เมษายน 19, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เมกะโปรเจกต์ภาคใต้” ไม่สามารถเป็นวัคซีนแก้วิกฤตเศรษฐกิจได้และไทยพีบีเอสจึงจำเป็นในการเปิดพื้นที่กลางอันเป็น เวทีสาธารณะ

แชร์เลย

—————————–

มีการเสวนา “เมกะโปรเจกต์ภาคใต้” จะเป็นวัคซีนแก้วิกฤตเศรษฐกิจได้จริงหรือ? 📌จัดโดย สภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ ภูมิภาคใต้
ร่วมด้วย มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
สมัชชาประชาชนภาคใต้
เครือข่ายเขียนอนาคตประเทศไทย
ศูนย์สร้างจิตสำนึกนิเวศวิทยา
โดยมี
1 นายธีรพจน์ กษิรวัฒน์ ที่ปรึกษาสมาคมท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดกระบี่
2 ผศ.ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
3 นายสมบูรณ์ คำแหง ที่ปรึกษาคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคใต้
4 นายรุ่งเรือง ระหมันยะ เครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่น

ซึ่งทั้งหมดสะท้อนตรงกันว่า #เมกะโปรเจกต์ภาคใต้” ไม่สามารถเป็นวัคซีนแก้วิกฤตเศรษฐกิจได้
นายรักชาติ สุวรรณ สภาผู้ชมชายแดนภาคใต้กล่าวว่า “

เมกะโปรเจกต์ที่รัฐส่งลงมาในพื้นที่ของตน ทำไมถึงไม่สร้างความเข้าใจ บอกความจริงกับคนในพื้นที่ทำไมเมกะโปรเจกต์ ถึงถูกส่งลงมาจากส่วนกลาง แล้วมาลงกลางหมู่บ้าน โดยคนในพื้นที่ไม่รู้มาก่อนการขุดคลองไทย สร้างความเสียหายให้กับคนในพื้นที่ ปะการังเสียหาย เกิดตะกอนที่ไหลลงสู่เกาะพีพี ทำให้สูญเสียแหล่งท่องเที่ยวแถบชายฝั่วอันดามัน หรือแม้แต่กรณีการท่องเที่ยวของมาเลเซีย ที่อดีตการท่องเที่ยวยังสู้จังหวัดสตูลไม่ได้ แต่ปัจจุบัน มาเลเซียทุบงบประมาณพัฒนาการท่องเที่ยวเกาะลังกาวี ทำให้แซงหน้าสตูลไปได้อย่างสบาย ทำไมถึงไม่มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสตูล / หรือเอาเข้าจริงการขุดคลองไทยแล้วจะสร้างเศรษฐกิจที่ดีให้กับพี่น้องประชาชน หรือประเทศไทย อาจจะเป็นเพียงการเพ้อฝัน หรือจิตนาการ ก็เป็นได้
.
ประเด็นและสาระสำคัญของเมกะโปรเจกต์ คือ หากตัดสินใจสร้างขึ้นมาแล้ว สำคัญที่สุดเมื่อเกิดอะไรขึ้น มันไม่สามารถย้อนกลับมาให้เหมือนเดิมได้อีกแล้ว / แล้วเราจะวางแผนอย่างไร เพราะฉะนั้น ประชาชน เจ้าของพื้นที่ ต้องตระหนักและเรียนรู้ให้มาก เราจะให้ภาพธรรมชาติที่สวยงามหายไป และเหลือไว้แต่ใน Google เท่านั้นหรือ
.
ผมคิดว่าจะว่าไม่มีใครปฏิเสธการพัฒนา แต่ในระบบการพัฒนาจะทำอย่างไรให้ยั่งยืน จะทำอย่างไรให้ประชาชนมีส่วนร่วม มิติการพัฒนาน่าจะมาจากความต้องการของประชาชนบนพื้นฐานของความรู้ ความเข้าใจและความเป็นจริง
.
แม้จะมีคนที่เข้าร่วมบางคน จะเห็นด้วยกับการขุดคลองไทย และเสนอให้รัฐศึกษาถึงปัญหาดังกล่าว รวมถึงควรมีเวทีเสวนาของคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ซึ่งน่าสนใจทีเดียวครับ
.

