พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

“โอกาส ศักยภาพและความท้าทายของ จชต. และของประเทศไทย ภายหลังรัฐบาลเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ ไทย-ซาอุดีอาระเบียโดยสมบูรณ์”พร้อมยุทธศาสตร์การพัฒนา 9 ด้าน

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk,

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด และผู้เจริญรอยตามท่าน รวมทั้งผู้อ่านทุกท่าน

#ศอ.บต. จัดประชุมระดมความเห็นสอดรับการพัฒนา “โอกาส ศักยภาพและความท้าทายของ จชต. และของประเทศไทย ภายหลังรัฐบาลเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ ไทย-ซาอุดีอาระเบียโดยสมบูรณ์”

โดยเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)ได้จัดประชุมเพิ่มศักยภาพความร่วมมือระหว่างไทยกับซาอุดิอาระเบีย ที่มหาวิทยาลัยฟาฏอนี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี หวังให้พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น HUB ของโลกมุสลิมในทวีปเอเชีย หลังการกลับมาฟื้นสัมพันธ์ภาพระหว่างประเทศที่ห่างหายไปยาวนานกว่า 30 ปี

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมสัมนาผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องซึ่งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต.จัดขึ้น ที่มหาวิทยาลัยฟาฏอนี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ถึงโอกาส ศักยภาพและความท้าทายของจังหวัดชายแดนภาคใต้ และของประเทศไทย ภายหลังรัฐบาลเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ไทยซาอุดิอาระเบียโดยสมบูรณ์ เพื่อระดมความคิดเห็น และรับฟังข้อเสนอแนะต่อร่างกรอบแนวทางขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนา โดยมี อุปทูตราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบียประจำประเทศไทย และอุปทูตไทยประจำกรุงริยาดประเทศซาอุดิอาระเบีย เข้าร่วมประชุมด้วย

โดยจะเน้นไปกับการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้ง 9 ด้าน ทั้งด้านการท่องเที่ยว ด้านแรงงาน ด้านการลงทุน ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ด้านกีฬา และด้านภาคประชาสังคม ซึ่งรัฐบาลหวังที่จะให้ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลายเป็น HUB หรือศูนย์กลางเศรษฐกิจฮาลาล เพื่อจะขยายไปสู่ประเทศโลกมุสลิม ที่จะเข้าร่วมพัฒนาพื้นที่ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการค้าและการลงทุนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการร่วมลงทุนกับนักลงทุนจากประเทศซาอุดิอาระเบียในอนาคต รวมถึงการแก้ปัญหาความมั่นคง

ด้านนายสธน เกษมสันต์ อุปทูตไทยประจำกรุงริยาดประเทศซาอุดิอาระเบีย ระบุว่า วิถีชีวิตการเป็นสังคมภาหุวัฒนธรรม และความคล้ายคลึงกันในหลายด้านกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งกลายเป็นจุดแข็ง จะร่วมการพัฒนาประเทศร่วมกัน เริ่มแรกจากด้านแรงงาน การท่องเที่ยว และการลงทุน ที่จะมีสายการบิน จากประเทศซาอุดิอาราเบีย บินตรงสู่สนามบินสุวรรณภูมิ ในสิ้นเดือนนี้ และไทยจะมีเที่ยวบินตรงไปกรุงรียาด เมืองหลวงของประเทศซาอุฯ ในเดือนพฤษาคมนี้ด้วย

#นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปาฐกถาพิเศษ “พร้อมหนุนขับเคลื่อนธุรกิจฮาลาลชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าอาหาร หรือท่องเที่ยว เน้นฮาลาลต้นแบบ มีศักดิ์ศรี ผ่านองค์ความรู้ทางวิชาการ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงเกษตรท่านท่านรับผิดชอบ ยินดีประสานการพัฒนาและความร่วมมือเพื่อสันติสุขของพื้นที่ ชายแดนภาคใต้ และพื้นที่อื่นของประเทศไทย “

