พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

#ย้อนดูการขับเคลื่อน “ปกป้องปาเลสไตน์ของมุสลิมไทย ในนาม “เครือข่ายการขับเคลื่อนเพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์” ภายใต้ “สภาเครือข่ายมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี”

แชร์เลย

โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

ฝ่ายวิชาการเครือข่ายการขับเคลื่อนเพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์
สภาเครือข่ายมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี
Shukur2003@yahoo.co.uk,
http://www.oknation.net/blog/shukur
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
ปาเลสไตน์ถือเป็นยุทธศาสตร์ของโลกมุสลิมและวาระหลักของมนุษยชาติ โดยมีมัสยิดอัลอักซอเป็นหัวใจ (กิบลัตแรกและ มัสยิดที่มีความสำคัญลำดับ 3 ของมุสลิม) ขณะนี้ถูกยึดครองโดยรัฐบาลไซออนนิสต์อิสราเอลอย่างเต็มรูปแบบ (เป็นความร่วมมือของรัฐบาลอเมริกากับบริวาร) มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนเพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์ให้พ้นจากการยึดครอง

นายเมธา เมฆารัฐ รองประธานสภาสภาเครือข่ายมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี     ให้ทัศนะว่า “ปัญหาปาเลสไตน์ หรืออัลกุดส์ หรือเยรูซาเล็ม ถือเป็นปัญหาที่มีมานานนับแต่สมัยศาสดามูฮัมหมัดแล้ว มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาของการต่อสู้ที่ยาวนาน ปัญหานี้คล้ายๆ จะมองดูเป็นมิติของศาสนา แต่ปัจจุบันนี้ได้พัฒนาการเป็นปัญหาทางสังคม ปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศ และอาจจะบานปลายอย่างไม่มีที่สิ้นสุด”
จะเห็นได้ว่าในสื่อไทยจะพบว่ามุสลิมในประเทศส่วนใหญ่สนับสนุนให้การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและการปลดปล่อยปาเลสไตน์รวมทั้งอัลอักศอเป็นหน้าที่ของทุกคนทั่วโลก และควรจะได้รับความสนใจในระดับสูงสุด เพื่อย้ำเตือนและชี้ให้โลกเข้าใจว่าตราบใดที่ประวัติศาสตร์ความอยุติธรรมต่างๆ ที่ชาวปาเลสไตน์ได้รับยังคงรุนแรงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด การต่อสู้เพื่อชาวปาเลสไตน์ก็มีเหตุผลที่จะต้องคงอยู่ต่อไป

การต่อสู้ของมุสลิมมีพลวัตการต่อสู้และขับเคลื่อนมากว่า50 ปี จนกระทั่งสองสามปีนี้เริ่มเห็นทิศทางที่ชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะสามารถขับเคลื่อนเป็น “เครือข่ายการขับเคลื่อนเพื่อปลดปล่อยปาเลสไตน์” ภายใต้ “สภาเครือข่ายมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี” ซึ่งมีทั้งนักวิชาการ นักเคลื่อนไหว แกนนำสตรี เยาวชนและนักศึกษา เข้ามาร่วมขับเคลื่อนจนท้ายสุดสามารถร่างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนโดยมีทั้งวิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ พันธกิจ อันนำไปสู่การวางแผนการดำเนินงานดังนี้
วิสัยทัศน์
เป็นเครือข่ายประสานองค์กรเพื่อการทำงานและสร้างการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือปาเลสไตน์และการลดความหวาดกลัวอิสลาม
วัตถุประสงค์
1. เพื่อประสานเชื่อมโยงการทำงานสำหรับองค์กรภายในประเทศเพื่อการช่วยเหลือปาเลสไตน์
2. เพื่อติดตาม รวบรวม เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับปาเลสไตน์
3. เพื่อประสานการทำงานร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องในระหว่างประเทศ
พันธกิจ
1. การเป็นศูนย์ประสานงานองค์กรภายในประเทศในประเด็นปาเลสไตน์
2. การรวบรวม ติดตาม การพัฒนาและแลกเปลี่ยนความรู้ในประเด็นปาเลสไตน์
3. การสร้างความตระหนักรู้และเติมเต็มองค์ความรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาปาเลสไตน์ในสังคมไทย
4. การดำเนินกิจกรรมระหว่างประเทศในนามองค์กรของประเทศไทยในประเด็นปาเลสไตน์


