ตูแวดานียา มือรีงิง รายงาน..(รพี มามะ บรรณาธิการข่าว)
“รักกันไว้เถิด เราเกิดร่วมแดนไทย
จะเกิดภาคไหน ก็ไทยด้วยกัน
เชื้อสายประเพณี ไม่มีกีดกั้น
เกิดใต้ธงไทยนั้น ปวงชนทุกคนคือไทย”
(ในบทหนึ่ง ของเนื้อเพลง รักกันไว้เถิด )
จากการได้ร่วมโครงการ “กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ณ ดินแดนลานนา จ.เชียงใหม่เหนือสุดของประเทศไทยในครั้งนี้ ซึ่งจัดโดยสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 สงขลา ในการนำสื่อมวลชนทั้งวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ ร่วมถึงนักประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน จากจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี สงขลาและสตูลกว่า 80 ชีวิต ระหว่างวันที่ 23-35 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อศึกษาดูงานด้านความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรมในดินแดนลานนาที่มีความหลากหลายทางชาติพันธ์และศาสนา เพื่อนำมาเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมพหุวัฒนธรรมที่ยังมีร้อยร้าว อยู่บ้างจากเหตุการณ์ความไม่สงบตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา
จังหวัดเชียงใหม่มีประชากรกว่า 1.7 ล้านคน เป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายทางชาติพันธ์และชนเผ่าอาทิเช่นกะเหรี่ยง อาข่า อีซอ เมี่ยน ม้ง ลาหู่ และอื่นๆ มีห้าศาสนาทีอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างสงบมาอย่างยาวนาน โดยมีผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 91.8 ศาสนาคริสต์ร้อยละ 5.60 ศาสนาอิสลามร้อยละ 1.17 ศาสนาฮินดูและซิกซ์ร้อยละ0.02 และอื่นๆ ร้อยละ 1.14
การลงพื้นที่สัมผัสชุมชนมุสลิมมัสยิดอัตตักวา ย่านวัดเกต ซึ่งเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมของสี่ศาสนาคืออิสลาม พุทธ ซิกซ์และคริสต์ที่มีทั้งมัสยิด วัดโบสคริสต์และซิกซ์อยู่ในพื้นพีเดียวกัน แต่ไม่เคยมีปัญหาความขัดแย้งกัน ชุมชนมุสลิมมัสยิดอัตตักวามีประวัติความเป็นมากว่า 100 ปี โดยมีชาวมุสลิมจากยูนานเข้ามาค้าขาย และพ่อค้ามุสลิมจากปากีสถานและอินเดียและเผยแพร่ศาสนาอิสลาม ถึงแม้จำนวนมุสลิมจะมีเพียง 2 หมื่นกว่าคนหรือประมาณร้อยละ 1.17 ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในจังหวัดเชียงใหม่แต่มีบทบาทสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือของประเทศ
นางรัตติฟาร์ สิมารังสี ประธานองค์กรมุสลิมภาคเหนือเพื่อพัฒนา เล่าว่าที่ดินที่สร้างสนามบินเชียงใหม่เป็นที่ดินที่มุสลิมบริจาคให้กับภาครัฐ
“จุดเด่นของมุสลิมจังหวัดเชียงใหม่คือง่ายๆ คือสันติ คำว่าอิสลามก็แปลว่าสันติ เพราะอิสลามไม่ใช้ศาสนาอย่างเดียว แต่อิสลามเป็นธรรมนูญแห่งชีวิต หากเรานำธรรมนูญแห่งชีวิตทุกๆอณูของชีวิตเราก็มีความสุขเราไม่ไปเบียดเบียงผู้ใดเพราะหลักการของศาสนาคือความเมตตา” นางรัตติฟาร์ สิมารังสีกล่าว
การเดินทางในครั้งนี้มีนายสัมพันธ์ มูซอดี ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 สงขลาเป็นหัวหน้าคณะ โดยมีนายก่อพงษ์ โกมลรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ประชาสัมพันธ์จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สตูลและตรังเข้าร่วมสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใต้บังคับบัญชาถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันและการสื่อสารในสังคมพหุวัฒนธรรม
นายสัมพันธ์ มูซอดี ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์เขต 6 สงขลากล่าวว่า งบประมาณที่ใช้ในกิจกรรมในครั้งนี้เป็นงบของกรมประชาสัมพันธ์ให้สำนักประชาสัมพันธ์ทั้งแปดเขต ไปบริหารทำแผนนำสื่อมวลชนในแต่ละเขต ซึ่งจะไม่เหมือนกันวนส่วนของภาคใต้ นอกจากจะรายการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ วิทยุ ซึ่งเราจัดทุกว่าอยู่แล้ว ผลิตรายการ ผลิตสกู๊ป
“ส่วนหนึ่งที่เรามาในวันนี้คือจัดสื่อเครือข่ายสื่อในพื้นที่มาทัศนศึกษาดูงานเพื่อสื่อนั้นได้เห็นได้เขียนและกลับไปสื่อสารต่อในเรื่องสังคมพหุวัฒนธรรม เรามาดูชุมชน มาดูการจัดการว่าเขาอยู่อย่างไรในสังคมพหุวัฒนธรรม เราไปดูที่สถานีโทรทัศน์ วิทยุที่เขต 3 เชียงใหม่ ว่าเขาจัดการจัดสรรเวลาอย่างไรในการตอบสนองต่อสังคมพหุวัฒนธรรมที่นี่ในจัดสรรเวลาเปิดโอกาสให้ทุดชนเผ่ามาจัดรายการในการสร้างความเข้าใจเพื่อความมั่งคงในพื้นที่ เรามาดูแล้วเรากลับไปสร้างความเข้าใจต่อเพื่อสื่อมีความสำคัญ” ผอ.สำนักประชาสัมพันธ์กล่าว
นางพรพิมล อุไรรัตน์ นักจัดรายการวิทยุจากสถานีวิทยุ มอ.ปัตตานีที่ได้ร่วมเดินทางไปคณะในครั้งนี้กล่าวว่ารู้สึกประทับใจกับกิจกรรมนี้ “คิดว่าจะต้องไปขยายผลต่อกับผู้ฟังรายการวิทยุของเราว่าในพื้นที่เชียงใหม่ถึงแม้ว่าจะมีความหลากหลายทางศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้”
////////////////////////////////////
1,897 total views, 4 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.