พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

สร้างงาน อาชีพใหม่ในอนาคต “ปูทะเล” กับ รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม นักวิจัยหนุ่ม ปัตตานี

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk

ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน


ในช่วงที่ผ่านมา  ได้มีโอกาสพูดคุย เรื่อง“ปูทะเล” เป็นทะเลบ้านเราชายแดนใต้ ว่า จะสามารถ สร้างงาน อาชีพใหม่ในอนาคตได้หรือไม่อย่างไร นำวิธีการด้านวิชาการ ทางวิทยาศาสตร์ มาหนุนเสริมได้อย่างไร    รศ.ดร.ซุกรี หะยีสาแม นักวิจัยหนุ่มชาวปัตตานี เด็กบ้านๆแต่เป็น คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ชี้แจงว่าปูทะเลมันเป็น สัตว์น้ำเศรษฐกิจอนาคตสำหรับชุมชนชายฝั่งแดนใต้


ปูนี้มีชื่อเรียกทั่วไปว่า ปูดำ ปูเขียว ปูขาว หรือปูทองหลาง มัน มีศักยภาพสูงมากที่จะพัฒนาเป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่สำหรับรองรับการพัฒนาประเทศในอนาคต เนื่องจากมีราคาสูง เลี้ยงง่าย โตเร็ว รูปแบบการเลี้ยงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลาดทั้งในและต่างประเทศมีความต้องการปริมาณสูง นิยมบริโภคทั้งในรูปของปูเนื้อ ปูไข่ และปูนิ่ม โดยเฉพาะตลาดในกลุ่มประเทศจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง และไต้หวัน เป็นต้นมันจึงเป็นทางเลือก สู่อาชีพใหม่ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เกิดความพยายามทำการประมงทะเลในหลากหลายรูปแบบ เช่น การจับปูทะเลขนาดเล็กมาขุน เป็นปูเนื้อ ปูไข่ หรือเลี้ยงเป็นปูนิ่ม เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอสำหรับป้อนสู่ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ ดังนั้นการศึกษาวิจัยอย่างจริงจังโดย เน้น ให้ชาวบ้านร่วมวิจัย และทำจริงด้วยครับ ตอนนี้ บ่อต้นแบบที่อำเภอ เทพา จังหวัดสงขลาและ ที่บ้านปาเระ อำเภอเมืองจังหวัดปัตตานี เริ่มเก็บเกี่ยวแล้ว มีการ ต่อยอด งาน ที่สะพานไม้บานา บ้านบานา บ้านบูดี ทดลองเลี้ยงร่วมกับชาวบ้านเป็นสัตว์น้ำ ที่น่าสนใจมากครับ เรา เริ่มได้ 3-4 เดือน ทิศทาง น่าสนใจมาก จะลงอีก 3 ที่ บ้านบางปู สายบุรี จากนี้ไป จะทดลองบ่ออนุบาลสำหรับอนุบาลลูกปูต้นแบบอีก 6 แห่ง

 

ส่วนโรงเพาะ ร่วมกับกรมประมงรองบอีกส่วน ทำบ่อใหญ่ที่ตันหยงเปาว์ จังหวัดปัตตานี ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกำลังขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อทดลองเลี้ยงปูในระบบคอนโดมีเนียม พร้อมพัฒนาเป็นปูนิ่ม และโรงงานต้นแบบสำหรับแช่แข็งปูทะเลนิ่มต่อไปในอนาคต ในส่วนผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ท่านสนับสนุนเต็มที่