ยุทธศาสตร์ มีการกำหนด
1. การประสานและขับเคลื่อนการทำงานกับองค์กรภายในประเทศอย่างมีเอกภาพเพื่อ
1.1 ประสานและหนุนเสริมการทำงานขององค์กรภายในประเทศในการดำเนินกิจกรรมด้านปาเลสไตน์
1.2 สร้างการใช้ทรัพยากรร่วมกันขององค์กรภายในประเทศเพื่อการดำเนินกิจกรรม
1.3 การพัฒนาบุคลากรขององค์กรภายในประเทศที่ทำงานด้านปาเลสไตน์
1.4 เกิดภาคีเครือข่ายการทำงานร่วมกับต่างศาสนิกในประเทศ
2. การจัดการและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อการขับเคลื่อนกิจกรรมปาเลสไตน์
2.1 การติดตาม และวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างการรับรู้และให้ความช่วยเหลือ
2.2 การพัฒนาองค์ความรู้ที่ส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพขององค์กรเครือข่าย
2.3 การสร้างการยอมรับของนักวิชาการด้านปาเลสไตน์ของไทยสู่สาธารณะ
3. การเผยแพร่ความรู้เพื่อสร้างความตื่นตัวด้านมนุษยธรรมและลดความหวาดกลัวอิสลาม
3.1 การสร้างช่องทางการรับรู้ข่าวสารของคนไทยต่อประเด็นปาเลสไตน์
3.2 การชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสาธารณะในประเด็นปาเลสไตน์อย่างทันท่วงที
3.3 การดำเนินกิจกรรมสาธารณะในประเด็นปาเลสไตน์
3.4 การระดมทุนเพื่อการดำเนินกิจกรรมปาเลสไตน์ในพื้นที่สาธารณะ
3.5 การดำเนินการศูนย์เพื่อการเรียนรู้ปาเลสไตน์
4. การทำงานร่วมกับเครือข่ายระหว่างประเทศอย่างมีเอกภาพ
4.1 การเป็นตัวแทนประเทศไทยในการทำงานร่วมระหว่างประเทศในกลุ่ม พันธมิตรอาเซียนเพื่อปาเลสไตน์ (ASEAN Coalition for Palestine – ACP)
4.2 การแสดงเจตจำนงในนามมุสลิมไทยต่อนานาประเทศในประเด็นปาเลสไตน์
จะเห็นได้ว่า ในแผนการขับเคลื่อนงานด้านนี้ องค์ความรู้มีความสำคัญมาก การแก้ปัญหาต้องใช้องค์ความรู้ ผ่านงานวิชาการ

ดร.ศราวุฒิ อารีย์ ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชีย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ทัศนะว่า “ในอดีต สังคมไทยรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปาเลสไตน์ผ่านนักวิชาการตะวันตก แต่ปัจจุบันนี้การสื่อสาร การข่าว มีความหลากหลายมากขึ้น และมีผู้ที่ติดตามสถานการณ์กรณีความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องปาเลสไตน์เพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นการรับรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาปาเลสไตน์ของสัมคมไทยและสังคมโลกมีเพิ่มมากขึ้น หลากหลายมากขึ้น” “อย่างไรก็ตามตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา เราจะเห็นได้ว่า การประชุมสัมมนาวิชาการในระดับนานาชาติเกี่ยวกับประเด็นปัญหาปาเลสไตน์ ยังไม่ค่อยเกิดขึ้นในประเทศไทย เพราะฉะนั้นศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชีย จึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เนื่องจากประเด็นปัญหาปาเลสไตน์มีความสำคัญ ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมานับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มันส่งผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของโลก” “ในขณะเดียวกัน นับตั้งแต่หลังสงครามเย็น เรามีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปาเลสไตน์น้อยมาก เท่าที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าความรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาปาสไตน์จะเกิดขึ้นในช่วงก่อนสงครามเย็น การต่อสู้กันระหว่างปาเลสสไตน์กับอิสราเอล หรืออาหรับกับอิสราเอล แต่ว่าปัจจุบันนี้มีสถานการณ์หรือมิติการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้องค์ความรู้ขาดตอนไป” ท่านยังเน้นว่า “อาจจะมีความรู้ในอดีต แต่องค์ความรู้ในสถานการณ์ปัจจุบันยังมีน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิเคราะห์แนวโน้มในอนาคต ยิ่งมีน้อยมาก”
ทำให้สภาเครือข่ายมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรีจัดสัมมนานานาชาติในไทยเช่น สัมมนาระดับนานาชาติภายใต้หัวข้อ “ผ่าวิกฤติปาเลสไตน์ : อดีต ปัจจุบัน และอนาคต” ในระหว่างวันที่ 22-23 พฤศจิกายน 2561 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยงานนี้
ดาโต๊ะศรีอันวาร์ อิบรอฮีม ว่าที่นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซีย ประธานพรรคความยุติธรรมเพื่อประชาชนมาเลเซีย ปาฐกถาพิเศษเรื่อง”ประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในอาเซียนและโลกมุสลิม” ซึ่งข้อความตอนหนึ่งท่าน
กล่าวว่า
“ในฐานะคนที่เคยผ่านการโดนทรมานทางร่างกายและจิตใจจนเกือบเอาชีวิตไม่รอดมาด้วยตัวเอง ผมเข้าใจดีถึงความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสและความกดดันของพี่น้องปาเลสไตน์ที่ต้องทนอยู่กับมันทุกวัน ว่ามันเลวร้ายเพียงใด และนั่นยิ่งทำให้การจัดงานสัมมนาวิชาการในประเด็นที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติมาก ๆ อย่าง “ปาเลสไตน์” แต่ได้รับพื้นที่สื่อน้อยเหลือเกินแบบงานวันนี้เป็นสิ่งจำเป็น


