เมษายน 24, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ว่าด้วยภาษา “มะลายู_มลายู”ในสยาม-ไทย ฉบับกระชับ

แชร์เลย

สมัยอยุธยา-เคยเป็นภาษาทางการทูต การค้า
สมัยรัชกาลที่ 5 -เคยเป็นภาษาบนธนบัตรแลกเปลี่ยนซื้อขาย
สมัยรัชกาลที่ 7-8 เคยเป็นภาษาในการเขียนพินัยกรรมและกีตาบในบางกอก อาทิกีตาบที่รังสรรค์โดยอูลามะฮบางกะปิริมคลองแสนแสบร่วมกับอูลามะฮปากลัด ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา(ดูภาพประกอบภาพสุดท้ายของโพสต์)
และภาษา “มะลายู_มลายู” เคยได้รับการพัฒนาให้เป็นตำรา/คู่มือในระดับวิชาการที่เผยแพร่ในสังคมสยามก่อนการเกิดขึ้นของกระทรวงศึกษาธิการเสียอีก

หนึ่งในตัวอย่างชั้นดีของพัฒนาการภาษามะลายูในสยาม

“สมุดคู่มือ ภาษามะลายู”(พ.ศ. 2475 อายุพอๆกับการปป.การปกครองเลย) คู่มือภาษามะลายูที่สื่อสารด้วยภาษาไทยที่มีความละเอียดทั้ง เรื่องไวยากรณ์ ชนิดของคำ วิธีการอ่าน คำนับ สำเนียง การแต่งประโยค คำแทนชื่อ รวมทั้งคำในแวดวง/สาขาอาชีพต่างๆ ที่นับได้ว่าเป็นคู่มือที่ มีความ “ก้าวหน้า”มากในยุคนั้น ทั้งบรรจุคำศัพท์ที่ว่าด้วยมนุษย์และวงญาติ ดิน น้ำ โลก ธรรมชาติ พืช ผลไม้ สัตว์ แมลง แร่ธาตุ และอื่นๆ ที่น่าทึ่งคือมีการบรรจุศัพท์ในภาษามะลายู_มลายูที่เกี่ยวข้องกับศาสนา อาหาร โรคภัย อวัยวะ ตลอดจน บ้าน เรือและเครื่องเรือน รวมทั้งภาษามะลายู_มลายูที่ใช้เกี่ยวกับชาติ บ้านเมือง วิชาชีพต่างๆ การค้า ทหาร อาวุธ การแพทย์ การเดินทางทางเรือ ในรถไฟ ในเหมืองแร่ ในการเขียนจดหมาย และอื่นๆ ดูรายละเอียดได้จากภาพสารบัญที่นำมาโพสต์ นับว่าละเอียดจริงๆครับ

เป็นผลงานที่ผ่านการรวบรวมและเรียบเรียงของท่าน รองอำมาตร์ตรี “ยุโซะ มะโรหบุตร” หรือ ขุนจรรยาวิธาน ซึ่งทำงานร่วมกับราชบัณฑิตสยามในสมัยนั้น เป็นคู่มือภาษามะลายู_มลายูคุณภาพสูงในระดับที่ตีพิมพ์จำหน่ายโดยกระทรวงธรรมการก่อนการเกิดหรือการเปลี่ยนมาเป็นกระทรวงศึกษาเสียอีก

MashaAllah บรรพบุรุษชาวปัตตานีเราเก่งมิใช่น้อย

น่าสงสัยทำไมเวลาผ่านไปภาษานี้น่าจะก้าวหน้า ใช้การได้อย่างแพร่หลายมากขึ้น แต่บางส่วนก็มองว่าถดถอย(โดยเฉพาะการใช้อักษรยาวี) บางฝ่ายก็มั่นใจว่ายังได้รับการอนุรักษ์และยังปรับใช้อยู่ทุกวันทั้งในปอเนาะ ในหมู่บ้าน ในสนง.ราชการ และภาควิชาภาษามลายูในมหาวิทยาลัย

ที่มาของข้อมูล : เว็บ K4DS
ที่มาของหนังสือ : จากคลังความรู้ของท่านปรมาจารย์หนังสือโบราณ หนังสือหายากแห่งมุสลิมสยาม ท่าน Samarn Ungamsin ขออัลลอฮทรงตอบแทนความดีของท่านครับ

 

ลองโหลดอ่านดูครับ
http://k4ds.psu.ac.th/ebook/pdf/b041.pdf

อาแบเฮง ฆอเลาะฮ
เรียบเรียง

 1,412 total views,  4 views today

You may have missed