พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

#มองฮามาสผ่านงานวิชาการ นักวิชาการมุสลิมไทย

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่านขบวนการฮามาส (Hamas) คำคำนี้ดังมากๆช่วงสัปดาห์นี้ในสื่อไทยและเทศอีกครั้งหนึ่ง หลังเป็นขบวนการที่กล้าต่อกร ต่อสู้ทางอาวุธ ตอบโต้ยิงจรวดไปมากับอิสราเอล
ขบวนการฮามาส (Hamas) เป็นคำภาษาอาหรับซึ่งเป็นคำย่อมาจากคำว่า Ḥarakat al-Muqāwamat al-Islāmiyyah, ในขณะที่ภาษาอังกฤษนั้นจะใช้คำว่า “Islamic Resistance Movement” ซึ่งโดยความหมาย แล้วแปลว่า “ขบวนการอิสลามเพื่อการต่อต้าน” ในขณะที่คำว่าฮามาส (Hamas) แปลว่า ขวัญ กำลังใจ ความกระตือรือร้น และเร้าร้อน

ขบวนการฮามาสก่อตั้งเป็นทางการ เมื่อ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1987 ภายใต้การนำของอัชชะฮีด เชคอะห์หมัด ยาซีน ซึ่งเป็นผู้นำทางจิตวิญญาน แต่ถูกลอบสังหารโดยอิสราเอลในปี 2004
เคยกล่าวว่า “เราไม่ได้เกลียดชาวยิว เราไม่ต่อสู้เพราะเขาคือยิว เขาเป็นชาวคัมภีร์ เราก็เป็นชาวคัมภีร์ แต่ยึดบ้านของฉันและขับไล่ฉันออกไปจนทำให้ฉันและพี่น้องปาเลสไตน์ของฉันต้องเป็นผู้ลี้ภัย พวกเราจึงต้องปกป้องต่อสู้เพียงเพื่อให้เขาเพียงแค่คืนสิทธิแก่พวกเราเท่านั้นไม่มีอะไรมากไปกว่านี้ ”

สำหรับรายละเอียดของขบวนการนี้ในเชิงวิชาการนั้น ดร.อับดุลรอนิง สือแตและดร.ซาฟิอี อาดำ จากคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตปัตตานี) ได้สรุป ไว้ สามประการ
1)เป็นขบวนการที่วิวัฒนาการต่อเนื่องมาจากขบวนการภราดรภาพมุสลิมที่เคลื่อนไหว ฟื้นฟูอิสลามมาช้านาน ทั้งสองมีฐานมวลชนที่เข้มแข็ง มีเป้าหมายและบทบาทในการรณรงค์ต่อต้าน อิสราเอลและเรียกร้องดินแดนที่ถูกยึดครองกลับคืนมา เพียงแต่ฮามาสเป็นการต่อยอดที่เข้มข้นยิ่งขึ้นใน ด้านปฏิบัติการต่อต้านและต่อสู้กับรัฐอิสราเอลมาตั้งแต่แรกเริ่ม 2) ในด้านโครงสร้างฮามาสมี ประสบการณ์การจัดการองค์กรและการต่อสู้กับอิสราเอลมายาวนาน จึงมีองค์ประกอบแบบรัฐค่อนข้าง สมบูรณ์ เช่น ฝ่ายบริหาร ฝ่ายการเมือง ฝ่ายเศรษฐกิจ (ฝ่ายการกุศล) ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่าย ต่างประเทศ ฝ่ายกิจการทหาร นอกจากนี้ ยังมีหน่วยรบอิซซัดดีน อัลก็อซซาม หน่วยงานลับ และหน่วย คอมมานโด ทุกฝ่ายปฏิบัติการแตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายเหมือนกัน คือการต่อสู้เพื่อเรียกร้องดินแดนที่ ถูกอิสราเอลยึดครองกลับคืนมาและฟื้นฟูระบอบอิสลามในปาเลสไตน์ ในปี ค.ศ. 2006 ฮามาสได้รับชัย ชนะการเลือกตั้งทั่วไปในเขตกาซ่าและเวสต์แบงก์เป็นครั้งแรก จึงได้จัดตั้งรัฐบาล แม้รัฐบาลใหม่ขาด เสถียรภาพเนื่องจากความขัดแย้งและแตกแยกภายในอย่างรุนแรงก็ตาม แต่ฮามาสก็สามารถตั้ง สานักงานปกครองแห่งชาติปาเลสไตน์ขึ้นได้ในเขตกาซ่า พัฒนาการทางการเมืองใหม่นี้ได้ส่งผลให้ โครงสร้างขบวนการเปลี่ยนไปในลักษณะที่ก้าวหน้า ซับซ้อน พร้อมกับมีศักยภาพมากยิ่งขึ้น 3) ด้านอุดมการณ์ ฮามาสไม่ได้เป็นศัตรูกับชาวยิวสืบเนื่องจากศาสนา แต่เพราะฮามาสมองอิสราเอล ด้วยความเชื่อพื้นฐานว่าอิสราเอลได้เข้ายึดครองดินแดนที่เป็นของชาวปาเลสไตน์และอิสลามมาแต่เดิมการยอมรับอิสราเอลคือการปฏิเสธความถูกต้องของอุดมการณ์ของตนเองที่ไม่อาจอ้างความชอบธรรมได้ ในอิสลาม ฉะนั้นฮามาสจึงใช้วิธีการญิฮาดในการต่อสู้กับขบวนการยิวไซออนิสต์และอิสราเอล

#อ่านเพิ่มเติมบทความวิชาการ#https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/download/168835/121490/
นอกจากนี้ผู้เขียนเคยเขียนบทความการต่อสู้ของขบวนการฮามาสกับอิสราเอลเมื่อปี พ.ศ.2552
(อ่านเพิ่มเติมใน http://oknation.nationtv.tv/blog/shukur/2009/01/17/entry-1)

 10,194 total views,  4 views today

You may have missed