สำหรับผู้เขียนมีทัศนะเรื่องนี้(โครงการขนาดใหญ่หรือเรียกว่าเมกะโปรเจคของรัฐ)
ดังนี้
“อันเนื่องมาจากผู้เขียนได้ร่วมลงพื้นที่โครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซียที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และร่วมให้ข้อเสนอแนะในการศึกษา ข้อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมต่อการตัดสินใจโครงการขนาดใหญ่ของรัฐโดยนักศึกษาหลักสูตรการเสริมสร้างสันติสุข สถาบันพระปกเกล้าหรือที่เรียกว่า 4 ส รุ่นที่ 8 นำโดยนายแทย์นันทวัทวัช สิทธิรักษ์ หัวหน้าวิชาการและคณะนักศึกษา จำนวน 80 ที่มาจากทุกภาคส่วน

กล่าวคือ จากการลงพื้นที่ในโครงการขนาดใหญ่หรือเรียกว่าเมกะโปรเจคของรัฐจำนวน 5 โครงการที่มีคุณลักษณะที่แตกต่างกันออกไปทั้งที่ดำเนินการไปแล้วเสร็จ (โครงการโรงแยกแกสจะนะ และโครงการอ่างเก็บน้ำลำตะคอง) กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ (โครงการถมทะเลมาบตาพุดเฟสสาม และโครงการทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา) และโครงการที่กำลังก่อรูป (โครงการเชียงใหม่เมืองมรดกโลก) พบว่า

1. แก่นหลักที่นำมาสู่ความขัดแย้งและความแข็งขืนต่อต้านโครงการของรัฐในภาพรวมคือ ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน (no trust) ประเด้นหลักที่พบได้ทุกโครงการได้แก่ ชุดข้อมูลที่ฝ่ายรัฐและแนวร่วมรัฐหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตดำเนินโครงการมีอยู่มักถูกเผยแพร่สู่สาธารณะในวงจำกัด ไม่เป็นปัจจุบัน และมีการตัดทอนหรือเซ็นเซอร์ ให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรืออาจให้ข้อมูลไม่ตรงตามเอกสารจริง ในขณะที่อีกฝ่ายที่เป็นองค์กรเอกชนถูกอีกฝ่ายอ้างด้วยเช่นกันว่าข้อมูลด้านตรงกันข้ามรวมทั้งมีการใช้วาทกรรมสร้างความแตกแยก

2. การไม่ยอมรับผลการประเมิน EIA (Environmental Impact Assessment) คือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม” EHIA (Environment and Health Impact Assessment) คือ การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการ โดยให้มีส่วนร่วมและรับฟังเสียงจากประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย จากหลายเหตุผล

3. กระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่รวบรัด ดำเนินการโดยฝ่ายรัฐหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตดำเนินโครงการแต่เพียงฝ่ายเดียว

4. ความไม่ยืดหยุ่นของเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์โครงการที่สอดรับกับความต้องการของประชาชน

5. กระบวนการลดผลกระทบเชิงลบและการเยียวยาของโครงการที่มีต่อประชาชนที่มิได้ศึกษามิติต่างๆทั้งระดับปัจเจก ชุมชน สังคม และจิตวิญญาณ ทั้งที่สามารถตีค่าทางเศรษฐศาสตร์ได้ (tangible) และมีคุณค่าที่ไม่สามารถตีค่าเป็นตัวเลขได้ชัดเจน (intangible) อย่างรอบด้าน

6. ไม่มีกระบวนการติดตามโครงการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

จากการวิเคราะห์ช่องว่างดังกล่าวข้างต้น จึงนำมาสู่การสร้างรูปแบบหรือโมเดลข้อเสนอเพื่อป้องกันความไม่เข้าใจกัน และจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกัน (TRUST) ในทุกภาคส่วนตั้งแต่ก่อนตัดสินใจโครงการ ไปจนกระทั่งถึงกลไกการเฝ้าระวังติดตามโครงการให้มีความสอดคล้องกับแผนที่ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายอย่างแท้จริง และบรรเทาปัญหา ผลกระทบต่างๆต่อผู้ได้รับผลกระทบอย่างเหมาะสม ทันเวลา

ดังนั้นขั้นตอนการดำเนินการสามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วงได้แก่