… ผมขอชื่นชมคณะผู้จัดงานในความกล้าหาญและความตั้งใจจริงของพวกท่านที่ทำให้งานนี้เกิดขึ้นได้บนแผ่นดินไทยที่ไม่ใช่ประเทศมุสลิมด้วยซ้ำ
… ผมขอชื่นชมคณะผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เห็นความสำคัญของมนุษยธรรม และกล้าอนุญาติให้จัดงานอันมีความสำคัญและละเอียดอ่อนยิ่งนี้ขึ้นในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นสถาบันหลักแห่งหนึ่งด้านการประสิทธิ์ประสาทความรู้ติดอาวุธทางปัญญาให้กับคนในประเทศ
… ผมขอชื่นชมรัฐบาลไทย ตลอดจนหน่วยงานความมั่นคง ที่ส่งตัวแทนมาอยู่ในงานทั้งสองวันนี้ ในความ“ใจกว้าง” และเคารพใน “ความหลากหลาย” ทางความคิดของคนในสังคม ที่อนุญาติให้งานในวันนี้เกิดขึ้นได้ และดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
ขออภัยที่วันนี้ผมอาจจะพูดด้วยอารมณ์ที่ดูจะหดหู่และโศกเศร้า แต่ด้วยความรู้สึกที่ “เป็นหนึ่งเดียวกัน” กับพี่น้องปาเลสไตน์ ไม่ว่าจะพูดเรื่องของพวกเขาที่ไหน ผมคงไม่สามารถพูดในอารมณ์รื่นเริงได้ เพราะสิ่งที่พวกเขาต้องเผชิญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันมันคือความโหดร้ายที่เกินกว่าเราจะจินตนาการได้”
“การสร้างการรับรู้ในเรื่องของปาเลสไตน์ในภาคประชาชนแบบที่เกิดขึ้นที่นี่ในวันนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งอนาคตของปาเลสไตน์ อนาคตของมนุษยธรรม จะเปิดอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับความเป็นหนึ่งเดียวกันของทุกคน ทุกฝ่าย ทุกชาติ และศาสนาที่ยืนอยู่ข้างความถูกต้อง ที่จะลุกขึ้นมา “สร้างความเปลี่ยนแปลง” ในสิ่งที่เราทำได้อย่างสันติ ด้วยมือของพวกเราเอง”
(โปรดดูhttps://tangnamnews.wordpress.com/2018/11/24/%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AA/)
ไม่เพียงเท่านั้นทางเครือข่ายได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมสัมมนานานาในประเด็นหลายแห่งทั่วโลกเช่น การประชุมนานานาชาติเพื่อพิทักษ์มัสยิดอัลอักซอ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 23-24 มีนาคม 2562 (ผู้เขียนเข้าร่วมด้วยโปรดดูรายงานสัมมนาได้ที่ https://www.facebook.com/MAPIMMalaysia/videos/1036166966583068?sfns=mo)
นอกจากเวทีสัมมนานาชาติทางเครือข่ายได้จัดเวทีให้ความรู้ตามมหาวิทยาลัยต่างในประเทศเช่น มหาวิทยลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตปัตตานีและหาดใหญ่) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งความท้าทายต่อไปคือจะทำอย่างไรให้การเผยแผ่ความรู้สู่ชุมชน อันเป็นโจทย์ใหญ่ มากๆพอๆกับการจะอธิบายปัญหานี้ไม่เฉพาะกับมุสลิมเท่านั้นแต่ต้องสังคมต่างศาสนิกด้วยเพื่อให้เห็นถึงปัญหานี้ว่ามันไม่ใช่เรื่องมุสลิมแต่มันเป็นวิกฤติการกดขี่ด้านมนุษยธรรม เหมือนๆกับองค์กรภาคประชาสังคมประเทศอื่นๆโดยเฉพาะมาเลเซียที่รวมผู้คนจากทุกสาขาอาชีพและชาติพันธ์ ศาสนา (ทัศนะของหมออารีฟีนหรืออนันตชัย ไทยปาทานหลังจากร่วมเวที การประชุมนานานาชาติเพื่อพิทักษ์มัสยิดอัลอักซอ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 23-24 มีนาคม 2562)
___
หมายเหตุ บทความผู้เขียนเกี่ยวกับปัญหาปาเลสไตน์ที่ได้รับการตีพิมพ์
1. 2018 ทรัมป์จะฝืนหนุนเสียงส่วนน้อยใน UN หรือแคร์เสียงส่วนใหญ่ ?
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12 – 18 มกราคม 2561

