พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

เยาวชนกับสันติภาพและการศึกษากับความมั่นคงที่ชายแดนใต้:กมธ.สันติภาพต้องลงมาฟังเชิงลึกอีกครั้ง หลังลงเวทีมาแล้ว 2 วันเต็ม

แชร์เลย

เยาวชนกับสันติภาพและการศึกษากับความมั่นคงที่ชายแดนใต้:กมธ.สันติภาพต้องลงมาฟังเชิงลึกอีกครั้ง หลังลงเวทีมาแล้ว 2 วันเต็ม

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการเจรจาสันติภาพและข้อเสนอทางออกทางการเมืองในจังหวัดชายแดนใต้

เมื่อวันที่ 19 -20 มกราคม 2567 (สองวันเต็ม)ที่ จ.ปัตตานีผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญสันติภาพชายแดนใต้ นำโดยนายจาตุรนต์ ฉายแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานกมธ. เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยเชิญตัวแทนจากหลากหลายภาคส่วน มาให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการสร้างสันติภาพในชายแดนใต้ โดยมีข้อเสนอทั้งเร่งด่วนและต่อการแก้ปัญหาทั้งระบบ
#ข้อเสนอทั้งเร่งด่วนและต่อการแก้ปัญหาทั้งระบบ

จากการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะทั้งสองวันทำให้กมธ.มีข้อมูลที่มีประโยชน์จำนวนมากที่จะนำกลับไปสานต่อเพื่อพิจารณามาตรการในการสร้างสันติภาพและขจัดเงื่อนไขความขัดแย้งในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ในการรับฟังข้อมูลพบว่า จะต้องมีข้อเสนอเร่งด่วนและต่อการแก้ปัญหาทั้งระบบ นายจาตุรนต์ ฉายแสง สะท้อนว่า

“มีปัญหาเร่งด่วนอยู่จำนวนหนึ่งที่คณะกรรมาธิการควรจะพิจารณานำเสนอต่อรัฐบาลอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาที่กำลังก่อตัวและกลายเป็นการสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งเพิ่มในขณะที่กำลังมีความพยายามสร้างสันติภาพ อย่างเช่น การดำเนินคดีต่อนักกิจกรรมในหลายกรณี การละเมิดสิทธิมนุษยชน การละเมิดในช่วงจับกุมคุมขัง หรือการวิสามัญฆาตกรรมที่สูงขึ้นอย่างมาก”


.
เวทีครั้งนี้ทำให้พบความแตกต่างที่ชัดเจนใน 2 ประเด็น ได้แก่
.
1. ภาคประชาสังคมภาควิชาการที่สนใจปัญหา ได้ศึกษารวบรวมข้อมูลข้อเท็จจริง และมีองค์ความรู้ที่เป็นระบบอย่างมาก ทำให้คณะกรรมาธิการมีพื้นฐานในการที่จะเข้าใจปัญหาและหาทางแก้ไขได้ดีกว่าสมัยก่อน

2. ปัจจุบันนี้มีการใช้กฎหมายพิเศษ และใช้องค์กรที่มีอำนาจตามกฎหมายต่าง ๆ กันโดยไม่มีระบบประสานงานที่ดี จนทำให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างเป็นระบบเหมือนกัน
ในขณะที่หน่วยความมั่นคงโดยเฉพาะแม่ทัพภาคที่ 4 สะท้อนว่า “การดำเนินคดีกับนักกิจกรรม ยืนยันว่า มิใช่ดำเนินคดีเกี่ยวกับชุดมลายู ซึ่งทำไปตามพยานหลักฐานที่มี ตามหลักกฏหมาย เรื่องนี้ถ้าบริสุทธ์ก็นำพยานหลักฐานมาพิสูจน์กัน ทางกระบวนการยุติธรรมและศาล และเชื่อว่าเมื่อทำความเข้าใจกันแล้วก็จะน่าจะทำความเข้าใจเพิ่มเติมกันอีกครั้ง”อย่างไรก็แล้วแต่เป็นโอกาสดีที่ได้ฟังผู้รับผิดชอบความมั่นคงโดยตรงในพื้นที่ ได้ซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญการพูดคุย และผู้ปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบของ กอ.รมน.ภาค 4 ในการพูดคุยเพื่อสันติสุข ทำให้เห็นขั้นตอนการทำงานต่อไปชัดเจน อาจเหลื่อมอยู่บ้างกับผู้รับผิดชอบโดยตรง แต่เห็นแผนการทำงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งจะต้องพยายามหารือให้สอดคล้อง ระหว่างการทำงานของหน่วยต่างๆ

