เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รายงานพิเศษ ปันจักสีลัตจากศิลปะวัฒนธรรมชายแดนภาคใต้สู่เหรียญทองแรกของไทยมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่เวียดนาม

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่าน รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน

วันที่ 11 พ.ค. 65 เหรียญทองแรกของไทยก็มาถึง สำหรับกีฬาอย่าง ปันจักสีลัต เป็นศิลปะการต่อสู้เชื้อสายของชาวมลายูทั้งชายแดนใต้และอาเซียนเพราะได้คว้ามาถึง 2 เหรีญทอง ในประเภท ปันจักลีลา

ประกอบด้วย ซอบรี เจะนิ, อับดุลการิม คูลี, อับดุลรอฮิม ซีเดะ สามนักกีฬาปันจักสีลัต ทีมชาติไทย ทำคะแนนได้ 9.960 คว้าเหรียญทอง ท่ารำ ทีมชาย

สร้างความภาคภูมิใจให้คนไทยเป็นอย่างมากสำหรับเหรียญทองแรกของไทยในซีเกมส์ ครั้งที่ 31

“ประเภทปันจักลีลาทีมชาย ซอบรี เจ๊ะนิ, อับดุลการีม คูลี, อับดุลรอฮีม ซีเดะ ในรอบชิงชนะเลิศเจอกับ อังกี ไฟซาล มูบารอก, อาซีพ ยูดัน ซานิ, นูนู นูกราฮา จากอินโดนีเซีย ผลนักกีฬาไทยทั้ง ซอบรี เจ๊ะนิ, อับดุลการีม คูลี, อับดุลรอฮีม ซีเดะ เป็นฝ่ายชนะ 9,960-9,945 คะแนน คว้าเหรียญทองเหรียญแรกให้กับนักกีฬาไทยในซีเกมส์ ครั้งนี้

ประเภทปันจักลีลาเดี่ยวชาย อิลยาส สาดารา ดีกรีแชมป์โลก ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศไปเจอกับ มูฮัมหมัด อิกบาล อับดุล ระมาน บิน (สิงคโปร์) ผล อิลยาส สาดารา เป็นฝ่ายแพ้ไปอย่างน่าเสียดาย 9,930-9,960 คะแนน ได้เหรียญเงิน ส่วนปันจักลีลาคู่ชาย อับดุลการีม ยูโซ๊ะ – ไครูลมหาฎี ยูโซ๊ะ ได้เหรียญทองแดง และ ปันจักลีลาเดี่ยวหญิง นูรีซัน ลอเซ็ง ได้ที่ 5

สรุปทีมปันจักลีลาของไทย จากการชิง 4 เหรียญ ได้ 2 ทอง 1 เงิน 1 ทองแดง

นายภาณุ อุทัยรัตน์ นายกสมาคมกีฬาปันจักสีลัตแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า “สำหรับเหรียญทองเหรียญนี้ เป็นเหรียญที่เกินความคาดหมาย และเป็นการคว้าเหรียญทองเหรียญแรกของประเภทปันจักลีลาของทีมชาย เนื่องจากก่อนหน้านี้เราเคยได้เหรียญทองปันจักลีลาทีมหญิงในซีเกมส์ 2017 ที่มาเลเซีย เมื่อ 5 ปีที่แล้ว”

“เนื่องจากก่อนแข่งทางสมาคมฯ ตั้งเป้าไว้ 1 ทอง จากประเภทต่อสู้ ที่เราส่งแข่งทั้งหมด 8 รุ่น เราตั้งความหวังไว้ที่ อาดิลัน เจ๊ะแมง รุ่น 65 กก. ซึ่งเป็นทั้งแชมป์โลก และแชมป์เก่า ซึ่งใจจริงผมคิดว่าน่าจะได้มากกว่า 1 ทอง แต่ไม่อยากตั้งความหวังไว้สูงมาก เพราะอย่างไรก็ตามตัวแปรอีกอย่าง ก็คือเรื่องการเปลี่ยนแปลงกติกาที่ไม่แน่นอน เพราะฉะนั้นเราหวังไว้ว่าเราอาจจะได้มากกว่า 1 ทอง เนื่องจากตอนนี้ เราได้มาแล้ว 1 ทอง 1 เงิน 1 ทองแดง จากประเภทปันจักลีลาและนักกีฬาของเราทุกคนมีความมุ่งมั่นตั้งใจและต้องการทำเต็มที่”