ระยะที่ 1 ก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการ

ขั้นตอนที่ 1 การมีส่วนร่วมต่อจัดหาข้อมูลที่น่าเชื่อถืออย่างรอบด้าน

ก่อนการตัดสินใจว่า จะดำเนินโครงการใดๆ ควรมีข้อมูลที่เพียงพอและน่าเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับด้วยกันทุกฝ่าย ในทุกโครงการจะต้องมีการจัดทำข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณาอยู่แล้วตั้งแต่ขั้นตอน feasibility study แต่แน่นอนว่า จะเป็นชุดข้อมูลที่ภาครัฐหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตดำเนินโครงการเป็นผู้ว่าจ้างให้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และมักต้องทำ EIA และ/หรือ EHIA ด้วย อย่างไรก็ตาม เป็นที่ประจักษ์ว่า การศึกษาดังกล่าวอาจมีข้อจำกัดบางประการทั้งเรื่องเวลา งบประมาณ รวมทั้งเป็นผู้ว่าจ้างการศึกษาผลกระทบเสียเอง ดังนั้น หากประชาชนรวมทั้งองค์ภาคเอกชนหรือ NGO หรือภาคส่วนอื่นในสังคมมีชุดข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรที่จะสามารถส่งเข้ามาเพิ่มเติมได้

ในขั้นตอนนี้ สิ่งที่ต้องดำเนินการคือ

1. สร้างความเป็นกลางของข้อมูล technical data/EIA/EHIA โดยรัฐและผู้ได้รับอนุญาตดำเนินโครงการต้องไม่เป็นผู้ว่าจ้างเสียเอง ควรมีการบัญญัติเป็นตัวบทกฎหมายให้จัดตั้งองค์กรอิสระเฉพาะกิจศึกษา technical data/EIA/EHIA มีความเป็นอิสระจากภาครัฐ โดยมีการจัดหาเงินกองทุนจากสามภาคส่วนได้แก่ งบประมาณแผ่นดิน หน่วยงานที่จะดำเนินโครงการ และเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของกองทุนนี้ร่วมกัน ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถร่วมสมทบเงินได้ (แต่ไม่ใช่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ)มีคณะกรรมการบริหารกองทุนนี้ องค์ประกอบมาจากสามภาคส่วนในสัดส่วนเท่ากันคือ ตัวแทนภาครัฐ นักวิชาการ และภาคประชาชน เมื่อต้องทำการศึกษาใดๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องขออนุมัติจากคณะกรรมการชุดนี้ แล้วสำนักงานเลขานุการกองทุนจะเป็นผู้ดำเนินการว่าจ้าง นอกจากนี้ ภาคประชาชนสามารถขอการสนับสนุนการศึกษาได้เช่นกัน หรือแม้กระทั่งการจัดทำข้อมูลดังกล่าวคู่ขนานจากภาคประชาชน

2. จัดตั้งศูนย์ข้อมูลที่สามารถรับชุดข้อมูลจากหลายช่องทาง โดยประชาสัมพันธ์สาธารณะ และมีช่องทางชัดเจนในการรับข้อมูล เมื่อครบกำหนดตามเงื่อนไขระยะเวลาที่กำหนด ควรมีคณะกรรมการพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้นๆ ตัวแทนภาคประชาชน และตัวแทนภาครัฐในสัดส่วนเท่าๆกัน ช่วยกลั่นกรองข้อมูล แล้วสรุป นำเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาโครงการต่อไป ชุดข้อมูลที่ผ่านการกลั่นกรองนี้จะต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ สามารถเข้าถึงโดยง่าย และมีช่องทางในการแสดงความคิดเห็นด้วย

ชุดข้อมูลจากแหล่งข้อมูลอื่นจึงมีความสำคัญมาก ความเพียงพอต่อการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจึงต้องครอบคลุม กว้างขวาง และเพียงพอ ไม่ดำเนินการจำกัดในวงแคบ เนื่องจากอาจมีผลกระทบลูกโซ่ ต่อเนื่อง และกินระยะเวลายาวนานกว่าผลกระทบเชิงเดี่ยวจากโครงการหนึ่งๆเท่านั้น

การเข้าถึงข้อมูลต้องกระทำอย่างเปิดเผยทุกขั้นตอน เอกสารที่ร้องขอต้องไม่มีการตัดทอน และต้องสามารถเชื่อมต่อชุดข้อมูลที่มีการปรับปรุงได้ทุกฉบับ สามารถสืบค้นย้อนกลับไปยังหน่วยงานผู้จัดทำได้ถูกต้อง ชุดข้อมูลสุดท้ายที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างมีส่วนร่วมต้องประกาศเปิดเผยผ่านทั้งทางโซเชียลมีเดียและระบบปกติ

