เมษายน 23, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

คณะกรรมการอิสลามปัตตานีลงนาม MOU กับ MH มาเลเซียแอร์ไลน์ เพื่อกิจการอุมเราะฮ์และฮัจย์แก่ชาวไทยมุสลิม จชต.

แชร์เลย


นับเป็นข่าวดีและเป็นยกระดับการประกอบกิจการอุมเราะฮ์และฮัจย์ของชาวไทยมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ในอนาคตที่บริษัทมาเลซียแอร์ไลน์ จำกัด มหาชน (MH) ให้ความสนใจกับการประกอบกิจการอุมเราะฮ์และฮัจย์ของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยจะนำฮุจญาจและผู้ประกอบอุมเราะฮ์บินลัดฟ้าสู่เมืองมาดีนะฮ์และเจดดาห์ด้วยสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ โดยใช้เครื่องบินแอร์บัส A380-800 ซึ่งเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันมาเลเซียมี A380-800 จำนวน 6 ลำในการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบกิจกรรมอุมเราะฮ์และฮัจย์จากมาเลเซีย ภาคใต้ของไทย และอินโดนีเซีย


เพื่อให้เป็นไปตาเจตนารมณ์ บริษัทมาเลซียแอร์ไลน์ จำกัด มหาชน (MH) โดยมีบริษัทลูกภายใต้ ชื่อ “Projek AMAL” ในการดำเนินการได้ลงนามความเข้าใจ (MOU) กับสำนักงานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานีขึ้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านที่ ณ สำนักงานบริหารบริษัทมาเลซียแอร์ไลน์ จำกัด มหาชนที่ KLIA , Sepang, Malaysia.
ในการลงนามครั้งนี้ฝ่ายบริษัทมาเลซียแอร์ไลน์ จำกัด มหาชน (MH) มีนายฮัซมัน ฮิลมี ซอลาฮุดดีน ประธานกรรมบริหาร Projek Amal เป็นผู้ลงนามและมีนายยาซีด โมฮำเม็ด เป็นพยาน ส่วนฝ่ายไทยมีนายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานีเป็นผู้ลงนาม และมีนายอิสมาแอล แวมุสตอฟา เป็นพยาน และได้รับเกียรติจาก ท่านอิซซัม อิสมาแอล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทมาเลซียแอร์ไลน์ จำกัด มหาชนเป็นสัขขีพยาน


ท่านอิซซัม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทมาเลซียแอร์ไลน์ จำกัด มหาชน กล่าวสั้นๆว่า จะทำอย่างไรที่จะให้ผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์และอุมเราะฮ์มีความสะดวกสบายตั้งแต่การเดินทางจากต้นทางจนถึงที่หมายปลายทาง วันนี้สายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์มีความพร้อมที่จะนำฮุจญาจและผู้ที่จะทำอุมเราะฮ์เดินทางไปกับเรา
ในหนังสือลงนามระบุว่าทั้งสองฝ่ายมีความตั้งใจที่จะทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับความร่วมมือเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดโดยมีเงื่อนไขต่างๆ เช่น ทั้งสองต้องเสนอแพ็กเกจการเดินทางจากภาคใต้โดยผ่านวิธีการเหมาลำ หรือบินตามกำหนดการตารางการบินโดยจะบินจากสนามบิน KLIA และการเดินทางของชาวไทยมุสลิมจากจังหวัดชายแดนภาคใต้มีสามทางเลือก คือ นั่งรถบัสเช่าเหมาจากจังหวัดปัตตานีสู่ KLIA ทางเลือกที่สอง เดินทางโดยรถบัสจากปัตตานี สู่โกตาบารู และจากโกตารู โดยสายการบิน MH และทางเลือกที่สามคือ เดินทางโดยรถบัสจากปัตตานี สู่อลอสตาร์ และจากอลอสตาเดินทางโดย MH สำหรับในวันเดินทางกลับผู้ประกอบอุมเราะฮ์จะพักที่กัวลาลัมเปอร์ 1 คืนเพื่อเที่ยวชมสถานที่ต่างๆในรอบเมืองหลวงก่อนเดินทางกลับมาตุภูมิ