“สำหรับกีฬาปันจักสีลัต เป็นอีกหนึ่งความหวังเหรียญทองของทางเจ้าภาพ เวียดนาม ที่เจ้าภาพต้องการจะกวาดเหรียญทองให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นเจ้าทองกีฬาชนิดนี้ ซึ่งนักกีฬาอีก 8 รุ่นที่เหลือของไทยแม้ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นก็ตามเราทุกคนต่างต้องการที่จะตั้งใจมุ่งมั่นและทำผลงานให้ดีที่สุด อย่างไรก็ตามทางสมาคมฯ มีเงินอัดฉีดเหรียญทอง 2 แสนบาท เป็นพิเศษให้ด้วย”

 

#”กีฬาปันจักสีลัต (Pencak Silat)” ชื่อกีฬานี้มาจากภาษามลายูมาจากคำว่า ปันจัก (Pencak) หมายถึงการป้องกันตนเอง และคำว่า สีลัต (Silat) หมายถึง “ศิลปะ รวมความแล้วหมายถึงศิลปะการป้องกันตนเอง

เดิมเป็นศิลปะการต่อสู้ของคนเชื้อสายมาลายู ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไน และพื้นที่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย คือ ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส และสงขลา เรียกว่า “สิละ” “ดีกา” หรือ “บือดีกา” เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าเท้าเปล่า เน้นลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงาม

เพราะดินแดนของมลายูในอดีตเคยเป็นดินแดนอาณาจักรศรีวิชัย ที่มีวัฒนธรรมอินเดียเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ จึงมีคำสันสกฤตปรากฏอยู่มาก ประวัติความเป็นมาของปันจักสีลัตนั้น มีตำนานเล่าต่อกันมาหลายตำนาน ซึ่งมีส่วนตรงกันและแตกต่างกันบ้างโดยเฉพาะต้นกำเนิดของกีฬาประเภทนี้ซึ่งเขียนขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศที่ได้เขียนมา อินโดนีเซียเล่าไปอย่างหนึ่ง มาเลเซียก็เล่าไปอีกอย่างหนึ่ง
เช่นตำนานการเกิดของสิละ

ทั้งนี้ มูบิน เชปปาร์ค (Mubin Shepard) นักประวัติศาสตร์ กล่าวไว้ว่า การต่อสู้แบบสิละมีจุดกำเนิดที่เกาะสุมาตราตั้งแต่ 400 ปีมาแล้ว แต่ต่อมาผู้สอนได้ดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับยุคสมัยจนเป็นที่สนใจแพร่หลาย โดยตามตำนานกล่าวว่า มีคน 3 คนเป็นเพื่อนกัน สืบเชื้อสายสุมาตรา คือ บูฮันนุดดิน, ซัมซุดดิน และฮามินนุดดิน ได้เดินทางจากมินังกาบัง ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตราไปศึกษาวิทยายุทธ ณ เมืองอะแจ ที่สำนักวิทยายุทธ ซึ่งอยู่ใกล้สระน้ำใหญ่

วันหนึ่ง ฮามินนุดดิน ได้ไปตักน้ำที่สระน้ำแห่งนั้นและได้สังเกตเห็นกระแสน้ำที่ไหลมาจากหน้าผาสูงลงมาในสระ โดยมีดอกบอมอร์ช่อหนึ่งหล่นจากต้นลงมากลางสระกระทบน้ำในสระกลายเป็นระลอกคลื่น หมุนเวียนสวยงาม จากนั้นจึงค่อย ๆ ไหลย้อนกลับไปใกล้ตลิ่งแล้วลอยไปลอยมา เหมือนกับว่าเป็นสิ่งที่มีชีวิต จิตใจ ทำให้ฮามินนุดดินทึ่งในสิ่งที่เห็นและได้นำดอกบอมอร์ติดตัวกลับไป พร้อมนำลีลาการลอยของดอกบอมอร์ไปประยุกต์ใช้กับท่าร่ายรำแก่เพื่อนอีก 2 คน เพื่อป้องกันฝ่ายปรปักษ์ จึงเกิดเป็นวิชาสิละตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

อาจารย์ประพนธ์ เรืองณรงค์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวว่า กีฬาปันจักสีลัตคือศิลปะการป้องกันตัวซึ่งเป็นมรดกวัฒนธรรมกีฬาของชนชาวอาเซียน สำหรับในประเทศไทยนั้น จัดการแข่งขันในทุกระดับตั้งแต่กีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย กีฬามหาวิทยาลัย กีฬาเยาวชนแห่งชาติ และกีฬาแห่งชาติ โดยใช้ระเบียบ-กติกาของสหพันธ์ปันจักสีลัตนานาชาติ

