เมษายน 29, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

#สนับสนุนปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม #สนับสนุนพ.ร.บ.ห้ามซ้อมทรมาน:กรณีสารวัตรโจ้และซ้อมทรมานที่ชายแดนภาคใต้

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ช่วงวันที่ 24 สิงหาคม 2574 ประเด็นสารวัตรโจ้ หรือ ผู้กำกับโจ้ รีดเงินคดียาเสพติด 2 ล้านบาท และใช้ถุงดำคลุมหัว(ซ้อมทรมาน) ผู้ต้องหาจนเสียชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องร้อนที่หลายคนให้ความสนใจมาก ซึ่งปมโยงกับวงการตำรวจ วงการสีกากีนั้น กระจกสะท้อนสังคมไทย ทุกวงการ ที่ได้สัมผัสกับเรื่องเล่าด้านมืดของตำรวจไทย ผ่านวงการบันเทิง ซึ่งได้นำเสนอเรื่องราวของเจ้าหน้าที่ตำรวจให้เห็นกันเพียบ เช่นตัวอย่างผลงานในวงการบันเทิง ที่เกี่ยวเนื่องกับวงการสีกากี ที่ถูกพูดถึงในวงกว้างกันสักหน่อย เริ่มที่ภาพยนตร์ ” เชอรี่แอน ” เหตุการณ์จริงที่กลายเป็นรอยด่างพร้อยของวงการตำรวจไทย เมื่อสาวลูกครึ่งไทย-อเมริกัน ถูกลักพาตัวและฆาตกรรมระหว่างเดินทางกลับบ้าน ถัดมาเป็นผลงงานละครของช่อง 7 สี อย่างเรื่อง ” สารวัตรใหญ่ ” เรื่องราวของอดีตตำรวจที่ถูกย้ายไปปฏิบัติหน้าที่สารวัตรในอำเภอชายขอบ สิ่งที่เขาได้พบเจอก็คือ เมืองที่สกปรก เต็มไปด้วยอาชญากรรมและการคอรัปชั่น แต่ด้วยกำลังใจจากภรรยาผู้เข้มแข็งที่คอยสนับสนุนและเคียงข้างทำให้เขาพร้อมฟันฝ่าอุปสรรคอย่างไม่ย่อท้อ เรื่องนี้เป็นนวนิยายจากการประพันธ์ของ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร ปิดท้ายตัวอย่างที่ ซีรีส์ดังติดอันดับอย่าง “พฤติการณ์ที่ตาย” เรื่องราวการสืบหาความจริงของผู้เสียชีวิต จากการที่แพทย์นิติเวชย้ายจากกรุงเทพฯมาประจำที่เวียงผาหมอก ไม่นานก็ต้องเข้าไปชันสูตรศพร่วมกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่สันนิษฐานว่าเป็นคดีฆาตกรรมต่อเนื่อง และหนึ่งในผู้เสียชีวิตคือเพื่อนสนิทในสมัยเด็กของแพทย์นิติเวช
โดยมีผู้ต้องสงสัยมากมายที่เกี่ยวเนื่องในแวดวงข้าราชการทั้ง ครู , อัยการ , เจ้าหน้าที่ตำรวจ และคนอื่นๆอีกมากมาย เป็นซีรีส์วายแนวสืบสวนสอบสวนเรื่องแรก โดยดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง พฤติการณ์ที่ตาย ของ อิสรีย์ ศิริวรรณกุลธร หรือนามปากกา Sammon นอกจากนี้ยังมีผลงานในวงการบันเทิงอีกเพียบ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ซึ่งได้สะท้อนออกมาให้ผู้ได้ตัดสินใจกัน ก็สามารถตามไปดูกันได้แล้วแต่ความชื่นชอบ (อ้างอิงจาก https://www.komchadluek.net/entertainment/480381)
อย่างไรก็พฤติกรรมนี้เป็นการ(ซ้อมการทรมาน)ซึ่งตลอดไฟใต้ 17 ปีมีรายงานหน่วยงานองค์กรเอกชนสิทธิมนุษยชนทั้งนานาชาติและประเทศไทยสะท้อนว่า การซ้อมทรมานมีมาตลอดโดยเฉพาะวันนี้ 25 สิงหาคม ครบรอบ 2 ปี คดีดังชายแดนใต้นาย อับดุลเลาะ อีซอมูซอ’ เสียชีวิต ปริศนาในมือหน่วยความมั่นคง กล่าวคือ
นายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ ชาว จ.ปัตตานี เมื่อเวลา 04.00 น. วันที่ 25 สิงหาคม 2562 ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

หลังจาก 35 วันเป็นชายนิทรานอนรักษาตัวเพราะอาการสมองบวมอันเกิดขึ้นหลังจากที่เขาถูกเชิญตัวไปให้ปากคำแก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม และต่อมากลายเป็นผู้ป่วยหนักในวันที่ 21 กรกฎาคม

ความที่คดีนี้ได้รับความสนใจในแง่การละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

และสังคมตั้งคำถามมากมายถึงกระบวนการยุติธรรม เพราะเขาได้รับบาดเจ็บขณะที่กำลังถูกสอบสวนในค่าย