# การเปิดพื้นที่ทางการเมืองโดยเฉพาะเยาวชน

นายจาตุรนต์ ฉายแสง เปิดเผยว่า การหารือที่สำคัญเรื่องการสร้างสภาวะแวดล้อม การหารือสาธารณะ การเปิดพื้นที่ทางการเมือง ทางคณะกรรมาธิการมีข้อห่วงใยเกี่ยวกับเยาวชน มีนักกิจกรรม นักศึกษาต้องการพื้นที่ทางการเมือง ต้องการเสนอความคิดเห็น การช่วยทำให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เขาเป็นห่วงพื้นที่วามปลอดภัย กลัวว่าจะถูกบังคับใช้กฏหมายเกินกว่าเหตุ ซึ่งการหารือกับคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข และแม่ทัพภาคที่ 4 และผู้บัญชาการตำรวจ 9 มีความพร้อมที่จะรับฟังเสียงสะท้อน ความเห็นของคณะกรรมาธิการ

“เราเข้าใจดีว่าท่านทำตามหน้าที่ ท่านเป็นผู้รักษากฏหมายเมื่อพบพยานหลักฐานก็ทำตามหน้าที่ เรากำลังจะชวนกันคิดว่าการบังคับใช้กฏหมายต่างๆ ท่านต้องการให้เกิดสันติสุข มีเส้นบางๆแบ่งระหว่างการบังคับใช้กฏหมายแล้วทำให้เกิดการลดก่อความไม่สงบ กับการบังคับใช้กฏหมายเรื่องเดียวกันกลายเป็นเงื่อนไขความไม่พอใจและเกิดความไม่สงบ จึงเป็นเรื่องดีที่พบกัน มีแนวโน้มที่ดีไปหารอืกันต่อ เพื่อทำให้เกิดสันติสุข ความเป็นธรรม และมีส่วนร่วม เพราะทางคณะพูดคุยต้องเปิดพื้นที่สาธารณะ ทางนักกิจกรรมและนักศึกษาต้องการพื้นที่สาธารณะด้วย แต่คนละคลื่นความถี่ ต้องหารือเพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะให้มากขึ้น”

#จาตุรนต์ตั้งเยาวชนเป็นที่ปรึกษา กมธ.สันติภาพชายแดนใต้ หลัง เสนอเปิดพื้นที่ปลอดภัยให้ได้แสดงออก มีส่วนร่วมออกแบบอนาคต หวังรัฐบาล – โต๊ะเจรจา หยิบข้อเสนอเยาวชนไปปฏิบัติจริง

นายจาตุรนต์ ฉายแสง ให้ทัศนะว่า “กลุ่มเยาวชนที่สะท้อนปัญหาและแนะนำแนวทางให้กับพี่ ๆ คณะกรรมาธิการในหลายเรื่องทั้งอยากให้การแสดงออกหรือทำกิจกรรมแล้วไม่ถูกคุกคาม การมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การดำเนินคดีที่ยุติธรรม รวมไปถึงเรื่องของการศึกษาและหลักสูตรต่าง ๆ ที่ทันสมัยก้าวหน้า เหมาะสมกับพื้นที่แต่อีกเรื่องที่สำคัญคือน้อง ๆ เล่าให้ฟังว่า เด็กในสามจังหวัดชายแดนใต้หลายคนที่ไม่เข้าใจกระบวนการสันติภาพ ไม่รู้ว่าคืออะไรมีประโยชน์อย่างไรต่ออนาคต เพราะพวกเขาไม่เคยเข้าไปมีส่วนร่วมหรือรับรู้การทำงานของรัฐเลย

ข้อเสนอของน้อง ๆ ที่อยากเห็นเด็กและเยาวชนมีบทบาทต่อกระบวนการสันติภาพ จึงเป็นที่มาของการชักชวนให้ส่งตัวแทนมาเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการในครั้งนี้ครับ”

#ประเด็นการศึกษากับความั่นคงที่ชายแดนใต้:กมธ.สันติภาพต้องลงมาฟังเชิงลึกอีกครั้ง หลังลงเวทีมาแล้ว 2 วันเต็ม

