เมษายน 19, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ศูนย์ประสานนี้(สส.ชายแดนภาคใต้)ควรไปต่อทำไมอย่างไร?

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ส.ส.ชายแดนใต้ทั้งฝ่ายรัฐบาล-ค้านารอภิปราย พรก.3 ฉบับเพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ระบาดไวรัสโควิด-19ได้ดีไปในแนวทางเดียวกันเป็นผลมาจากการจับมือร่วมกันของการทำงานทางการเมืองเพื่อแก้ปัญหาโควิด-19 ในพื้นที่อย่างสร้างสรรค์คำนึงถึงความเดือดร้อนประชาชนคนกาคะแนนเข้าสภาแม้จะต่างพรรคและที่สำคัญต่างขั้วการเมืองที่เป็นกำแพงระหว่างพรรครัฐบาลกับฝ่ายค้านมาก่อนการอภิปราย
สุวรา แก้วนุ้ย ฐานะนักวิชาการที่ทำงานในพื้นที่คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้สะท้อนเรื่องนี้ได้ดีว่า “
ในวันที่ทุกคนเดินข้ามเส้นแบ่งฝ่ายทางการเมือง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อท้ังด้านสาธารณสุข สังคม และเศรษฐกิจทุกพื้นที่ในสังคมรวมถึงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นพื้นที่การระบาดที่รุนแรงในประเทศไทย

นอกจากน้ีสภาพทางสังคม ที่มีความหลากหลายทางศาสนาและวัฒนธรรม รวมทั้งปัจจัยพื้นฐานทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองทําให้เกิดความซับซ้อน เหลื่อมล้ำ แบ่งแยก และส่งผลกระทบต่อการวางแผนรับมือการระบาดและการควบคุมโรคในพื้นที่อย่างมีนัยยะสำคัญ ฝ่ายการเมืองจากทั้ง 4 พรรคการเมืองในพื้นที่จึงมีการหารือร่วมกันเพื่อร่วมกันทำงานในบทบาทการของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ทํางานก้าวข้ามความเป็น พรรคการเมืองฝ่ายค้าน หรือพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล ไปสู่ฝ่ายเดียวกันคือ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เดินเคียงข้างประชาชน จนนำไปสู่การก่อตั้งศูนย์ประสานงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ขึ้นมา จนนำไปสู่รายงานผลการดำเนินงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในห้วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ได้สื่อสารต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสื่อมวลชนในวันเปิดสภาฯ และยังเป็นนวัตกรรมทางสังคมที่พวกเราทุกคนสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ และวันนี้การเมืองไม่ใช่แค่เรื่องว่าคุณเป็นคนของใคร แต่นี่คือการเปิดพื้นที่ให้เห็นว่า นักการเมืองทุกคนคือคนของประชาชน ที่มาจากประชาชน”


ในภาพรวมชายแดนภาคใต้มีปัญหาวิกฤตชายแดนภาคใต้ซ้อนทับวิกฤติโควิด-19 มีการใช้กฎหมายพิเศษ ยาวนานกว่า 15 ปีซ้อนกับการต่ออายุพรก.อีก1 เดือนของรัฐบาล โดยอ้างความมั่นคง มีเรื่องการตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือแม้แต่ทนายอาดิลัน อาลีอิสเฮาะจากพรรคพลังประชารัฐของท่านนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ ได้ตั้งข้อสังเกต มีเรื่องแรงงานไทยในมาเลเซียนับหมื่นๆคนที่ต้องตกงานซึ่งในอดีตนำเงินตราเข้าประเทศนับร้อยล้านบาทต่อปีช่วยผยุงเศรษฐกิจในพื้นที่ทั้งที่เศรษฐกิจภาพรวมไทยไม่ดีอันเป็นการช่วยลดภาวะแทรกซ้อนวิกฤตชายแดนใต้ ปัญหาความเลื่อมทางด้านการศึกษาซึ่งผู้เขียนได้ร่วมประชุมกับตัวแทนการจัดการศึกษาภาคประชาชน เมื่อ 8 มิถุนายน 2563 (โปรดอ่านเพิ่มเติมใน สส.ชายแดนใต้ลงพื้นที่เพื่อฟังข้อเสนอแนะก่อนเปิดเรียนหลังโควิด-19/อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ http://spmcnews.com/?p=30501
)มีเรื่องความขัดแย้งของคนในพื้นที่ในโครงการอภิมหาโปรเจกต์ที่รัฐอนุมัติก่อนถามประชาชนอย่าง “จะนะเมืองอุตสาหกรรมก้าวหน้า”
ดังนั้นศูนย์ประสานงานนี้ควร/ต้องอยู่ต่อเพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ประชาชนสามารถสะท้อนการแก้ปัญหาและพัฒนาชายแดนภาคใต้ซึ่งช่วงท้ายสรุปผู้บริหารของหนังสือ “
รายงานผลการดำเนินงานการให้ความช่วยเหลือประชาชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ในห้วงการระบาดของไวรัสโควิด-19 “กล่าวว่า
“…นับเป็นนวัตกรรมทางสังคม…”

หมายเหตุอ่านฉบับเต็มใน
https://drive.google.com/file/d/1jIMTm0-kfhEyXlylpmTglV_E8nKzYf3h/view

 1,346 total views,  6 views today

You may have missed