อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
21 สิงหาคม 2564 เวลา 14.00-16.00 น.ผู้เขียนได้เข้าร่วมเวทีรับฟังเสวนาถอดบทเรียน
“การทำงานของกลุ่มถักทอสันติภาพ (กทส.)
เพื่อมองอนาคต และการรวมกลุ่มทำงานเพื่อสันติภาพ
ในหัวข้อ ” ภาคประชาสังคมกับการพูดคุยสันติสุข-สันติภาพ” ซึ่งจัดโดยสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ซึ่งผลการศึกษาทางวิชาการและผู้ร่วมเสวนาสะท้อนตรงกันว่า “ภาคประชาสังคมคือโซ่ข้อกลางการพูดคุยสันติสุข-สันติภาพโดยเฉพาะช่วงโควิดซึ่งผู้เขียนมองว่า “การเปิดพื้นที่กลาง ปลอดภัย แม้เห็นต่างสุดขั้ว ก็สำคัญมาก ๆ เราเห็นเยาวชนรุ่นใหม่ที่เอาเรื่องที่พูดไม่ได้ พอถูกกดดันจากรัฐที่กทม.(ศูนย์รวมอำนาจรัฐราชการ )ว่าพูดในมหาวิทยาลัยไม่ได้ ก็ไปปะทุที่ถนน , จริงอยู่(พวกเขาอาจพูดที่เสี่ยงที่ถูกตีความว่าผิด)รธน. แต่ถ้ามีพื้นที่กลางปลอดภัยในการพูดได้ เช่น มหาลัย ดังนั้น ขอเสนอให้สภาประชาสังคมชายแดนใต้ร่วมมือกับสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ลำดับต่อไปเปิดพื้นที่กลางในการคุย แต่ก็ต้องออกแบบเพื่อสร้างบรรยากาศ อย่างคลับเฮาส์ พูดได้ทุกเรื่อง พูดได้อย่างสุดๆ ถ้าจะให้สภาฯ ก็อยากให้จับมือมหิดล ที่จะพูดเรื่องอะไรก็ได้ เหมือนกับ PRC ในวง IPP”
สำหรับคนอื่นๆนั้นผู้เขียนขอนำบางส่วนจากทัศนะและข้อเสนอแนะสำคัญดังนี้
“หยุดทำร้ายเด็ก การกระจายอำนาจและการทำงานร่วมกัน”
รักชาติ สุวรรณ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ให้ทัศนะว่า “หยุดทำร้ายเด็ก ซึ่งขบวนการบีอาร์เอ็น ก็ลงนามฝ่ายเดียว(ช่วงโควิด)ในส่วนการกระจายอำนาจ ถามใคร ถ้าถามพุทธ ไม่น่าจะขยับไปแบบนั้นได้ การที่คนกลุ่มน้อยเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องปกครองท้องถิ่น คิดว่าก็มีเริ่มบ้างแล้ว คิดว่าการกระจายอำนาจคงต้องมีการคุยกันพอควร โดยเฉพาะโควิดนี้ ถ้ารัฐไม่กระจายอำนาจ จะจัดการลำบาก และการให้อปท. จัดซื้อ ก็เป็นส่วนหนึ่งของการกระจายอำนาจ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม คิดว่าเราต้องคุยให้เยอะว่าหลากหลายแบบไหน ถ้าให้พุทธถอยอย่างเดียว ก็ไม่น่าจะใช่ สำหรับการเตรียมคนพุทธทำงานร่วมกันกับกลุ่มบางกลุ่มเพื่อพัฒนาพื้นที่ ทางสมช. ก็น่าจะทราบแล้วบ้างสองเรื่องนี้ถ้าทำแล้ว คนในพื้นที่ก็ได้รับการดูแล มีอาชีพ และได้รับการพัฒนาที่ดีขึ้น จึงอยากเพิ่มข้อเสนออีกข้อ คือข้อเสนอของพระ ซึ่งฆราวาสไม่ต้องเสนอ แต่ให้พระเสนอว่าต้องการอะไร อยู่แบบไหน คิดว่าบริบทโลกเปลี่ยนเพราะสถานการณ์โควิด การเมือง จชต.ก็เปลี่ยนด้วยโควิด ความเป็นอยู่ก็เปลี่ยนในชุมชน เราจะตั้งรับอะไร ก็ขอฝากไว้”