สหพันธ์ปันจักสีลัตนานาชาติตั้งอยู่ ณ นครจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ได้จัดให้มีการแข่งขันปันจักสีลัตชิงแชมป์โลกมาแล้ว 7 ครั้ง ครั้งสุดท้ายจัดขึ้นที่อำเภอหาดใหญ่ ประเทศไทย ปี พ.ศ.2537 มีนักกีฬาจาก 18 ประเทศเข้าร่วมในการแข่งขันครั้งนี้ และกีฬาปันจักสีลัตก็ได้รับบรรจุให้มีการแข่งขันเป็นครั้งแรก ในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 14 ณ นครจาร์กาตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.2530 และได้มีการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในครั้งต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน ครั้งล่าสุดในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31

กีฬาปันจักสีลัตแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
การต่อสู้ (Tanding)
ประเภทเดี่ยวปันจักลีลา (Tunggal)
ประเภทคู่ปันจักลีลา (Ganda)
ประเภททีมปันจักลีลา (Rega)
(หมายเหตุที่มา : การกีฬาแห่งประเทศไทย)
#การวิจัยเพื่อพัฒนา

ผลวิจัย “ทักษะกีฬาปันจักสีลัตในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ (พ.ศ. 2550-2556)”

สรุปได้ว่า ทักษะที่นักกีฬาปันจักสีลัตทำคะแนนได้มีด้วยกัน 2 ทักษะคือ ทักษะการใช้มือและการใช้เท้าโดยพบว่า ทักษะการใช้มือมีความถี่ในการใช ทักษะการต้อยหมัดตรงมากที่สุด เนื่องจากการต่อยหมัดตรงเป็นอาวุธที่กระทำได้อย่างง่าย รวดเร็วและมีความแม่นยำสูง ทำให้คู่ต่อสู้ป้องกันตัวได้อยากและสามารถกลับสู่การเคลื่อนไหวในลักษณะท่าป้องกันได้อย่างว่องไวนอกจากนี้ยังสามารถที่จะใช้เทคนิคในการเล่นจังหวะสองได้ดีอีกด้วยสำหรับทักษะการใช้เท้าโดยการเตะเฉียงพบว่า เป็นทักษะที่สามารถทำคะแนนได้่เป็น อันดับสองเนื่องจากว่า เป็นทักษะการโจมตีคู่ต่อสู้ได้แทบทุกระยะ สามารถเห็นผได้อย่างชัดเจนอีก ทั้งยังสร้างความบอบช้ำได้อีกทางหนึ่งด้วย แต่นักกีฬาต้องระมัดระวังจากการถูกคู่ต่อสู้ใช้มือจับเพื่อทำให้ล้มตามกติกา ดั่งนั้นนักกีฬาที่ใช้ทักษะการเตะเฉียงจะต้องมีความรวดเร็วในการเตะเฉียงอีกด้วยเพื่อชิงความได้เปรียบในกาแข่งขัน ทั้งนี้จากประสบการณ์ที่ผู้วิจัยเป็นผู้ฝึกสอนกีฬาปันจักสีลัต ทีมชาติไทยมา 10 กว่าปีทักษะการต่อยหมัดตรงเป็นทักษะที่นักกีฬาในระดับชาติและนานาชาติมีความจำเป็นที่ต้องใช้ เพราะการต่อยหมัดตรงเป็นทักษะที่ใช้ในการจู่โจมคู่ต่อสู้ได อย างรวดเร็วทำให้คู่ต่อสู้ป้องกันตัวได้ยากและสามารถป้องกันการโจมตีของคู่ต่อสู้ได้ทุกระยะ เนื่องจากรูปแบการฝึกเน้นการพัฒนาการทำงานร่วมกันของระบบประสาทและกล้ามเนื้อทำให้สมรรถภาพด้านเวลาปฎิกิริยาดีขึ้นส่งผลให้นักกีฬามีความคล่องแคล่ว ว่องไวในการเคลื่อนที่และพัฒนากลายเป8นความสามารถในการออกอาวุธจังหวะแรกหรือจังหวะสองได้โดย อัตโนมัติจึงสามารถทำคะแนนและประสบความสำเร็จในการแข่งขัน (อ้างอิง https://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/11750)

