อับดุลสุโก ดินอะ/รพี มามะ รายงาน…(บรรณาธิการ)
ปัญหายาเสพติด จริงๆ แล้ว ผู้เขียนเห็นว่า ไม่ใช่ปัญหาใหม่ แต่เป็นปัญหา ที่มีแพร่ระบาดทุกพื้นที่ของไทย สร้างผลกระทบ ต่อครอบครัว เยาวชน และประชาชน ในสังคมไทย และโยงถึงสถานการณ์ใต้ หรือไฟใต้ ตลอดระยะเวลา 15 ปี ตั้งแต่เกิดสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลายปี ทำให้มีบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก งบประมาณที่รัฐบาลทุกทุกสมัย จนถึงยุคสมัย พลเอกประยุทธ จันโอชา ประยุทธ 1 (คสช.) และประยุทธ 2 ในปัจจุบัน ได้ทุ่มงบประมาณ เพื่อดับไฟใต้ แต่ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัด ยังคงมีเหตุความรุนแรง โดยเฉพาะ กรณีล่าสุด กรณีคนร้ายไม่ทราบกลุ่ม ใช้อาวุธปืนสงคราม ยิงถล่ม ชุด ชรบ.ประจำป้อมยาม ที่ ต.ลำพะยา จ.ยะลา เป็นเหตุให้ มี ชรบ.เสียชีวิต 15 ราย บาดเจ็บอีกหลายราย วันที่ 5 พฤศจิกายน 2562 และอีกหลายเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งยังไม่สัญญาณใดๆ ที่จะชัดเจนว่า สถานการณ์ความไม่สงบจะยุติลงได้ และจะไม่เกิดสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปลายด้ามขวานอีก
สถานการณ์ยาเสพติด แพร่ระบาดยาเสพติด ไม่จะเป็นย้าบ้า ยาไอซ์ ใบกระท่อม 4*100 และอื่นๆ จะเห็นว่าการและปราบปรามยาเสพติด รายใหญ่ จับทั้งในและนอกพื้นที่ ที่ลำเลียงมา และถูกจับกุม ยาเสพติดล็อตใหญ่ มูลค่า 100-และ 1,000 ล้านบาท จากข้อมูลของเจ้าหน้าที่ พบเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล และปลายทาง คือ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะติดกับชายแดนประเทศมาเลเซีย เป็นจุดพักยาเสพติด และทั้งจำหน่ายในพื้นที่ และส่งขายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะสร้างมูลค่าเม็ดเงิน เพิ่มหลายเท่าตัว
นอกจากปัญหายาเสพติด ปัญหาธุรกิจผิดกฎหมาย การค้าของเถื่อนหนีภาษี และน้ำมันเถื่อน กระบวนการทำความผิดโยงใยกันทั้งในพื้นที่ และนอกพื้นที่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภัยแทรกซ้อน ที่หนุนเสริมปัญหาความไม่สงบ หากย้อนดูในอดีต ก่อนเกิดเหตุความไม่สงบ ปี 2546 ราว 10 พื้นที่จังหวัดชายแดนภาค ทุกหมู่บ้าน ชุมชน จัดได้ว่า เป็นพื้นที่หมู่บ้านชุมชนเข้มแข็ง มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรัก ความสามัคคี อยู่ด้วยความเข้าใจ อย่างสันติสุข โดยใช้รากฐาน ศาสนาอิสลาม นำการดำรงชีวิตประจำวัน ประกอบกับวัฒนธรรมพื้นที่ แต่เมื่อยาเสพติดแพร่ระบาด เข้าพื้นที่ สู่เยาวชน ประชาชนในพื้นที่ สถาบันครอบครัวถูกท้าทาย จากยาเสพติดที่แพร่ระบาด ทำให้กำแพงหมู่บ้านชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เคยแข็งแกร่ง พังทลาย เป็นชุมชนที่อ่อนแอ และบางคนตกเป็นเครื่องมือของผู้ไม่สงค์ดี อันเนื่องจากเป็นทาสยาเสพติด ก่อปัญหาอาชญากรรม และตกเป็นเครื่องมือก่อเหตุความรุนแรง และยังพบว่า เงินยาเสพติด ยังถูกนำมาใช้ เป็นท่อน้ำเลี้ยง ผู้ก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ เพื่อแลกกับผลประโยชน์ที่จะได้รับ