# “ความสมดุลของข้อเสนอจากหลายฝ่าย “
นายพิชญเดช โอสถานนท์ จากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)สะท้อนว่า “เวทีวันนี้ถือว่าเป็นประโยชน์มาก วันนี้คงมารับฟัง และมีคุณค่า จะนำไปหารือกับคณะพูดคุยด้วย ความเห็นเหล่านี้ก็เป็นเรื่องที่คุยกันมากว่าสิบปีแล้ว การได้รับฟังข้อเสนอแบบนี้เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะในโลกที่เป็นแบบออนไลน์ แต่รัฐก็ได้รับความท้าทาย ที่จะสร้างความสมดุลของข้อเสนอจากหลายฝ่าย และหลายเรื่องก็เป็นสิ่งที่เตรียมเนื้อหาอยู่แล้ว เช่น ความปลอดภัย อัตลักษณ์ การมีส่วนร่วมทางการเมือง ความยุติธรรม การศึกษา การพัฒนา …ที่เงียบนี้ เป็นเพราะโควิด แต่ออนไลน์บางบริบทเราก็ใช้ไม่ได้ แต่ก็หารือกันเป็นกลุ่มย่อยๆ และเราก็เปิดกว้างให้ทุกฝ่าย สมช. ก็พยายามให้การพูดคุยต่อเนื่อง และเป็นฝ่ายเลขานุการ ทุกวันนี้ ภาครัฐปรับเยอะ เปลี่ยนเยอะ บางเรื่องที่ไม่ค่อยพูด เช่น กฎหมายระหว่างประเทศ กติการะหว่างประเทศ ที่จะทำให้ปฏิบัติตามหลักสากลมากขึ้น ICCTR อนุสัญญาเจนีวา ก็เช่นกัน”
ผศ.ดร.พัทธ์ธีรา ขอบอกว่า “กทส.ประสานไปทุกครั้ง ก็จะรับตลอด และท่านเห็นความตั้งใจที่เราทำงานนี้ ท่ามกลางความท้าทาย เราจะเริ่มกระบวนการกันอย่างไร”
ท่านให้ทัศนะเพิ่มเติมอีกว่า “ภาคประชาสังคม ก็คงสร้างสภาวะแวดล้อมในการพูดคุย ภาครัฐก็พยายามทำงานกับภาคประชาสังคมให้มากขึ้น แต่สิ่งที่ท้าทายก็คือ รัฐพยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัยทั่วราชอาณาจักรไทย แต่การลดใช้กฎหมายบางกฎ ก็อาจเป็นไปได้ แต่ก็ต้องรู้แท้จริงว่า เป็นความต้องการของพื้นที่จริงๆ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนมากนัก และเราก็เสนอ B เหมือนกัน ก็คงขอความช่วยเหลือจากภาคประชาสังคมด้วยเหมือนกันที่จะสื่อสาร และอยากคุยเรื่องสารัตถะจริงๆ ประชาชนต้องการอะไร และ B ต้องการอะไรจริงๆ”
#พื้นที่กลาง ปลอดภัยความท้าทายของมหิดล
พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล ให้ทัศนะว่า “ข้อเสนอที่สำคัญในเรื่องพื้นที่กลาง ก็เป็นงานหนักของมหิดลอีกเช่นกัน… ภาคประชาสังคม อันแรก ทำงานกับภาคประชาสังคมให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพุทธหรือมุสลิม และทำงานกับองค์กรที่ไม่ได้เป็นพุทธหรือมุสลิม ข้อสอง ทำงานกับภาครัฐในลักษณะเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทั้งภาครัฐส่วนหน้า และฝ่ายนโยบาย (เช่น สมช.) ก็เปิดช่องทางให้ติดต่อกับคณะพูดคุยให้มากขึ้น ข้อสาม ทำงานกับผู้เห็นต่าง B ให้มากขึ้นตามลำดับ เพราะต้องเน้น Inclusivity คือ รวมทุกฝ่าย แต่องค์กรแต่ละที่ก็ทำงานไปตามพันธกิจของตน แต่ก็น่าจะมีเป้าหมายร่วม ก็หวังว่าสภาฯ หน้าที่อันหนึ่งคือ ส่งเสริมเป้าหมายรวมๆ ใหญ่ๆ หยิบบางเรื่องขึ้นมาขับเคลื่อนร่วมกัน หวังว่าหน่วยงานที่จัดประชุมวันนี้ ฆอซาลี ศูนย์สันติวิธีจชต. มหิดล ก็พอจะสนับสนุวิชาการในบางเรื่อง เพราะต้องมีวิชาการมีส่วนนำบ้าง ศึกษา รวบรวม และสื่อให้เข้าใจง่าย และสื่อกับประชาชนทั้งจชต.และประชาชนในวงกว้าง”