แต่ผลของการแถลงข่าวทั้งแพทย์และคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อเรื่องนี้ไม่สามารถตอบได้ว่า ช่วงเวลาถูกสอบสวนนั้น (ก่อนจะหมดสติ) มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น

เพียงแต่แพทย์แถลงว่า ขาดอากาศหายใจ โดยไม่ตรวจพบการซ้อมทรมาน

กล่าวคือ คณะกรรมการที่ได้ประชุมกัน 3 ครั้ง พบว่าจากผลการตรวจของแพทย์ทั้ง 3 โรงพยาบาลที่ให้การรักษา ไม่พบร่องรอยการถูกทำร้าย ไม่มีร่องรอยฟกช้ำ และไม่มีร่องรอยจากอุบัติเหตุ

ส่วนอาการสมองบวมของผู้ป่วย ทางคณะกรรมการได้รวบรวมข้อเท็จจริงจากคณะแพทย์ สรุปว่าอาจเกิดได้จาก 3 ประเด็น คือ

1. สมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ซึ่งคณะแพทย์ได้ชันสูตรในชั้นต้นแล้วไม่พบร่องรอยกระทบกระเทือนทางสมอง

2. อาจเกิดจากหลอดเลือดโป่งพอง ที่คณะกรรมการยังไม่สามารถหาสาเหตุอย่างละเอียดชัดเจนได้ เพราะยังไม่สามารถเอ็กซเรย์ได้

3. ขาดอากาศหายใจหรือไม่มีออกซิเจนเลี้ยงสมอง ซึ่งอาจเกิดได้หลายกรณี เช่น ผู้ป่วยอาจถูกผู้อื่นกระทำ หรือตัวผู้ป่วยหมดสติ และมีภาวะปิดกั้นทางเดินหายใจ ไม่ได้รับการช่วยเหลือภายในระยะเวลาอันควร

ส่วนรอยแผล 2 แผลที่พบบริเวณข้อพับแขนขวา พบว่าเป็นร่องรอยที่เกิดจากการรักษาอาการบาดเจ็บของผู้ป่วย

ดังนั้น ในเรื่องลื่นล้มหรือเกิดอุบัติเหตุไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะไม่มีร่องรอยฟกช้ำบนร่างกายตามรายงานแพทย์ ไม่มีรอยกระแทกบนสมอง คณะกรรมการจึงต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมที่จะเป็นสาเหตุของสมองบวมในเรื่องเกี่ยวเนื่องกับหลอดเลือดโป่งพอง หรือการขาดออกซิเจนอันอาจเกิดจากการกระทำของบุคคลอื่น หรือจะเป็นจากการขาดสติและเกิดการปิดกั้นภาวะทางเดินหายใจเอง

ซึ่งทำให้คนชายแดนใต้อดคิดไม่ได้ว่าการตายของผู้คนที่ตากใบเมื่อ 14-15 ปีก่อน ในมือหน่วยความมั่นคงก็ขาดอากาศหายใจ “เหตุการณ์ตากใบเกิดขึ้นในที่โล่ง กลางวันแสกๆ ก็ยังจับคนผิดมาลงโทษไม่ได้ จะไปหวังอะไรกับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในค่ายทหารในตอนกลางคืน”

ที่ผ่านมา ไม่ใช่มีเพียงแค่กรณีของนายอับดุลเลาะเพียงเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ หลายคนได้รับบาดเจ็บถึงขั้นพิการและเสียชีวิต แต่เรื่องดังกล่าวอาจไม่ได้รับความสนใจ เพราะประชาชนส่วนใหญ่อาจจะมองว่าพวกเขาทำความผิดบางอย่าง หรือเป็นนักโทษถึงถูกคุมตัว ซึ่งเราต้องเรียนว่า การที่คนเหล่านี้ถูกคุมตัวนั้น พวกเขายังไม่ได้ผ่านกระบวนการยุติธรรมใดๆ เลย จึงอยากให้สังคมหันมาสนใจปัญหาเหล่านี้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มากขึ้น” (https://voicetv.co.th/read/eJ6emlXx-…)
คําถามที่ยังก้องหูชาวบ้านว่า “จริงอยู่เหตุการตายหลักคือภาวะสมองขาดออกซิเจนและขาดเลือด ส่วนการติดเชื้อในปอดทำให้ปอดบวมแล้วลามเป็นการติดเชื้อในกระแสเลือดคือภาวะแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิต ตามที่แพทย์โรงพยาบาลกล่าว แต่สิ่งที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้คือ อะไรคือต้นเหตุให้เกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนและขาดเลือด …อันนี้อาจเกินภาระของแพทย์ แต่ต้องการให้คณะกรรมการสอบสวนที่เป็นกลางอย่างยิ่งในการหาสาเหตุเพื่อดำรงความรู้สึกไม่ยุติธรรมกลับคืนมา”

โจทย์ใหญ่ที่คอยสุมไฟใต้กองใหม่ตลอดคือความรู้สึกไม่ได้รับความเป็นธรรมเชิงประจักษ์ ที่ชาวบ้านสัมผัสได้

