เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ข้อเสนอและทัศนะ คุณพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม “ลงทะเบียนซิมการ์ด ด้วยระบบตรวจสอบใบหน้า”

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) รายงาน
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของพระองค์ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกคน

จากกรณีกอ.รมน.ภาค 4 ขอให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือค่ายต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ลงทะเบียนซิมการ์ด ด้วยระบบตรวจสอบใบหน้า และอัตลักษณ์ ภายในวันที่ 31 ต.ค.นี้นั้นทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อสังคมออนไลน์ และวงน้ำชาอย่างกว้างขวางในพื้นที่ ว่าการบังคับให้ประชาชนลงทะเบียนซิมโทรศัพท์และบังคับให้สแกนใบหน้า และอัตลักษณ์นั้น มีความสุ่มเสี่ยงที่จะเข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่ง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าอาจต้องทบทวนอย่างละเอียดว่าสามารถกระทำได้หรือไม่ แม้จะอ้างระเบียบสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก็ตาม อย่างไรก็แล้วแต่มีประชาชนจำนวนมากเช่นกัน ต่อคิวปฏิบัติแม้ไม่เห็นด้วยเพราะกลัวว่าไม่ได้ใช้โทรศัพท์(ทั้งที่คนพื้นที่นี้พิเศษกว่าที่อื่นโดยลงทะเบียนมาแล้วในครั้งที่ผ่านมา
นักวิชาการที่ทำงานด้านสันติภาพ เช่นนางสาวสุวรา แก้วนุ้ย โพสต์ทำโพลให้ผู้ไปลงความเห็นกับมาตรการดังกล่าวว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไร ปรากฏว่ามีผู้เข้าไปให้ความเห็นและร่วมออกเสียงล่าสุดประมาณ 1,300 ราย ตัวเลขผู้เห็นด้วยมีไม่ถึง 10% ส่วนคนจำนวนมากเกิน 90% ไม่เห็นด้วย (โปรดดู
https://www.facebook.com/100000618905042/posts/2673420239355247?s=1245604111&sfns=mo)
ในกลุ่มผู้เข้าไปแสดงความเห็นเพิ่มเติมนั้น มีหลายคนที่เห็นว่ามาตรการดังกล่าวจะป้องกันความรุนแรงได้ จึงเห็นด้วย บ้างก็ตำหนิคนที่กล่าวอ้างเรื่องการละเมิดสิทธิว่าเป็นแนวร่วมขบวนการก่อความรุนแรง อย่างไรก็ตามก็มีผู้แสดงความเห็นว่าไม่ต้องการมาตรการดังกล่าวจำนวนมากเช่นกัน หลายคนตั้งคำถามว่า ในการซื้อซิมการ์ดนั้น ผู้ใช้ต้องใช้บัตรประจำตัวประชาชนจดทะเบียนอยู่แล้ว ดังนั้นข้อมูลของผู้ใช้ได้รับการเปิดเผยแล้ว นอกจากนั้นมาตรการนี้ยังเป็นการทำงานซ้ำซ้อนเสียเวลาประชาชน บางรายระบุว่านี่เป็นมาตรการที่จะต้องใช้เงินงบประมาณของประชาชนมาดำเนินการ หากไม่ได้ประโยชน์เพิ่มก็ถือเป็นเรื่องเสียงบประมาณโดยใช่เหตุ ผู้ใช้อีกส่วนระบุว่า หากจะทำเช่นนี้ก็ควรทำทั้งประเทศ เพราะไม่เช่นนั้นจะเป็นการเลือกปฎิบัติ มีผู้ใช้บางรายเห็นว่า มาตรการนี้เป็นการกล่วงล้ำข้อมูลส่วนบุคคลมากเกินไป(โปรดดูhttps://prachatai.com/journal/2019/06/83072)

ในเฟสบุคส์ของ ชัยบดี กากะ ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากในภาคภาษามลายูถิ่นปตานี ไม่เห็นด้วยและแสดงเหตุผลมากมายถึงความไม่เหมาะสมรัฐ “จะเอาอะไรกันหนักหนา กับ คนมลายู” (โปรดดู https://www.facebook.com/100005131680345/posts/1201434196704292?s=1245604111&sfns=mo) )
ในขณะที่กอ.รมน.ภาค 4 ชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น โดยพ.อ.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ โฆษก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ชี้เเจงกรณี คำสั่งดังกล่าวเป็นประกาศ กสทช.ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย.ที่ผ่านมา เเละประกาศเพิ่มเติมในวันที่ 21 มิ.ย. ในการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ หลังพบปัญหาการขโมยตัวตนและอัตลักษณ์ของบุคคลไปทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น การแจ้งโทรศัพท์หายแล้วนำบัตรประชาชนไปซื้อซิมการ์ดตามเบอร์ของผู้อื่นแล้วนำทำธุรกรรมทางการเงิน