รศ.ดร. โคทม อารียาที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลกล่าวเสริมว่า “เรื่องควาปลอดภัย เช่น ไม่ทำร้ายผู้เกี่ยวข้อง ผู้หญิง เด็ก พื้นที่สาธารณะ และมีอีกข้อตกลงเรื่องสิทธิมนุษยชน และมีการพักรบในช่วงใดช่วงหนึ่ง ก็อาจจะยังไม่ได้ยุติทั้งหมด ที่น่าสนใจว่า 84 % ตอบในเรื่องการปกครองท้องถิ่น ดังนั้น เรื่องนี้จึงเป็นการเน้นเป็นพิเศษ และเรื่องการมีส่วนร่วมของชาวพุทธ
สำหรับพื้นที่ปลอดภัย ตรงนี้มีรายละเอียดมากไปกว่านั้น เช่น จัดให้มีพื้นที่กลางเพื่อถกแถลงทางการเมือง, จัดให้ตัวแทนทั้ง 2 ฝ่าย มีพื้นที่ถกแถลงโดยตรง, ไม่มีการเบียดขับชนกลุ่มน้อยออกจากพื้นที่ (อันนี้ชาวพุทธก็จะสบายใจขึ้น)”
#สถานการณ์ที่ท้าทาย ความเสถียรภาพการเมืองมาเลเซีย -ไทย
สำหรับสถานการณ์ที่ท้าทาย มาเลเซีย ก็เปลี่ยนนายกรัฐมนตรี การพูดคุยสันติสุข มาเลเซียก็ผู้อำนวยความสะดวก และยังมีความท้าทายทางการเมืองของไทยด้วย มีส่วนในการทำงานของกทส. หรือบรรยากาศในการพูดคุยจะมีบรรยากาศที่ดีอย่างไรได้มากน้อยเพียงไร อยากชวนประเมินสถานการณ์ว่า กทส. จะทำอะไรได้
อาจารย์ฆอซาลี ฮาแงสะท้อนต่อเรื่องนี้ว่า ตอนนี้ ประมาณบ่ายสองครึ่งของมาเลเซีย ได้สาบานตนเป็นนายก คนที่ 9 ส่วนครม. เป็นใคร คงต้องติดตาม ดูโดยภาพรวมในปี 2018 นับว่าเป็นการสูญเสียการบริหารประเทศที่ผูกขาดมายาวนาน 60 ปี พอปี 2019 เป็นมูฮิดีน คิดว่า อย่างไรเราก็ต้องให้มาเลเซีย เป็นคนกลาง แต่มาเลก็ไม่มีสเถียรภาพ จนต้องลาออกจากตำแหน่ง เพราะมีเสียงข้างมากไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา
พิชญเดชตามการเปลี่ยนแปลงมาเลเหมือนกัน แรกๆเขาจัดตัวเองเป็นฟาซ์ แต่ไม่อยากให้เอาการเมืองมาเล มาส่งผลกระทบกับเรา ไม่ว่าเขาเป็นใคร แต่เราเป็นเรื่องของประเทศเรา อยากให้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม ถ้าเขาเปลี่ยน ก็แค่เปลี่ยนคนทำงาน เราก็พร้อมที่จะพูดคุย ภาคประชาสังคมก็มีบทบาทสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นใคร เราก็ทำงานกันต่อเนื่องได้
รักชาติภาคประชาสังคม ทำงานได้อยู่แล้ว ไม่ว่าใครเปลี่ยนแปลงอะไร มีข้อสัเกตว่า สมช. เป็นเลขา เป็นหน่วยงานหลัก แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของมาเล คู่พูดคุยก็เปลี่ยนด้วย ที่ผ่านมาก็เป็นอย่างนั้น พอเปลี่ยน คนในพื้นที่ก็กังวล อุบัติเหตุทางการเมืองก็มีทั้งสองฝ่าย มาเลก็ไม่รู้ว่าเสถียรแค่ไหน ของไทยเหมือนกัน สภาฯ กำลังผลักดันกรรมการวิสามัญ ที่นัดคุยกับสส.ในพื้นที่ โควิด ทำให้เราทำงานลำบาก และประชุมสภาฯเพิ่งเสร็จ มีแนวโน้มว่าคุยกับสส. กับสภารัฐบาล ก็มีความเป็นไปได้