ประเด็นการศึกษากับความั่นคงที่ชายแดนใต้ถูกสะท้อนมากจากเยาวชน ผู้นำการศึกษา ผู้นำศาสนา ประชาสังคมแม้แต่กลุ่มชาวพุทธ แต่ด้วยเวลาน้อยซึ่งจำเป็นที่กมธ.สันติภาพต้องลงมาฟังเชิงลึกอีกครั้งซึ่งจากสภาพปัญหาที่นโยบายการศึกษาและการบริหารจัดการแบบรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง ไม่เปิดกว้างให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมเท่าที่ควร หลักสูตรการศึกษาส่วนกลางที่ไม่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมและความต้องการของสังคมชายแดนใต้เท่าที่ควร กระทบต่ออัลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่น การกระจายทรัพยากร เช่น งบประมาณ บุคลากร และโอกาสในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาไม่เพียงพอ ส่งผลให้ระดับคุณภาพการศึกษาของเด็กถูกวัดว่าด้อยกว่าที่อื่น ความเหลื่อมล้ำทางโอกาสในสังคมสูงมาก นอกจากนี้อันเนื่องมาจากสถานการณ์ความไม่สงบตลอด 20 ปี มีกฎหมายพิเศษที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาให้สอดคล้องตามปรัชญาและหลักการศึกษาที่แท้จริงทำให้เกิดช่องในการใช้การศึกษาเพื่อสร้างการแบ่งแยก และสร้างความเกลียดซังกันในสังคม ดังนั้นข้อเสนอหนึ่งที่กมธ.จะต้องลงพื้นที่ รับฟังให้ลึก ให้เวลามากกว่านี้ กระจายอำนาจทางการศึกษาชายแดนภาคใต้? น่าจะภาพอนาคตรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาที่ปรารถนา รวมทั้งตัวแบบและแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของพื้นที่ จึงมีความสำคัญยิ่ง?

#ทำไมต้อง ต้องกระจายอำนาจทางการศึกษาชายแดนภาคใต้?

พื้นที่ปาตานี/ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นพื้นที่ที่มีบริบทเฉพาะทางการศึกษา โดยสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการศึกษาทางอิสลาม และเป้าหมายของการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Learning Outcomes; LOs) ประการสำคัญ คือ การพัฒนามนุษย์ทั้งทางกายและทางจิตใจอย่างสอดประสานกัน ด้วยเหตุนี้ การจัดโครงสร้างของระบบการศึกษา ตลอดทั้งหลักสูตร และรายวิชา ตั้งแต่การศึกษาระดับปฐมวัยไปจนถึงอุดมศึกษา จึงจำเป็นต้องคิดออกแบบให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นเลิศทั้งทางโลกและทางธรรมอย่างมีดุลยภาพ รวมทั้งระบบของการบริหารจัดการหลักสูตร ผู้เรียน บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ตลอดทั้งโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ จำเป็นต้องถ่ายโอนอำนาจจากส่วนกลาง ทั้งกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในส่วนของระบบการศึกษาระดัลประถมศึกษาถึงอุดมศึกษา โดยเฉพาะการบริหารจัดการศึกษาด้วยระบบปอเนาะ และทั้งกระทรวงวัฒนธรรม ในส่วนของระบบการศึกษาปฐมวัยในรูปแบบศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด หรือตาดีกา เพื่อนำมาสู่การออกแบบกลไกบริหารจัดการการศึกษาระดับท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง อันจะรับประกันการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทเฉพาะของพื้นที่และยืนยันเจตนารมณ์ในฐานะตัวแทนของประชาชนในพื้นที่ตนเองได้โดยแท้จริง

ดังนั้น ภาพอนาคตรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาที่ปรารถนา รวมทั้งตัวแบบและแนวทางการกระจายอำนาจทางการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของพื้นที่ จึงมีความสำคัญยิ่ง

สำหรับหัวใจของการกระจายอำนาจทางการศึกษานั้นต้องกระจายทั้งอำนาจการบริหารจัดการ คนและงบประมาณ เพื่อสามารถร่วมออกแบบการศึกษาที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของพื้นที่ มิใช่เฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้นแต่ทุกพื้นที่การศึกษาในทุกภูมิภาคของประเทศไทยอันจะนำไปสู่พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษามากมายและจะตอบโจทย์การพัฒนาประเทศที่เท่ากับสถาการณ์โลกในอนาคตที่สำคัญสุดมันจะเป็นรากฐานการกระจายอำนาจการปกครองที่อาจจะมีข้อตกลงบนโต๊ะเจรจาสันติภาพ?

 29,971 total views,  2 views today

You may have missed