝ่ายปกครอง ท้องถิ่นท้องที่มาร่วมกันทำความสะอาด ปรับแต่งอาคาร รวมทั้งจัดกำลังเวรยามมาดูแล ในส่วนของโรงพยาบาลก็ได้เข้ามาดูแลทางการแพทย์ มีการกำหนดผู้ป่วยให้เป็น อสม.โควิด คอยวัดความดัน วัดไข้ วัดระดับออกซิเจนในเลือดใ้ห้พยาบาลทุกวัน ใครปวยมากขึ้นจะได้รับการตรวจและส่งไปนอนที่โรงพยาบาลจะนะต่อไป”
#ความร่วมมือร่วมใจของชุมชนคือหัวใจในการสู้ภัยโควิด
วันที่ 25 มิถุนายน 2564 ดร.มังโสด หมะเต๊ะผู้บริหารโรงเรียนสันติวิทย์เสมือนผู้นำชุมชนที่นี่แม้ไม่ใช่กำนัน หรือผู้ใหญ่บ้านได้ระดมทุนขอรับบริจาคเบาะและหมอนจนได้มาตรบอีก 130 ชุดในเวลาอันรวดเร็วภายในวันเดียวเพื่อรองรับผู้ป่วยที่จะทำเป็นโรงพยาบาลสนามชุมชนที่นี่ และร่วมดูแลร่วมกับทุกภาคส่วนในชุมชนไม่ว่า อาหาร ยา ความปลอดภัย ถุงยังชีพ และอื่นๆที่จำเป็นตลอด เดือนกว่าๆจนปิดโรงพยาบาลสนาม 30 กรกฎาคม 2564
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจกรุณาสะท้อนอีกว่า
“ความร่วมมือร่วมใจของชุมชนคือหัวใจในการสู้ภัยโควิด CICบ้านท่าชะมวง (โคกเค็ต)คือต้นแบบที่น่าสนใจยิ่ง หากไม่มี CIC ไม่มีความร่วมมือจากชุมชนท้องถิ่นท้องที่แล้ว โรงพยาบาลจะนะคงจะแย่ ผู้ป่วยย่อมตกค้างรอเตียงที่บ้าน รอหลายวันเข้าก็จำต้องรับตัวมานอนโรงพยาบาล ทำให้เตียงโรงพยาบาลที่ควรสงวนไว้สำหรับผู้ป่วยสีเหลืองที่มีอาการต้องการการดูแลทางการแพทย์ก็จะยิ่งมีไม่พอ พอมีผู้ป่วยที่อาการหนัก แต่เตียงไม่มีแล้ว วิกฤตจะยิ่งทวีคูณ
โรงพยาบาลจะนะต้องขอชื่นชมและขอบคุณกับทุกความร่วมมือ ที่ร่วมกันผ่าฟันอุปสรรค จนศูนย์กักชุมชน หรือ CIC ตาดีกาบ้านท่าชะมวงแห่งนี้ เป็นรูปเป็นร่าง และเป็นส่วนสำคัญในการกอบกู้สู้ภัยโควิดของอำเภอจะนะในวันนี้“
ความเป็นจริงทุนทางสังคมอันเป็นทุนเดิมของหมอสุภัทรกับ ดร.มังโสด หมะเต๊ะ และชุมชนก่อนหน้านี้มาหลายปีก็มีความสำคัญมิใช่น้อยในภารกิจพิชิตโควิดในครั้งนี้
“
นี่คือบทเรียนที่ “ชุมชนดูแลตนเองภายใต้บัญชาการหมอกับผู้นำชุมชนด้วยจิตวิญญาณและทุกภาคส่วนหนุนเสริม”
หมายเหตุ
1.
คลิปบรรยากาศสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องการเปิดศูนย์กักชุมชน หรือ CIC ตาดีกาบ้านโคกเค็ต”
https://www.facebook.com/zinstudio3233/videos/4168184556576254/
2. ฟังเสวนาออนไลน์ ย้อนหลัง”การจัดการโรงพยาบาลสนามโดยพลังชุมชน : จะนะโมเดล”
ซึ่งจัดเมื่อวันที่ 29 ก.ค. 64 เวลา 13.30 – 15.30 น.
ผู้ร่วมเสวนา
๑. ดร.มังโสด หมะเต๊ะ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยี่สันติวิทย์สงขลา
กรณี โรงพยาบาลสนามโรงเรียนตาดีกาบ้านท่าชะมวง (โคกแค็ด) สำหรับคนในชุมชน
..
๒. ดร. นัสรูดิน กะจิ ผู้จัดการโรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยา
กรณี โรงพยาบาลสนามสำหรับบุคลากรในโรงเรียน
…
๓. บาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะ ผู้จัดการโรงเรียนศาสนบำรุง
กรณี โรงพยาบาลสนามสำหรับประชาชนในระดับอำเภอ
…
๔. นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
…
ดำเนินรายการโดย บัญชร วิเชียรศรี
https://www.facebook.com/groups/covidsongkhlawatch/permalink/532604308054112/
11,471 total views, 4 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.