นอกจากนี้ยังพบว่า มีการนำซิมการ์ดจากประเทศเพื่อนบ้านและนอกพื้นที่มาก่อนเหตุ โดยเฉพาะเหตุระเบิดรูปปั้นเงือกทอก แหลมสมิหลา อ.เมือง จ.สงขลา เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ซิมการ์ดที่นำจุดชนวนระเบิดถูกสั่งซื้อแค่ใช้อีเมล์ส่วนตัวโดย ครูโรงเรียนตาดีการายหนึ่งใน อ.ยะรัง จ.ปัตตานี ซึ่งรับสารภาพว่าได้สั่งซื้อโดยใช้อีเมล์ จำนวน 10 ซิม แล้วนำมาให้สามีก่อเหตุรุนแรง ยืนยันว่า การลงทะเบียนซิมจะเป็นการปกป้องสิทธิของประชาชนทั่วไปไม่ให้ถูกขโมยตัวตน และแบ่งแยกผู้ก่อเหตุออกจากประชาชนผู้บริสุทธิ์
“ทุกคนไม่เว้นแม้แต่เจ้าหน้าที่จะต้องลงทะเบียนเช่นเดียวกัน โดยไม่ได้เลือกปฏิบัติ”
ทั้งนี้การลงทะเบียนดังกล่าว กำหนดให้ผู้ใช้งานในสามจังหวัดลงทะเบียนได้ถึงวันที่ 31 ต.ค. สำหรับผู้ที่อยู่นอกพื้นที่และต้องการเดินทางมาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเริ่มลงทะเบียนในวันที่ 1 พ.ย.นี้
(โปรดดู http://news.thaipbs.or.th/content/281092) หลังจากนั้นก็มีมวลชนทางนี้สนับสนุนแนวคิด หน่วยความมั่นคงและมีการใช้คำที่จะรุนแรงสักหน่อยต่อผู้เห็นต่างในโลกโซเชี่ยล
อะไรคือทางออกที่น่าจะยอมรับได้
สำหรับทางออกที่น่าจะยอมรับได้สอบถาม นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติจากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ผู้ที่ทำงานด้านกฎหมายและสิทธิมนุษยชนชายแดนใต้มากกว่า 15 ปี ต่อเรื่องนี้ท่านได้แสดงทัศนะและเสนอทางออกว่า “ ระบบที่ทางผู้ให้บริการหนึ่งรายร่วมมือกับทางกอรมน.เลือกใช้คือระบบ Face Recognition ที่หลายคนเป็นห่วงเรื่องการเก็บข้อมูล การนำไปใช้ว่าจะกระทบกระเทือนสิทธิมนุษยชน เช่น สิทธิส่วนบุคคล เสรีภาพในการแสดงออก ฯลฯ ข้อความที่ส่งต่อมาจากผู้ให้บริการรายหนึ่งระบุว่า”กอ.รมน.ภาค 4 ขอให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือค่ายต่างๆ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา ลงทะเบียนซิมการ์ด ด้วยระบบตรวจสอบใบหน้า และอัตลักษณ์ ภายในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ โดยผู้ใช้บริการจะต้องไปลงทะเบียนซิมดังกล่าว โดยนำบัตรประชาชนไปดำเนินการตามศูนย์ให้บริการของค่ายมือถือต่างๆ โดยหากไม่ดำเนินการในวันที่กำหนด จะไม่สามารถใช้บริการได้”

1. น่าจะไปที่ต้นเรื่องคือ ประกาศของกสทช. ไปคุยกับเขา ทำจดหมายไปถามหรือแจ้งให้ทราบว่าทางผู้ให้บริการร่วมมือกับกอรมน.ทำแบบนี้ถูกต้องตามประกาศไหมและมีแนวทางอย่างไรหากส่อให้เห็นถึงการเลือกปฏิบัติหรือให้เกิดภาระที่เกินสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการกระทำที่กระทบสิทธิส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารตามข้อ13 ของประกาศกสทช. http://www.nbtc.go.th/…/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8…

ข้อ 3 ระบุแต่เพียงว่า ให้ตัวแทนผู้ให้บริการหรือจุดให้บริการที่ผู้ให้บริการกำหนดให้ดำเนินการลงทะเบียนผู้ใช้บริการและพิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลผู้ใช้บริการแทนผู้ให้บริการ (ไม่ได้บอกว่าให้ใช้รูปแบบใดระบบใด ไม่ได้ระบุว่าต้องเป็นแบบอิเลคทรอนิค แบบใด อาจเป็นการนำสำเนาบัตรปชช.ก็ได้ บางศูนย์ฯบุคคลเจ้าของบัตรจริงต้องไปด้วยเป็นต้น)

ข้อ 13 บอกว่าถ้าผู้ให้บริการ (ไม่ใช่กอรมน.) จะใช้วิธีอื่นที่เป็นอิเล็คโทนิค ในการพิสูจน์หรือยืนยันตัวบุคคลให้ ผู้ให้บริการต้องจัดทำระบบรักษาความปลอดภัยและคุ้มครองสิทธิผู้ใช้บริการ 1. คุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว 2. คุ้มครองเสรีภาพในการสื่อสารถึงกัน

2. หากกอรมน.และผู้ให้บริการยังคงดำเนินการและเราคิดว่าเราจะอาจได้รับความเดือดร้อนก็ต้องดำเนินการฟ้องร้องคดีทางปกครองน่าจะได้คงต้องคุยกัน กับทีมกฎหมายปกครองที่เชี่ยวชาญ

ก่อนอื่นถามไปทางกอรมน.ก่อนได้นะค่ะ หลายคนน่าจะเปิดรับฟังความเห็นของภาคประชาสังคม

3.  อาจร้องเรียนองค์กรสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศหรือองค์กรสหประชาชาติ เช่น คณะกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ

 828 total views,  2 views today

You may have missed