นอกจากลงนามความเข้าใจแล้วทางคณะได้รับเกียรติจากกองทุนฮัจย์ (Tabung Haji) ให้คณะได้เยี่ยมชมการบริหารและจัดการฮุจญาจ ที่จะเดินทางไปยังประเทศซาอุดีอาราเบีย ณ อาคารถาวรกองทุนฮัจย์ ตั้งอยู่ใกล้สนามบินนานาชาติ KLIA นับว่าเกียรติอย่างยิ่งสำหรับคณะ ผู้ที่จะเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ทุกคนจะต้องบินจากสนามบิน KLIA เท่านั้น ด้วยเครื่องบินแอร์บัส A380-800 สิ่งที่คณะได้สัมผัสจากการดูงานในครั้งนี้คือ ทุกคนที่ผ่านการคัดกรอง ณ จุดนี้จะถูกพาไปยังสนามบินเพื่อขึ้นเครื่องบิน กระเป๋าของทุกคนจะถูกส่งไปยังที่พักของตนเองหลังจากถึงที่หมายโดยไม่ต้องรอรับกระเป๋าที่สนามบินเจดดาห์หรือมาดีนะฮ์ และที่เป็นที่สุดของที่สุดคือคณะได้รับเกียรติอย่างสูงให้เข้าไปยังสนามบินและดูการดำเนินการจ็อบหนังสื่อเดินทางของ ตม.ซาอูดีอาราเบีย ณ สนามบิน KLIA และฮุจญาจทุกคนจากประเทศมาเลเซียเมื่อไปถึงสนามบินเจดดาห์หรือมาดีนะฮฺไม่ต้องเข้ากระบวนการ ตม.อีกต่อไป สามารถขึ้นรถบัสเข้าสู่ที่พักได้เลย ไม่ต้องเสียเวลา 4-5 ชั่วโมงทีสนามบิน นี่คือความพิเศษของฮุจญาจจากมาเลเซีย และท้ายสุดคณะได้มีโอกาสขึ้นดูเครื่องบิน แอร์บัส A380-800 ที่เตรียมบินลัดฟ้าสู่เจดดาห์นำผู้แสวงบุญจำนวน 480 คนต่อเที่ยว


นายยาซีด โมฮำเม็ด เจ้าหน้าที่ MH กล่าวว่าปีนี้ มาเลเซียมีประชากรกว่า 52 ล้านคน และมีมุสลิมประมาณ 30 ล้านคน จึงได้รับโควตาจำนวน 30,000 คนต่อปี ชาวมาเลเซียจะต้องลงทะเบียนเพื่อแสดงเจตจำนงค์จะไปประกอบพิธีฮัจย์อย่างน้อย 40 ปี และสูงสุด 80 ปี ดังนั้นชาวมาเลเซียต้องลงทะเบียนตอนอายุ 7 ขวบเป็นต้นไปจีงจะได้ไปทำฮัจย์ตอนอายุ 40 กว่า
คณะจากจังหวัดปัตตานียังได้พบปะกับเจ้าหน้าที่ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมมาเลเซียเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและนำเสนอปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะปัญหาการนำเข้ารถบัสและรถตู้จากประเทศไทยเข้ามายังมาเลเซียที่ยังมีปัญหาคาราคาสั่งอยู่จนถึงปัจจุบัน และทางกระทรวงการเที่ยวและวัฒนธรรมมาลเซียพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพในจัดประชุมร่วมไทยมาเลเซียโดยจะมีการเชิญเจ้าหน้าที่ต่างๆที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการท่องเที่ยวทั้งไทยและมาเลเซียเข้าร่วม และสุดท้ายคณะได้พบปะพูดคุยกับตัวแทนบริษัทเดินรถ Mara Liner พูดคุยแนวทางเพื่อการเปิดเส้นทางใหม่ปัตตานี กัวลาลัมเปอร์ และเพื่อรองรับผู้เดินทางเพื่อประกอบอุมเราะฮ์ในอนาคตอีกด้วย


“นับเป็นภารกิจที่ใหญ่และสำคัญมากของคณะที่ได้มีโอกาสมาศึกษาดูงานและและเปลี่ยนความคิดเห็นกับเจ้าหน้าที่รับสูงของสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ในครั้งนี้ หลังจากนี้ทุกคนจะกลับไปทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการอุมเราะฮ์และฮัจย์ต่อไป และจะนำเสนอสิ่งดีๆให้กับทางการไทยผู้รับผิดชอบในพื้นที่ โดยเฉพาะ ศอ.บต.ต่อไป” นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานีกล่าว  การเดินของคณะจากจังหวัดปัตตานีในครั้งนี้ได้รับการอนุเคราะห์จากบริษัทการบินมาเลเซียแอร์ไลน์และที่พักได้รับการสนับสนุนจากกองทุนฮัจย์

////////////////////////////////
โดยตูแวดานียา มือรีงิง
สำนักข่าว SPMC NEWS 

 2,025 total views,  2 views today

You may have missed