พฤษภาคม 5, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

งบเรียนฟรี15 ปีต้องสามารถปรับให้สอดคล้องวิกฤตโควิด ที่เรียนออนไลน์

แชร์เลย


อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
14 กรกฎาคม 2564 มีการประชุม​ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนประเภทการกุศลทั่วประเทศ​ เพื่อร่วมกันพิจารณาหาทางแบ่งเบาภาระให้ผู้ปกครองในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อเป็นข้อเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการ
นายชากิรีน สุมาลี ผู้จัดการโรงเรียน มุสลิมสันติธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดนครศรีธรรมราชมีข้อเสนอแนะที่คิดนอกกรอบ เพื่อให้สอดคล้องกับวิกฤตโควิด ที่นักเรียนต้องเรียนออนไลน์ อยู่ที่บ้าน โดยท่านได้กล่าวว่า “ผมได้เสนอให้​ทาง​ สํานักงานการศึกษาเอกชน(สช.)เปิดทางให้​ ร.ร.สามารถผันงบพัฒนาผู้เรียน​ มาช่วยเหลือนักเรียนที่ขาดความพร้อมในการเรียนออนไลน์​ เช่น​ นร.ไม่มีอุปกรณ์​, นร.ไม่มีเงินเติมค่าเนต”
ถ้าเรากลับไปดูรายละเอียดนโยบายเรียนฟรี อย่างมีคุณภาพพบว่า
“กระทรวงศึกษาธิการได้มีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี อย่างมีคุณภาพ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มุ่งหวังที่จะให้เป็นโครงการหนึ่งเพื่อช่วยแก้สภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ตามมาตรการที่รัฐต้องการจะหมุนเวียนเงินในระดับพื้นที่และลดภาระค่าครองชีพของประชาชนและที่สำคัญเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กยากจน และเด็กด้อยโอกาสทั่วประเทศ ก่อนหน้านี้กระทรวงศึกษาธิการได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน โดยจัดทั้งที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อหาข้อสรุปสำหรับกำหนดวิธีการที่เหมาะสมโดยยึดหลัก 4 ประการคือ

1. ประหยัดเงินงบประมาณแผ่นดิน
2. มีความโปร่งใส
3. มีปัญหาในทางปฏิบัติตามมาน้อยที่สุด
4. มีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายของสถานศึกษา

สำหรับการจัดสรรรายการตามนโยบายเรียนฟรี แบ่งออกเป็น 5 หมวด ได้แก่ หมวดค่าเล่าเรียน หมวดหนังสือเรียน หมวดอุปกรณ์การเรียน หมวดเครื่องแบบชุดนักเรียน และหมวดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สรุปรายละเอียดของหมวดต่างๆ ได้ดังนี้

หมวดค่าเล่าเรียน
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณค่าเล่าเรียน ให้แก่ผู้เรียนทั้งประเทศ ตามอัตราค่าใช้จ่ายต่อหัวที่ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในแต่ละระดับและประเภท โดยส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยฯ มีดังนี้

– ปวช.
(ช่างอุตสาหกรรม) คนละ 6,500 บาทต่อปี
(พาณิชยกรรม) คนละ 4,900 บาทต่อปี
(คหกรรม) คนละ 5,500 บาทต่อปี
(ศิลปกรรม) คนละ 6,200 บาทต่อปี
(เกษตรกรรมทั่วไป) คนละ 5,500 บาทต่อปี
(เกษตรกรรมปฏิรูป) คนละ 11,900 บาทต่อปี
– ปวช.คนละ 4,240 บาทต่อปี

หมวดหนังสือเรียน
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณค่าหนังสือเรียนให้แก่สถานศึกษา สำหรับบริหารจัดการได้เองตามวัตถุประสงค์ โดยกำหนดวิธีการให้ถูกต้องตามระเบียบของราชการ และให้มีการจัดระบบหนังสือยืมเรียนเพื่อส่งต่อให้นักเรียนในรุ่นต่อๆ ได้นำไปใช้ ทั้งนี้การดำเนินการคัดเลือกหนังสือเรียนของสถานศึกษานั้น กำหนดให้ต้องมีการพิจารณาตัดสินใจร่วมกันระหว่างคณะกรรมการสถานศึกษากับภาคี 4 ฝ่าย ซึ่งประกอบด้วยครู ผู้ปกครอง กรรมการนักเรียน และผู้แทนชุมชน สำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่าหนังสือเรียนตามรายหัว มีดังนี้

ก. การศึกษาในระบบ

ปวช.คนละ 1,000.00 บาท

ข. การศึกษานอกโรงเรียน

ปวช.คนละ 500 บาทต่อปี

หมวดอุปกรณ์การเรียน
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำบัญชีจ่ายเงินสดให้แก่ผู้ปกครองของนักเรียนตามเกณฑ์ ค่าใช้จ่ายรายหัว โดยผู้ปกครองและนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดซ้ออุปกรณ์การเรียนด้วยตนเอง และให้นำใบเสร็จรับเงินที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าเงินสดนั้น มาเป็นหลักฐานแสดงกับสถานศึกษา โดยมีการตรวจสอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและภาคี 4 ฝ่ายอีกชั้นหนึ่ง

