เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป กับ ความท้าทายคนทำสื่อชายแดนภาคใต้ ช่วง 5 ปีหลัง

แชร์เลย

อจ.อับดุลสุโก ดินอะ  /รพี มามะ บรรณาธิการข่าว รายงาน…

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ธรรมศาสตร์ ร่วมกับชมรมสื่อมวลชนเพื่อสันติ จังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาประชาสังคมชายแดนใต้ และ เครือข่ายสื่อในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดประชุม โครงการวิจัยสื่อกับการขับเคลื่อนทางสังคมเพื่อสันติภาพ : การลดทอนอดติและความเกลียดชังต่อพื้นที่และผู้คนในชายแดนใต้

โครงการพัฒนาศักยภาพและทักษะนักสื่อสารในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้  (31 ส.ค.- 1 ก.ย. 62) ณ โรงแรมซีเอส จังหวัดปัตตานี มีความคิดเห็นตรงกันว่า ช่วง 5 ปีหลังนี้ “การพัฒนาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ซึ่งระบุถึงการเข้ามาของเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดของสังคมไทย จนทำให้สังคมไทยปรับตัวไม่ทัน ทำให้ เรากำลังประสบกับปัญหา Fake News อย่างหนัก    ในส่วนการนำเสนอข้อมูลข่าวสารก็ผ่านทางแพลตฟอร์มต่างๆ ทั้งสื่อดั้งเดิมที่เป็นสื่อหนังสือพิมพ์ ซึ่งพยายามปรับตัวสู่ออนไลน์ แต่ก็ต้องพบกับปัญหา ทั้งนี้ ในการปรับตัวของสื่อหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์โดยเฉพาะภูมิภาคนั้น กำลังประสบปัญหาการดำเนินกิจการหลังการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อ”

ขณะที่สื่อออนไลน์เองนั้น  “ เทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาเพื่อ Disruption (การหยุดชะงัก) ดังนั้น Digital Disruption ก็คือสภาวะที่ธุรกิจถูกทำให้หยุดชะงักในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเกิดจากการพัฒนาเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด, การไม่พัฒนาในตัวองค์กร หรือการมี “Disruptive Challenge” (ผู้เข้ามาแข่งขันในธุรกิจในยุคดิจิทัล) เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ได้เข้ามาในโลกธุรกิจมากขึ้นและทำให้เกิดการสั่นสะเทือนในวงการธุรกิจเป็นอย่างมาก ตัวอย่างธุรกิจที่ถูก Disruption ที่เรารู้จักกันดีในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น Amazon, Alibaba , Netflix, Hulu Plus, Spotify ทำให้วงการสื่อและวงการบันเทิง หรือแม้แต่การค้าขายต้อง “หยุดชะงัก” โดยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่เหล่านี้ เข้ามาเปลี่ยนวิถีการเข้าถึงของผู้บริโภค และสร้างรายได้จากการลงโฆษณาของผู้ที่จะโฆษณาในแพลตฟอร์มนั้นๆ

 เทคโนโลยีไม่ได้เข้ามาเพื่อ Disruption แต่เข้ามาเพื่อให้สามารถตรวจสอบความจริงของข้อมูล และเปลี่ยนแพลตฟอร์มการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อจากเดิมที่เป็น One – way Communicationการสื่อสารทางเดียว เป็น Two – way Communication การสื่อสารสองทางเพื่อให้บุคคลภายนอกสามารถแสดงความเห็นได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มมูลค่าของสื่ออีกด้วยโดยเฉพาะสื่อที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งที่ชายแดนใต้กว่า 15 ปี

ดังนั้นขณะนี้วงการสื่อกำลังอยู่ในห้วงของการตบให้เข้าที่เข้าทาง ยอมรับว่ามัน(ส่วนหนึ่ง)เป๋ไปเยอะมาก ด้วยเรื่องของสถานการณ์และการแข่งขันที่เกิดขึ้นมากมาย จึงฝากให้สื่อทุกคนรักในอาชีพอาสื่อ ยึดมั่นจรรยาบรรณ  และทุกครั้งที่ทำอะไรก็ขอให้คำหนึ่งว่าเราจะทำหน้าที่หน้าที่ของเราให้ดีที่สุดมันจึงเป็นความท้าทายคนทำสื่อชายแดนภาคใต้ภายใต้ภูมิทัศน์สื่อฯที่เปลี่ยนไป

ความท้าทายดังกล่าวส่วนหนึ่งก็คือคนทำสื่อเองต้องเตรียมอะไรบ้างเช่นการเท่าทัน ไม่ว่าจะเป็นระดับความรู้ที่เท่าทันสื่อ มิติของการรู้เท่าทันสื่อและปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้เท่าทันสื่อภายใต้ภูมิทัศน์สื่อในยุคดิจิทัล

 การพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งสองวันนี้ทำให้ได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะใช้เพิ่มระดับความรู้เท่าทันสื่อของคนทำสื่อและผู้บริโภคตลอดจนความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากความรู้เท่าทันสื่อเพื่อส่งเสริมการกำกับดูแลตัวเองของสื่อและผู้บริโภค