สำหรับการวิจัยนี้จะบูรณาการความเชี่ยวชาญระหว่างนักวิชาการจมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่งปัตตานีของกรมประมง และสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 39 ปัตตานี ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อต่อยอดจากความรู้เดิมของนักวิชาการของประเทศไทยในรูปแบบของการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนและผู้ประกอบการ ที่มีพื้นที่ทำงานและรูปแบบการทำงานที่ชัดเจน มีการนำเทคโนโลยีจากประเทศเวียดนามที่ประสบความสำเร็จสูงมาปรับใช้กับความรู้ทางวิชาการของประเทศไทย การสร้างผู้เชี่ยวชาญเรื่องปูทะเลสำหรับรองรับการพัฒนาในอนาคต เป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กัน อ่าวปัตตานี นับว่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมอย่างยิ่งในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปูทะเลและการสร้างอุตสาหกรรมต่อเนื่องอย่างครบวงจร โดยเป็นพื้นที่ต้นแบบสำหรับการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปูทะเลในระยะแรก อีกทั้งการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยใช้ปูทะเลยังจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาความมั่นคง ผ่านการพัฒนาทางเศรษฐกิจชุมชน ก่อนที่จะขยายไปยังพื้นที่ชายฝั่งอื่นๆ ของประเทศต่อไป อันจะสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ประเทศในอนาคต โดยคาดว่าปูทะเลจะสามารถสร้างรายได้ไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาทต่อปี ภายในไม่เกิน 5 ปี ซึ่งการศึกษาวิจัยดังกล่าวจะเป็นการพัฒนานวัตกรรมการเลี้ยงปูทะเลให้เป็นสัตว์เศรษฐกิจใหม่ของประเทศ สู่เมืองปูทะเลโลก จากการที่ประเทศไทย มีองค์ประกอบที่เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนำเอาปูทะเลเป็นสัตว์น้ำเศรษฐกิจตัวใหม่ ในการสร้างระบบเศรษฐกิจขึ้นใหม่ ทดแทนรายได้ที่สูญเสียจากการลดลงของสัตว์น้ำที่จับได้จากธรรมชาติ และรายได้จากการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เกษตรกรมีประสบการณ์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ มาก่อนที่สามารถปรับใช้ได้ และพื้นที่มีศักยภาพสำหรับใช้ในการเพาะเลี้ยงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่นากุ้งร้างที่ประเทศไทยมีอยู่ถึงประมาณหนึ่งแสนไร โดยเป็นนากุ้งร้างในพื้นที่จังหวัดปัตานีกว่า 25,000 ไร่ ที่สามารถพัฒนามาเป็นบ่อเลี้ยงปู และจากการที่ปูทะเลเป็นสัตว์น้ำที่ต้องใช้วิธีการเพาะเลี้ยงในระบบพึ่งพาธรรมชาติ ส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศชายฝั่งโดยเฉพาะบริเวณป่าชายเลนมากกว่าการทำลายป่า ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลอย่างยิ่ง


ดังนั้นจึงได้รับการสนับสนุนในหลักการจากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการสร้างโรเพาะฟักและวิจัยปูทะเล ณ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในวงเงินประมาณ 10 ล้านบาท และได้รับการพิจารณางบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยอีกร่วม 4 ล้านบาทเพื่อวิจัยเพื่อพัฒนาเทคนิคและวิธีการพัฒนาแม่พันธุ์ปูทะเล การเพาะลูกปู และการอนุบาลลูกปูระยะต่างๆ สร้างต้นแบบสำหรับการอนุบาลลูกปูระยะต่างๆ ที่เหมาะสมบริเวณอ่าวปัตตานีและพื้นที่ใกล้เคียง สร้างต้นแบบสำหรับฟาร์มเลี้ยงปูเนื้อและปูไข่โดยใช้นากุ้งร้าง โดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกร,ชาวประมง และการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปยังบุคคลเป้าหมายที่สนใจ
หมายเหตุ
1.รายการม.อ.สัมพันธ์กับท่าน ดูเพิ่มใน https://youtu.be/iNy2f9_ZtA8
2.ประวัติพอสังเขปท่าน
http://www.mis.sat.psu.ac.th/staff_directory/staff.php?STAFF_ID=0006342

 3,406 total views,  6 views today

You may have missed