ตัวอย่างรายการอุปกรณ์การเรียน ได้แก่ แบบฝึกหัด สมุด ดินสอ ปากกา ยางลบ เครื่องมือเรขาคณิต วัสดุฝึกด้านคอมพิวเตอร์ (เช่น แผ่นซีดี) กระดาษ A4 สีเทียน ดินน้ำมัน เป็นต้น

สำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่าอุปกรณ์การเรียน ปวช. คนละ 230 บาทต่อปี

หมวดเครื่องแบบนักเรียน
กระทรวงศึกษาธิการจัดจัดสรรงบประมาณให้สถานศึกษาดำเนินการจัดทำบัญชีจ่ายเงินสดให้แก่ผู้ปกครองนักเรียนตามเกณฑ์ค่าใช้จ่ายรายหัว โดยผู้ปกครองและนักเรียนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดซื้อเครื่องแบบนักเรียนด้วยตนเอง และให้นำใบเสร็จรับเงินที่มีมูลค่าไม่ต่ำกว่าเงินสดนั้น มาเป็นหลักฐานแสดงกับสถานศึกษา โดยมีการตรวจสอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและภาคี 4 ฝ่ายอีกชั้นหนึ่ง

สำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่าเครื่องแบบนักเรียน ปวช. คนละ 900 บาทต่อปี

ทั้งนี้ รายการเครื่องแบบนักเรียนที่กำหนดจะจัดสรรคือ คนละ 2 ชุดต่อปี ตามราคามาตรฐานคุณภาพซึ่งหากผู้ปกครองรายใดจะซื้อเครื่องแบบนักเรียนที่มีราคาสูงกว่า ก็จะต้องรับภาระในราคาส่วนต่างเอง และหากผู้ปกครองมีชุดเครื่องแบบนักเรียนเพียงพออยู่แล้วก็สามารถนำเงินไปซื้อเข็มขัด รองเท้า ถุงเท้า ชุดกีฬา ชุดลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารีได้ นอกจากนี้ ได้มีการกำหนดให้สำรวจผู้ปกครองที่ประสงค์จะสละสิทธิ์ไม่รับเงินค่าเครื่องแบบนักเรียน โดยถือเป็นนโยบายที่ทุกสถานศึกษาต้องการรณรงค์ให้มีการเสียสละสำหรับผู้มีฐานะดี ซึ่งสถานศึกษาจะได้มีหนังสือตอบขอบคุณและเชิดชูเกียรติผู้ปกครองที่แสดงความประสงค์สละสิทธิ์ และจะมีการนำเงินกองทุนที่ได้จากการสละสิทธิ์ไปช่วยเหลือสถานศึกษาที่ด้อยโอกาสต่อไป

หมวดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดสรรงบประมาณให้แก่สถานศึกษา สำหรับบริหารจัดการกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้เองตามวัตถุประสงค์ใน 4 กิจกรรม ได้แก่

1. กิจกรรมวิชาการ โดยจัดอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อคนต่อปี
2. กิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม เช่น ค่ายลูกเสือ ยุวกาชาด เนตรนารี โดยจัดอย่างน้อย 1 ครั้ง ต่อคนต่อปี
3. ทัศนศึกษานอกสถานที่ โดยจัดอย่างน้อย 1 ครั้งต่อคนต่อปี
4. บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคอมพิวเตอร์ โดยจัดอย่างน้อย 40 ชั่วโมง ต่อคนต่อปี
สำหรับเกณฑ์ของเงินที่จะจัดสรรเป็นค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีดังนี้

ก. การศึกษาในระบบ
ปวช.คนละ 475 บาทต่อภาคเรียน
ข.การศึกษานอกระบบ
ปวช.คนละ 530 บาทต่อภาคเรียน”
ดังนั้นนโยบายต้องสามารถปรับให้เท่าทันกับโควิดและการเรียนออนไลน์ที่ทำให้ สร้างความเลื่อมลำ้ เด็ก ในระบบมากกว่าร้อยละ 50
การคิดนอกกรอบอย่างท่านชากิรีน จะไม่สอดคล้องกับแนวคิด การบริหารแบบข้าราชการ ที่รวมศูนย์อำนาจ ซึ่งวิกฤตโควิด เช่นบริหารเรื่องวัคซีนได้สะท้อนเชิงประจักษ์ที่ทำให้คนไทยมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร?
ลองดูมีอะไรบ้างที่ต้องปรับ
1.ชุดนักเรียน
2.ทัศนศึกษา
3.งบนม
4.อื่นๆ

 11,404 total views,  4 views today

You may have missed