ผลจากการศึกษาด้วยวิธีสนทนากลุ่มยืนยันเรื่องความรู้เท่าทันสื่อค่อนข้างต่ำของผู้เข้าร่วมสนทนา และให้ภาพภูมิทัศน์สื่อโทรทัศน์ในมุมของผู้ร่วมสนทนา ส่วนที่สาม ประเด็นที่ควรได้รับความสำคัญสำหรับการสร้างความรู้เท่าทันสื่อให้ผู้ใช้สื่อโทรทัศน์ ได้แก่ 1) ผู้ใช้สื่อขาดความรู้เท่าทันสื่อ โดยเฉพาะในมิติเรื่องภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนแปลงไป 2) ผู้ใช้สื่อไม่ตระหนักถึงความสำคัญ และความจำเป็นของการรู้เท่าทันสื่อ 3) ผู้ใช้สื่อมีพฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์เนื้อหารายการไม่หลากหลาย และเน้นรับชมรายการบันเทิงและรายการเล่าข่าวเป็นหลัก 4) ปัจจัยแวดล้อมทางสังคมของผู้ชมที่ไม่ส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่จะใช้เพิ่มระดับความรู้เท่าทันสื่อของคนไทยภายใต้ภูมิทัศน์สื่อโทรทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป ที่ได้จากการศึกษามี 5 แนวทางดังนี้ 1) ให้ความรู้เรื่องความรู้เท่าทันสื่อ 2) พัฒนาทักษะความรู้เท่าทันสื่อและสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ 3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและเป็นพลเมืองที่กระตือรือร้น 4) จัดตั้งองค์กรผู้บริโภคสื่อโทรทัศน์ 5) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มระดับความรู้เท่าทันสื่อของผู้ชมโทรทัศน์ ข้อเสนอเชิงนโยบายอื่นคือ การใช้ประโยชน์จากความรู้เท่าทันสื่อเพื่อส่งเสริมการกำกับดูแลตัวเองของสื่อโทรทัศน์ไทย โดยให้มีการกำกับดูแลสื่อจากสามภาคส่วน ภาครัฐ ภาคองค์กรวิชาชีพและภาคประชาชนอย่างสมดุล และใช้ความรู้เท่าทันสื่อเป็นกลไกหนึ่งในการกำกับดูแลสื่อ

อย่างไรก็ ถ้าย้อนดู จากรายการข่าวส่วนใหญ่ที่ถูกนำเสนอผ่านทางรายการโทรทัศน์ มักนำเสนอข่าวในรูปแบบที่เข้าใจยาก ใช้ภาษายากเกินไปสำหรับคนรุ่นใหม่ ทำให้เราต้องกลับมาตกผลึกถึงความต้องการของตนเองว่าทำอย่างไรถึงจะนำเสนอข่าว ในความหลากมิติ ที่เด็ก หรือ คนรุ่นใหม่ควรจะรู้ ให้เขาฟังสามารถเข้าใจได้ง่ายและไม่น่าเบื่อ จึงเกิดเป็นรายการบนโลกออนไลน์ที่ใช้ภาษาง่าย ๆ ในการเล่าข่าวเหล่านั้นที่เข้าถึงคนทุกเพศทุกวัย และเข้าใจง่าย ถึงแม้จะเป็นประเด็นที่ร้อนแรงและหนักหน่วง ก็ต้องหาวิธีในการนำเสนอให้น่าสนใจเป็นที่น่าติดตาม

ปัจจุบันธุรกิจสื่อสารมวลชน อาทิ โทรทัศน์ มีการแข่งขันสูงมาก สิ่งที่จะทำให้องค์กรสื่ออยู่รอดได้ต้องวัดจากเนื้อหารายการหรือคอนเทนต์ เป็นหลัก ความนิยม นี่คือความท้าทายทำอย่างไรให้คอนเทนต์ตอบโจทย์คนดู คนชมมากที่สุด อย่างไรก็ตามคนดูก็ต้องมีบทบาทในการเรียกร้องความต้องการของตนเองว่าอยากได้คอนเทนต์แบบไหน อยากดูอะไรมากขึ้นด้วยเช่นกัน

 ในยุค Digital Disruption ที่ทำให้สื่อในโลกออนไลน์ มีช่องทางนำเสนอมากขึ้น สื่อเล็กๆ อาจมาเทียบสื่อใหญ่ๆ ในยุคดิจิตอลได้ จากการปรับตัว สร้างและป้อนข่าวสาร สร้างสีสันให้ผู้คนติดตามชม อาจนิยามถึง เรตติ้ง คนดูชอบ คนติดตาม แต่ทั้งนี้ ผู้ผลิตสื่อ ควรคำนึงถึงจรรยาบรรณ ต่อสิ่งที่นำเสนอ ควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคมเสมอ (ดูรูปบรรยากาศในวันงาน)

//////////////////////////////////////////

 972 total views,  2 views today

You may have missed