พฤษภาคม 18, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เปิดพื้นที่การเมืองปลอดภัย : ความท้าทายด้านการสื่อสารในวิกฤตการเมืองไทย(ตอนที่2 )

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
หลังจากผู้เขียนเขียนบทความ
บทสะท้อน :ไทยรัฐกับการเปิดพื้นที่ทางการเมือง “ภายใต้ความขัดแย้งสองชุด” (ตอนที่ 1)อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์/http://spmcnews.com/?p=34789) ซึ่งสะท้อนความสำคัญของการพื้นที่ทางการเมืองปลอดภัยในการหาทางออกวิกฤตทางการเมืองไทย สอดคล้องกับ ทัศนะ

ดร.เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช ผู้อำนวยการสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “การเปิดพื้นที่ปลอดภัยเป็นหนึ่งในกระบวนการสร้างสันติวิธีให้เกิดขึ้นกับผู้ที่มีความเห็นต่าง ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนพูดคุยถึงความต้องการ และข้อเรียกร้อง รวมไปถึงข้อเสนอต่าง ๆ ซึ่งอาจสามารถพัฒนาไปสู่จุดร่วมที่ทุกฝ่ายจะขับเคลื่อนภายใต้ระบอบประชาธิปไตย”
อย่างไรก็แล้วแตการสื่อสารต่อเรื่องนี้ในยุคปัจจุบันของคนสองวัยสองแนวคิดก็มิใช่เรื่อง ง่าย มันเป็นความท้าทายมากๆ

สำหรับความท้าทายของสื่อ ยุค ปัจจุบันท่ามกลางความขัดแย้งสถานการณ์พบว่า
1. สื่อขนาดใหญ่จะเหลือน้อยลง
2. Privacy & Security ความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยมีความสำคัญอย่างมาก
3. ความรวดเร็วกับการแข่งขันของสื่อ
4. ผู้เล่นใหม่ในวงการสื่อ โดยเฉพาะที่รู้จักกันในชื่อของ อินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) บล็อกเกอร์ (Blogger) ยูทูบเบอร์ (Youtuber) รวมทั้ง ผู้ใช้ TikTok
5.Fake News (https://m.youtube.com/watch?v=9kfjp09v5bc#dialog)
ตัวอย่างวิธีตรวจสอบข่าวปลอม (Fake News )
โปรดดู(https://m.youtube.com/watch?v=p-PtKBqXKZI)
6.ความขัดแย้งในสังคม
7. Two – way Communication การสื่อสารสองทางเพื่อให้บุคคลภายนอกสามารถแสดงความเห็นได้ ทำให้คนสื่อสารเสมอกันในแนวนอน สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักนำไปสู
ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป
(โปรดดูรายละเอียดใน

ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป กับ ความท้าทายคนทำสื่อชายแดนภาคใต้ ช่วง 5 ปีหลัง


อย่างไรก็แล้วแต่ดร.พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์
จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล เช่นกันให้ทัศนะว่า
“ในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารทำลายพรมแดนของสรรพสิ่ง และเชื่อมต่อถึงกันได้อย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้คนสื่อสารเสมอกันในแนวนอน และโลกคงจะไม่ย้อนกลับไปยุคดึกดำบรรพ์ที่การสื่อสารมีข้อจำกัดในวงแคบจะใช้เวลานานอีกต่อไปแล้ว
เทคโนโลยีและโลกยังคงหมุนไปข้างหน้า เช่นเดียวกับการเวลาและการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยที่ก็หมุนไปข้างหน้าเช่นกัน เขียนจดหมายบนกระดาษ สื่อสารผ่านโลกออนไลน์ทั่วโลกเห็นได้แทบจะไม่มีจังหวะดีเลย์ สื่อสารจะสัมฤทธิ์ผล กระบวนการต้องครบ S M C R (หลักการสื่อสารค่ะ Sender- ผู้ส่งสาร Media-สื่อ Channel- ช่องทาง Receiver-ผู้รับสาร)หากคนรับสารเปิดใจรับและสื่อสารกลับ”
เมื่อเป็นเช่นนั้น การรายงานข่าวเพื่อมิให้ขยายความเกลียดชังแต่หนุนเสริมสันติภาพจะเกิดขึ้นมาได้นั้น สิ่งที่สําคัญคือ กระบวนการ เตรียมการเพื่อรายงานข่าวซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะสําคัญของนักข่าวคือ 3F (Fact-Fast-Faith)และองค์ความรู้จากการวิจัย นี้ได้แก่ MIM หมายถึง Mindset ชุดความคิด ประกอบด้วยความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรม Inner-Peace มีสันติภายในปรารถนาให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องและ สันติสุขในสังคม และ Multi-Skill การมีทักษะที่หลากหลายในยุคดิจิทัล ทั้งการคิดประเด็น การใช้ เทคโนโลยีใหม่ๆเช่น การถ่ายคลิปประกอบข่าว รวมถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆเพื่อนํามาประกอบการนําเสนอ ข่าวสารให้เกิดความเข้าใจ ถูกต้อง ครบถ้วนและมีความน่าสนใจด้วย เพื่อทําให้เกิดกระบวนสันติภาพได้ อย่างแท้จริง แต่จําเป็นต้องให้เวลาในการขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดสันติภาพจากการนําเสนอข่าวที่ให้ความรู้ และพัฒนาผู้อ่าน นําไปสู่สังคมอุดมปัญญา และมีสติเป็นฐาน
(อ้างอิงจาก งานวิจัยเรื่องวิกฤตสื่อในสังคมไทย: การศึกษาและการพัฒนารูปแบบ
การรายงานข่าวสันติภาพโดยพุทธสันติวิธี :ดูใน
. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/download/182933/138992/

อนึ่งอีกหนึ่งตัวอย่างที่ในการหาทางออกทางการเมืองไทยสอดคล้องกับ
“​พื้นที่กลางเยาวชนผ่านสื่อคือทางฝ่าวิกฤตการเมืองไทย:เสียงสะท้อนเวทีไทยพีบีเอสภาคใต้/อุสตาซอับดุชชะกูร บินชาฟิอีย์/http://spmcnews.com/?p=34418

 623 total views,  2 views today

You may have missed