#จากมิติกีฬาสู่อัตลักษณ์แต่อาจถูกตีความด้านความมั่นคง

กลายเป็นดราม่าเรื่อง “เครื่องแต่งกายชุดมลายูที่บานปลายกลายเป็นไอโอ (ปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร) นำมาโจมตีกัน เมื่อวันที่ 4 พ.ค.65 มีการรวมตัวกันของเยาวชนชาย (เปอร์มูดอ) ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมใจกันแต่งกายด้วย “ชุดมลายู” ไปแสดงพลังและปฏิญาณตนกันที่ริมหาดวาสุกรี อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี นับหมื่นคน หลังจากนั้นวันที่ 10 พ.ค.65 ก็มีการรวมตัวของเยาวชนอีกกลุ่มหนึ่ง เป็น “เยาวชนหญิง” แต่งชุดมลายูโดยเฉพาะภาพชุดการแสดงปันจักสีลัตเพียงแต่เรื่องดราม่าไม่เกิดอาจจะเป็นเพราะนักกีฬาชายแดนภาคใต้ปันจักสีลัตได้เหรียญทองแรกของไทยมหกรรมกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนามวันที่ 11 พ.ค. 65 สะท้อนการสื่อสารสำคัญต่อกระเเสในสังคมไทย
(อ่านเพิ่มเติมบทความผู้เขียนในมติชนสุดสัปดาห์ฉบับวันที่ 13-19 พฤษภาคม 2565)

#การสื่อสารคือกลไกสำคัญในการสร้างสันติภาพ”

ผู้เขียนได้ร่วมเวที “เสวนาสะท้อนย้อนคิดข่าวสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ในงานวันสื่อสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ครั้งที่ 3 และสมัชชาสันติภาพ 2016 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 ที่วสส. ม.อ.ปัตตานี”

มีผลการศึกษายืนยันแล้วว่า “การสื่อสารคือกลไกสำคัญในการสร้างสันติภาพ”
โดยช่องทางการสื่อสารในพื้นที่มีความหลากหลาย สื่อท้องถิ่น สื่อบุคคลและสื่อใหม่เป็นสื่อที่ประชาชนให้ความสำคัญนอกเหนือจากสื่อมวลชน การขยายตัวของการรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคม เช่น เฟสบุ๊คและไลน์เป็นประเด็นที่น่าจับตามอง เนื่องจากเปิดโอกาสให้กระจายข้อมูลข่าวสารทั้งในวงกว้างและกลุ่มเฉพาะ การตรวจสอบข่าวสารและข่าวลือที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งและไม่เป็นผลดีต่อกระบวนการสันติภาพในสื่อสังคมจึงต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายและแหล่งข่าวสารที่เชื่อถือได้อื่นๆ ประกอบ สื่อมวลชนและผู้ปฏิบัติการสื่อสารจึงควรตรวจสอบความถูกต้องของข่าวสารและนำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อการพิจารณาอย่างรอบด้านของผู้รับสารด้วย

ข้อเสนอแนะ
1-ยิ่งเปิดพื้นที่สื่อสาร คนยิ่งเชื่อมั่นแนวทางสันติวิธี โดยการพูดคุยสันติภาพไม่ควรจำกัดแค่เพียงระหว่างคู่ขัดแย้ง แต่ประชาชนจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในกระบวนการนี้โดยผ่านช่องทางการสื่อสารรูปแบบต่างๆ ด้วย ดังนั้น การเปิดพื้นที่การสื่อสารจะมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในการแก้ไขปัญหาด้วยวิถีทางการเมืองและสันติวิธี

2-การสื่อสารเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสันติภาพซึ่งการสื่อสารที่เป็นธรรมและสมดุลจะช่วยเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกฝ่ายสามารถแสดงความคิดเห็น ตัดสินใจและแสดงเจตจำนงทางการเมืองของตนบนพื้นฐานของข้อมูล ข้อเท็จจริง ความรู้และการใช้เหตุผลอันเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกระบวนการสันติภาพในพื้นที่
สอดคล้องเวทีเสวนา “มองการสื่อสารผ่านการรวมตัวเยาวชนปาตานีแต่งกายชุดมลายู” ของตัวแทนประชาสังคมและสื่อ(หมายเหตุฟังและชมย้อนหลังใน

https://www.facebook.com/TheReportersTH/videos/423751245756542/)

 19,505 total views,  2 views today

You may have missed