นาย พิศิษฐ์ วิริยสกุล (ผู้อำนวยการศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดบ้านชีวิตใหม่,กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ร.บ. ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕) กล่าวกับผู้เขียนว่า “ณ วันนี้เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาการแพร่ระบาดและผลกระทบของยาเสพติด ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ จนกล่าวได้ว่าแตะตรงไหนก็เจอตรงนั้น จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับโครงสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนนั้นๆ และไม่ใช่ความผิดของครอบครัว ชุมชน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนใดส่วนหนึ่ง เนื่องจากปัญหาดังกล่าวมีความซับซ้อน และทับซ้อนหลายชั้น สลับไปสลับมา คือแก้ปัญหาหนึ่งก็จะพบอีกปัญหาหนึ่ง เป็น “พลวัต” (dynamic) ทางสังคม กระนั้นก็ตาม เมื่อเราพบจุดแห่งการแพร่ระบาดได้ เราก็ควรจะหา “จุดคานงัด” ให้เจอ ที่มาของความหมาย “จุดคานงัด” คือจุดที่สามารถนำไม้คานเล็ก (แต่แข็ง) สอดใส่ใต้สิ่งของที่ใหญ่และหนักให้เคลื่อนไหลไปตามต้องการได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ จุดที่เราสามารถใช้ พลังงานหรือทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในการก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการได้ความจริง “จุดคานงัด” ที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมหรือแก้ปัญหายาเสพติดนี้ เราค้นพบมานานแล้ว ในทางทฤษฏี ได้แก่ A-I-C-เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม A F P การพัฒนาระบบความร่วมมือของพหุภาคี โดยยืดพื้นที่เป็นแกนขับเคลื่อน หรือ สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ที่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี พยายามขับเคลื่อนสู่การปฏิรูปสังคมในทางปฏิบัติ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) พยายามพัฒนาการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติด มาถึงจุดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหายาเสพติด ตั้งแต่ปี 2536 โดย จัดสัมมนาบุคลากรที่ทำงานด้านยาเสพติด ทั้งองค์กรภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และองค์กรชุมชน เพื่อทบทวนการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ผ่านมา และทดลองดำเนินการในพื้นที่ชุมชนจริง ก่อนนำเสนอรัฐบาล ต่อมานายชวน หลีกภัย (นายกรัฐมนตรี) ได้ออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 141/2541 เรื่องนโยบายการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2541 การดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์“ราษฎร์–รัฐ ร่วมใจต้านภัยยาเสพติด” โดยกำหนดพื้นที่นำร่องอำเภอละหนึ่งหมู่บ้าน/ชุมชนรัฐบาล พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กำหนด “ ยุทธศาสตร์ พลังแผ่นดินขจัดสิ้นยาเสพติด ” ประกาศ Roadmap เอาชนะยาเสพติดอย่างยั่งยืน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เน้นการทำลายโครงสร้างผู้สร้างผู้ผลิต/ผู้ค้า และรณรงค์สร้างกระแส ระยะที่ 2 เน้นกระบวนการแก้ไข/ฟื้นฟู ควบคู่การจัดเตรียมชุมชนเพื่อรองรับผู้ค้าผู้เสพที่ผ่านกระบวนการปรับพฤติกรรมและกลับมาใช้ชีวิตในชุมชน และระยะที่ 3 เน้นการพัฒนาที่ยังยืน โดยการสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดและปัญหาอื่นๆ ของชุมชน (ระยะเวลา 1กุมภาพันธ์ 2546 – กันยายน 2547) น่าเสียดาย เมื่อรัฐบาลประกาศชัยชนะสงครามยาเสพติด ธันวาคม 2546 การสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติดหายไปด้วย
และรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นโยบาย 5 รั้ว 2 โครงการ จะพบว่าระยะหลังๆ การแก้ปัญหายาเสพติดจะเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมก็ตาม แต่ยาเสพติดก็ยังมายืนเป็นลิงหลอกเจ้าอยู่หน้าบ้านกันสลอน ถึงวันนี้พัฒนาการป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดของประเทศไทยเรารุดหน้ามาถึงจุดวางระบบตั้งแต่นโยบายลงมาสู่หมู่บ้าน/ชุมชนแล้ว แต่เรายังหา “จุดที่จะสอดคานงัด” ไม่เจอ สาเหตุเพราะเรายังใช้รูปแบบ พ.ศ.2504 “ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม” หรือเปล่า ฝากคิดต่อ… จุดคานงัดที่มีพลัง คือ ประชาชน (ชาวบ้านทุกคน) ต้องจัดการกับปัญหาตามบริบทและศักยภาพของแต่ละพื้นที่เอง เราไม่สามารถรู้ได้ว่าคนเสพยาคนหนึ่งมีปัจจัยใดให้เขาเสพยา, เราไม่สามารถรู้ได้ว่าครอบครัวใดมีความผิดปรกติเช่นใดที่ทำให้บุตรหลานไปเสพยา และเราไม่สามารถรู้ได้ว่าชุมชนใดมีจุดอ่อน/จุดแข็งอย่างไรที่จะช่วยให้ผู้คนในหมู่บ้าน/ชุมชนนั้น ร่วมมือกันป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดได้ ประชาชนที่จุดต้นทางดังกล่าวจะรู้ปัญหาได้ดี ทั้งหมดนี้เป็นความละเอียดอ่อนซับซ้อนกว่าสมัยผู้ใหญ่ลี ที่มีประชากรทั้งประเทศเพียง 26 ล้านคน (2503) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมโดยอาศัยพลังจากประชาชน จะต้องตอบคำถามจากประชาชนว่า ทำไมต้องเปลี่ยน..? และ ถ้าจะเปลี่ยนแล้วจะทำอย่างไร…? ตรงนี้ไม่ยากว่า “ทำไมต้องเปลี่ยน” เพราะประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรง เขาย่อมอยากเปลี่ยน แต่ “ถ้าจะเปลี่ยนแล้วจะทำอย่างไร” ต้องใช้เวลาอีกระยะกับการนำความรู้จากตำราหรือประสบการณ์ของผู้ชำนาญการมาอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจและทดลองทำเองได้ง่ายๆ
ยาเสพติด เป็นภัยต่อสังคมชายแดนใต้ แม้รัฐบาลจะ มีมาตรการ ในการป้องกันและปราบปราม ผู้ค้ายาเสพติดอย่างหนัก แต่ยาเสพติดยังคง และต้องยอมรับว่า ยาเสพติด แพร่ระบาดและหาซื้อได้ อย่างไม่ยากมากนัก ในแหล่ง ชุมชน หมู่บ้าน แม้กระทั่งซอกซอย และหาง่ายกว่า ร้านสะดวกซื้อเสียอีก แต่ภัยแทรกซ้อนที่พรางตัว ในพิษภัยยาเสพติด ที่รัฐ ต้องปราบปราบ และจับกุมผู้ค้ายาเสพติด ที่เกี่ยวข้องมาลงโทษอย่างจริงจัง ที่เจ้าหน้าที่ต่างรู้ดีว่า หลายคดี เป็นภัยแทรกซ้อน จากผู้มีอิทธิพล ค้ายาเสพติด เครือข่ายทั้งอยู่ภายในพื้นที่ และนอกพื้นที่ ผสมโรงและท่อน้ำเลี้ยงป่วนไฟใต้
ครับก็หวังว่า หน่วยงานของรัฐ สามารถบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบ และคนของรัฐ ไม่ไปค้าหรือยุ่งพัวพันกับการค้ายาเสียเอง และควรให้พลังประชาชนทุกภาคส่วน มีบทบาท เพื่อสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมแก้ปัญหา ยาเสพติด หากจับคนของรัฐไปค้ายาเสพติด ก็ต้องลงโทษขั้นเด็ดขาด และหากสามารถแก้ปัญหายาเสพติดได้ที่เกิดจากภัยแทรกซ้อน ปัญหาความรุนแรง และความไม่สงบ ที่เกิดขึ้น เชื่อได้ว่า จะสามารถคลี่คลาย และแก้ปัญหา “ไฟใต้” ให้ดับมอดได้ในที่สุด
หมายเหตุ..
- เปิดปมลงพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ จับตากลยุทธ์ใหม่ของผู้ค้ายาเสพติดในพื้นที่ และติดตามความเป็นไปได้ ที่ขบวนการค้ายาเสพติดกับกลุ่มก่อความไม่สงบมีความเชื่อมโยงกันหรือไม่ https://www.youtube.com/watch?v=Q1uxG8Upmik
- การแก้ปัญหายาเสพติดผ่านศาสนธรรมชุมชน
1,351 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.