ขั้นตอนที่ 2 การร่วมกำหนดเป้าหมายโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและความจำเป็นของรัฐ

แม้ฝ่ายรัฐจะมีการกำหนดเป้าหมายของโครงการมาแล้วก็ตาม แต่ต้องสามารถปรับแต่งได้ให้สามารถสอดรับกับความต้องการของประชาชนด้วย เป็นที่ยอมรับได้ สมประโยชน์ของทุกฝ่าย ทั้งนี้ ฝ่ายรัฐควรมีความยืดหยุ่น สามารถปรับแต่งได้ตามความเหมาะสม

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญมาก ผู้มีส่วนได้เสียไม่ควรจำกัดเฉพาะกลุ่มที่ได้รับประโยชน์หรือได้รับผลกระทบโดยตรงเท่านั้น เช่น การดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้า รัศมีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมควรพิจารณาถึงโอกาสที่ฝุ่นละอองหรือควันจะพัดพาไปถึง กรณีทรัพยากรทางทะเลก็ควรพิจารณาถึงผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารทั้งระบบ ในขั้นตอนนี้ หากเป็นโครงการที่ต้องใช้เทคโนโลยีที่ต้องมีผู้ชำนาญการมาเกี่ยวข้อง ควรเพิ่มกระบวนการรับฟังความคิดเห็นเชิงเทคนิคทางวิชาการด้วย (Technical hearing) เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิชาการและภาคประชาชนที่เข้าใจ เท่าทันเทคโนโลยีสามารถร่วมให้ความเห็นได้อย่างเต็มที่ กระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ส่วนได้เสียอย่างรอบด้านจะทำให้ทราบความต้องการที่ชัดเจนทั้งจากผู้ที่เห็นด้วย รวมทั้งทราบข้อกังวลใจจากผู้ที่คัดค้านหรือไม่เห็นด้วย ภาครัฐควรนำข้อคิดเห็นต่างๆเหล่านั้นมาปรับแต่งรายละเอียดเป้าหมายโครงการ แล้วนำเสนอกับกลุ่มต่างๆ จนกระทั่งสามารถได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ไม่มีความขัดแย้งรุนแรง

กระบวนการในขั้นตอนนี้ไม่ควรสร้างเงื่อนไขช่วงเวลาและจำนวนครั้งไว้ตายตัว แต่ควรเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ปรับแต่งเป้าหมายจนกระทั่งทุกฝ่ายยอมรับได้ ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลายาวนาน อย่างไรก็ตาม หากสามารถก้าวข้ามความขัดแย้งที่รุนแรงย่อมเป็นเครื่องยืนยันความสำเร็จของโครงการอย่างยั่งยืน

ก่อนการตัดสินใจในขั้นตอนสุดท้าย ควรมีการทบทวนอีกครั้งว่า มีความสอดคล้องกับ Strategic Environment Assessment (SEA) หรือไม่ ประชาชนควรต้องมีโอกาสในการกำหนดความต้องการว่า อยากเห็นชุมชนของตนเองเป็นเช่นใดเสียก่อน เช่น อยากเห็นจังหวัดตนเองเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นั้น หรือพื้นที่ท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม หรือประสงค์จะเน้นเป็นแหล่งอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบ หากประชาชนมีฉันทามติว่าเป้าหมายในอนาคตของชุมชนแตกต่างจากเป้าหมายที่รัฐประสงค์ ควรเคารพการตัดสินใจของประชาชนเป็นที่สุด และนำเสนอผลการตัดสินใจตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นนี้ผ่านตามขั้นตอนพรบ. สิ่งแวดล้อมต่อไป

ระยะที่ 2 หลังจากตัดสินใจดำเนินโครงการ

ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการลดผลกระทบโครงการและการเยียวยาอย่างมีส่วนร่วม

มีความชัดเจนว่าโครงการใหญ่ๆมักสร้างผลกระทบไม่มากก็น้อย ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีทั้งผลกระทบที่สามารถประเมินได้เป็นมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ (tangible value) แต่หลายโครงการที่มักก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม ความผูกพันที่มีต่อกันในสังคม คุณค่าทางวัฒนธรรม หรือคุณค่าทางจิตใจที่ประเมินเป็นมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์

 7,709 total views,  2 views today

You may have missed