ขณะที่โอกาสที่สำคัญ ที่ถือเป็นหัวใจของพี่น้องชาวไทยมุสลิม คือด้านศาสนา กับการเดินทางไปร่วมการประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ การทำฮัจญ์ ปีละ 10,000 คน จะมีการผลักดันศักยภาพในทุกด้าน ทั้งส่งเสริมธุรกิจ และการสร้างศาลาไทยบริเวณนั้น โดยผลักดันส่งเสริมร่วมกันในทิศทางที่ดีขึ้นในอนาคตด้วย
#เสนอไทยจัดตั้ง OIC มุสลิมชนกลุ่มน้อย นายอิสมาแอ แวมุสตอฟา สมาคมธุรกิจมุสลิม จังหวัดปัตตานี เสนอไทยจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศมุสลิมชนกลุ่มน้อยคล้ายๆ OIC กล่าวคือ”องค์การความร่วมมืออิสลาม (The Organization of Islamic Cooperation) หรือ OIC ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1969 เป็นองค์การระหว่างประเทศเพียงองค์การเดียวที่ประกอบไปด้วย “รัฐมุสลิม” ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของ “ศาสนาอิสลาม” ในเวทีระหว่างประเทศ ประกอบด้วยสมาชิกประมาณ 57 ประเทศที่ตั้งอยู่ใน 4 ทวีป คือ เอเชีย ยุโรป อเมริกา และแอฟริกา OIC จึงมีจำนวนสมาชิกเป็นรองเฉพาะแค่สหประชาชาติเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ OIC จึงเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในเวทีการเมืองระหว่างประเทศในปัจจุบัน ถ้าไทยโดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เขารู้จักในนามฟาฏอนีเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งองค์กรนี้ได้จะเป็นประโยชน์ต่อไทยในด้านเศรษฐกิจและอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้ที่นี่ก็สามารถหนุนเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพราะเป็นที่ทราบกันดีชายแดนภาคใต้หรือฟาฏอนีเปรียบเสมือนระเบียงของเมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบียซึ่งมีจุดเด่นของพื้นที่คือ เส้นทางของอูลามะ หรือนักคิดอิสลามที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องหลักการศาสนาที่เคยกำหนดไว้ในอดีต หากกำหนดเส้นทางท่องเที่ยวของอูลามะได้ เชื่อว่าจะมีนักท่องเที่ยวมุสลิมไม่ว่าจากซาอุดีอาระเบียและโลกอาหรับ ซึ่งการท่องเที่ยวลักษณะนี้เป็นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และเชิงความรู้ ถ้าสามารถปักหมุดสถานที่ท่องเที่ยวที่อูลามาอ์(ผู้รู้ศาสนาอิสลาม)กำหนดได้จะทำให้การท่องเที่ยวในพื้นที่มีจุดเด่น เป็นเอกลักษณ์ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ หันมาท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังเสนอให้รัฐเป็นผู้ประสานงานองค์กรเช่นIDB เปิดกองทุนธุรกิจปลอดดอกเบี้ย เสนอให้รัฐเปิดศาลาไทยในเมืองเมกกะเพื่อเป็นศูนย์แสดงสินค้าฮาลาลช่วงเทศกาลฮัจญ์ ในส่วนด้านกีฬาเสนอให้ชายแดนภาคใต้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันซุนนะฮ์เกมส์นานาชาติ คำว่าซุนนะฮ์เกมส์คือกีฬาประเภทต่างๆที่ท่านศาสดามุฮัมมัดเล่นเช่นยิงธนู แข่งม้าและว่ายน้ำเป็นต้น”
#สำหรับงานสัมมนาฯ ในครั้งนี้


มีผู้เข้าร่วมสัมมนาฯ ประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา นักวิชการ ภาคประชาสังคม และผู้นำ 4 เสาหลัก รวมทั้งสิ้นกว่า 600 คน รวมทั้งได้มีการนำเสนอร่างกรอบแนวทางการขับเคลื่อนงานการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ภายหลังรัฐบาลเปิดศักราชใหม่ของความสัมพันธ์ ไทย – ซาอุดิอาระเบีย เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ต่อไป

หมายเหตุ

สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบการสัมมนา “ยุทธศาสตร์การพัฒนา 9 ด้าน”

ได้ที่ https://anyflip.com/fbrtk/kbav/

 9,448 total views,  10 views today

You may have missed