พัทธ์ธีราไม่แน่ใจว่า วันนี้ เรามีวัตถุประสงค์ว่า อยากรับฟังเสียงกทส. การเข้าไปม่ส่วนร่วมการทำงานของภาคประชาสังคม มีท่านใด อยากแสดงความเห็นบ้าง ช่วงรอ ขประชาสัมพันธ์ว่า วันจันทร์ เวลาเดิม อยากเชิญชวน กทส. มีเสวนาชุมชนพุทธร้าง-ถดถอย ก็อยากเชิญชวนติดตาม
#อยากให้เห็นใจประชาชน ชาวบ้านบางคนที่ยากจน
คุณสมใจ ชูชาติ เครือข่ายชาวพุทธเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ สะท้อนความรู้สึกว่า”ขอบคุณที่ได้เข้าร่วม และทีมงานก็ได้ทำข้อคิดเห็น ในสถานการณ์โควิด และอยู่กับชาวบ้านจริงๆนั้น ความรู้สึกที่ฆอซาลี เสนอนั้นก็มีอยู่ในพื้นที่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์โควิด อยากให้เห็นใจประชาชน ชาวบ้านบางคนที่ยากจน แต่ละวันยังไม่มีเงินซื้อข้าวกิน พี่น้องที่กลับมาจากมาเลฯ ก็เป็นห่วงโซ่ที่นำภาระมาให้ครอบครัว พี่น้องประชาชนรู้สึกสบายใจขึ้นเมื่อไม่มีการก่อเหตุ เพราะฝ่าย B เห็นใจพี่น้องประชาชนเหมือนกัน แต่ก็ขอเถอะ หากท่านจะต่อสู้เชิงไหนก็ตาม เช่น การเขียนหนังสือบอกรัฐ แต่อย่าก่อเหตุเลย เจ้าหน้าที่รัฐก็เหมือนกัน ที่จัดการผู้ก่อเหตุ จึงอยากให้สื่อสารฝ่ายตรงกันข้าม สิ่งที่อยากฝาก เห็นใจฝ่ายภาคประชาสังคม ที่ต้องทำงานอย่างลำบาก, ภาคประชาสังคมก็ต้องคิดบวกอีกนิดว่า การสื่อสาร ข้อมูล เป็นเรื่องสำคัญ อาจทำงานร่วมกับทีมวิชาการ พื้นที่ปลอดภัยที่พูดคุยกันได้ ตอนนี้ปัญหาที่เกิดขึ้น พี่น้องมุสลิมจำนวนมากยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ยาบางตัวก็ไม่ดีพอ และอีกอย่างที่อยากฝากสมช. ข้อมูลบางอย่างที่นำข้อเสนอไปเชิงนโยบาย บางเรื่องข้อเสนอเยอะแล้ว บางทีเขาก็ปรับ แต่ก็ไม่ได้ถึงรากหญ้าจริงๆ ข้อเสนอที่ฆอซาลีเสนอ คิดว่าสมช.ก็มี แต่พอลงมาในการปฏิบัติ บางอย่างก็ไม่สอดคล้อง ไม่กลมกลืนกับพื้นที่ เหมือนไม่ปลดล็อกกับบางอย่างที่แข็งเกินไป บางอย่างปกครองต้องเป็นคนทำ บางอย่างสาธารณสุขต้องทำ แต่ก็โยนไปให้ทหารทำ มันจึงทำอย่างแข็งๆ งานที่เข้าถึงประชาชน ต้องให้ปกครอง นักพัฒนา นักจิตวิทยา นักสิทธิฯ ทำ แต่ก็ต้องขอบคุณสมช. ที่มาฟังวันนี้ด้วย ที่ต้องขอความเห็นใจมากสุด ในสถานการณ์โควิด คนที่กลับจากมาเลฯได้รับความยากเหมืนกัน และคนอื่นๆด้วย คงต้องช่วยกัน ไม่ว่าระดับปฏิบัติ ระดับนโยบาย ส่วนเรื่องความปลอดภัย เรื่องการปิดล้อม ก็เป็นข้อเรียกร้องที่สำคัญ คงต้องช่วยดูแลกันทั้งสังคม”
หมายเหตุ
1.
(ฟังคลิปฉบับเต็มใน https://www.facebook.com/WPT.IHRP/videos/347451693414464/)
2.
อ่านเพิ่มเติมบทความผู้เขียน “ข้อห่วงกังวลของชุมชนพุทธและมุสลิมในสังคมไทย”
https://deepsouthwatch.org/th/node/11160
7,087 total views, 6 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.