ดังนั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากล โปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้คือความท้าทายของทุกคนโดยเฉพาะคนทำงานการเมือง

(โปรดดูบทความผู้เขียนใน https://www.matichonweekly.com/column/article_223054)
นางสาวพรเพ็ญ คงขจรเกียรติ จากมูลนิธิผสานวัฒนธรรม ให้ทัศนะ ว่า “ช่างน่าเศร้าที่อับดุลเลาะไม่ใช่รายสุดท้าย

ถึงเวลาแล้วที่ผู้เกี่ยวข้องต้องช่วยกันระดมความคิดเพื่อปรับปรุงกฎหมายพิเศษและ ป.วิ อาญา ให้คุ้มครองสิทธิของผู้ต้องสงสัย/ผู้ต้องหาจากการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ เช่น ยกเลิกการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในค่ายทหาร ให้ศาลตรวจสอบการจับกุมและการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย/ผู้ต้องหา ให้สิทธิมีทนายความ/บุคคลที่ไว้วางใจในทุกขั้นตอน ต้องบันทึกภาพและเสียงขณะจับกุมและควบคุมผู้ต้องสงสัย/ผู้ต้องหา หากจำเลยต่อสู้ว่าถูกทำร้ายร่างกาย แล้วไม่มีการบันทึกภาพและเสียงไว้ ให้พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องรับฟังไม่ได้ และให้ภาระการพิสูจน์ตกแก่ฝ่ายรัฐ ฯลฯ เชื่อว่ามาตรการเหล่านี้สามารถลดการละเมิดสิทธิจากฝ่ายรัฐได้อย่างแน่นอน และเชื่อว่าผู้รู้ในบ้านเมืองมีข้อเสนอดี ๆ แก่สังคมอีกมากมาย…จากมิตรสหายท่านหนึ่ง”
#ต้องผลักดัน พรบ.ป้องกันและปราบการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
จากกรณีตร.สภ.เมืองนครสวรรค์ ซ้อมทรมานผู้ต้องหาถึงขั้นเสียชีวิต
.
มูลนิธิผสานวัฒนธรรมเห็นว่า การลงโทษทางวินัยด้วยการย้ายตำแหน่ง ผกก.สภ.เมืองนครสวรรค์ไม่ใช่ทางออกในการแก้ไขปัญหาการซ้อมทรมานระหว่างควบคุมตัวได้
.
แต่ต้องมีพรบ.ป้องกันและปราบการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย
.
กรณีซ้อมผู้ต้องหาที่นครสวรรค์นี้ ไม่ใช่ครั้งแรก กรณีนี้เคยเกิดกับยุทธนา ซ้ายซา และนัตพงศ์ ซ้ายซา ซึ่งถูกซ้อมโดยตร.สภ.ธาตุพนม 17 เม.ย. 63
.
โดยทหารชุดปราบปรามยาเสพติด เข้ามาจับ 2 คนนี้ที่กระท่อมนา ก่อนจะถูกนำตัวไปสภ.ธาตุพนม และทำให้นัตพงศ์ ถูกซ้อมจนบาดเจ็บสาหัส ส่วนยุทธนาเสียชีวิตหลังถูกซ้อม
.
และเช่นกัน กรณีนี้เคยเกิดขึ้นกับ อนัน เกิดแก้ว 9 พ.ย. 58 หลังถูกตร.ชุดปราบปรามยาเสพติด ตำรวจภูธรนครราชสีมาจับกุม และควบคุมในเซฟเฮ้าส์ เพื่อทำการสอบสวน
.
ต่อมาทางญาติได้รับแจ้งว่าอนัน เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา โดยไม่แจ้งสาเหตุ ก่อนจะเสียชีวิตที่โรงพยาบาลดังกล่าวในวันที่ 13 พ.ย. 58
.
ผสานวัฒนธรรม ต้องบอกอีกครั้งว่า ปัญหานี้จะแก้ไขได้ หากมีการตรา พรบ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายเป็นกฎหมาย
.
และต้องมีการปรับปรุงเชิงโครงสร้างในวิชาชีพตำรวจเพื่อสร้างความโปร่งใสและต้องไม่นำตร.ไปลงโทษเพียงทางวินัยเท่านั้น
#ตำรวจ ส่วนใหญ่ คือผู้พิทักษ์สันติราษฏร์
พล.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช อดีตรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รองผบ.ตร.) และอดีตคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) สะท้อนเมื่อทราบข่าวดังฉาวโฉ่วงการตำตำรวจว่า “เงียบ พูดไม่ออกบอกไม่ถูกจุกเพราะอาย” ผู้เขียนบอกกับท่านว่า “ไม่ต้องอาย ไม่ต้องเสียใจ ตำรวจ ส่วนใหญ่ คือผู้พิทักษ์สันติราษฏร์ ตำรวจเป็นโจรมีน้อย ตำรวจดีมีอีกเยอะ
เป็นกำลังใจให้ตำรวจดีๆ ครับ”

 5,532 total views,  4 views today

You may have missed