2018 ทรัมป์จะฝืนหนุนเสียงส่วนน้อยใน UN หรือแคร์เสียงส่วนใหญ่ ?


2.ทำไมอเมริกาจึงหมดชอบธรรมในเป็นคนกลางกระบวนการสันติภาพปาเลสไตน์เเละอิสราเอล
21 ธันวาคม 2560
https://deepsouthwatch.org/th/node/11541
3.ปัญหาปาเลสไตน์-อิสราเอล ผลกระทบกับปัญหาภาคใต้
5 มกราคม 2552
https://prachatai.com/node/19581/talk
4.ปัญหาปาเลสไตน์-อิสราเอลครั้งใหม่จุดประทุการก่อการร้ายปี 2552
http://www.thaingo.org/writer/16_index.php
http://gamekittipong07.blogspot.com/2012/07/2552.html
5.รวบรวบรายงาน/บทความผู้เขียนการต่อสู้ปาเลสไตน์-อิสราเอล ปี64
5.1 #อิสลามมิได้ต่อต้านคนยิวเพราะเขานับถือศาสนายูดาย #ต้องแยกแยะระหว่างคนยิว คนอิสราเอล รัฐบาลอิสราเอลและขบวนการยิวไซออนิสต์/ อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ http://spmcnews.com/?p=40026
5.2 #สองภาพประวัติศาสตร์ สองความรู้สึก“เลสเตอร์ ซิตี้” คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ ในรอบ 137 ปี ท่ามกลางการปิดกั้นของเฟสบุ๊ก/อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์/ http://spmcnews.com/?p=40114
5.3 #มองฮามาสผ่านงานวิชาการ นักวิชาการมุสลิมไทย

#มองฮามาสผ่านงานวิชาการ นักวิชาการมุสลิมไทย


5.4 #การเมืองสองหน้าอเมริกาในยุคไบเดนโดยไม่ฟังเสียงประชาคมโลก/โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์/http://spmcnews.com/?p=40205

5.5 การเมืองเรื่อง ถ้อยคำ แฝดคนละฝา “ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์” กับ ที่ชายแดนภาคใต้/ปาตานี/อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ http://spmcnews.com/?p=40247
5.6 เกาะติดสถานการณ์ ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ “แม้รัฐบาลสหรัฐสนับสนุนอิสราเอล แต่ประชาชนผู้รักความเป็นธรรม ยืนเคียงข้าง ปาเลสไตน์”/อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์/http://spmcnews.com/?p=40319
5.7 ด่วน “อิสราเอลและฮามาสบรรลุข้อตกลงหยุดยิงเริ่มเช้ามืดวันศุกร์ท่ามกลางการฉลองชัยของชาวปาเลสไตน์”อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์/http://spmcnews.com/?p=40342
5.8 ด่วน:ไม่ถึง 24 ชม.ยิวละเมิดสัญญาสะท้อนพฤติกรรมในอดีตที่ชอบละเมิดสัญญา/ อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์/ http://spmcnews.com/?p=40374/

 6,154 total views,  2 views today

You may have missed