พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

รวมศูนย์อำนาจภายใต้รัฐราชการจะคอยซำ้เติมวิกฤตโควิด อะไรคือทางออก

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

การกระจายอำนาจคือกุญแจสำคัญและหนุนเสริมชุมชนจัดการตนเองในการแก้วิกฤตโควิด”ในขณะที่ “การบริหารรวมศูนย์อำนาจภายใต้รัฐราชการจะคอยซำ้เติมวิกฤตโควิด”นี่คือจุดร่วมของบทสะท้อนสั้นๆใน
เวที “สร้างสุขภาคใต้” ครั้งที่ 12 สานงาน เสริมพลัง ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ภาคใต้แห่งความสุขในวิถี New Normal 13-14 กรกฎาคม 2564 ทั้งๆกลไกในพื้นที่ มีการหนุนเสริม การทำงานแบบข้ามเครือข่าย ข้ามพื้นที่ ข้ามประเด็น สร้างความสุขคนใต้อันเป็นทางสังคมที่ชุมชนลุกขึ้นมาช่วยแก้ปัญหาวิกฤตโดยไม่รอรัฐ อย่างไรก็แล้วแต่ หากได้นำ “ประเด็นชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง “สู่นโยบายสาธารณะได้ ก็จะสามารถแก้ปัญหาวิกฤตโควิดและสร้างสุขอย่างยั่งยืนในอนาคต

สำหรับประเด็นชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง นั้นหลังมีการระดมความคิดเห็น อาจารย์สุวิทย์ หมัดอาดำ ได้นำเสนอดังนี้

#ข้อเสนอต่อชุมชน
1. ให้ชุมชนจัดพื้นที่กลางเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมเรียนรู้กับชุมชน เกิดการจัดการตนเองของชุมชนได้ตามบริบทของพื้นที่ ตามสภาพจริงอย่างเป็นรูปธรรม (พื้นที่กลาง เช่น สภาผู้นำชุมชน สภาองค์กรชุมชน เป็นต้น)
2. ให้ชุมชนและตำบล มีการจัดการข้อมูลและนำใช้ข้อมูลอย่างเป็นระบบ ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนา แผนป้องกัน แผนปฏิบัติการ และแผนฟื้นฟูเพื่อเยียวยา ตามแนวทางการสร้างชุมชนเข้มแข็ง เกิดความปลอดภัยต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่
3. ให้ผู้นำชุมชนสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพิ่มความหลากหลายของภาคี ให้สอดคล้องกับแผนชุมชน สอดคล้องภารกิจของหน่วยงาน ร่วมกับการใช้พื้นที่กลางเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน เพื่อการจัดการตนเองของชุมชน


#ข้อเสนอต่อภาคี
1. ให้ สปสช และ สสส. ร่วมกับภาคีในพื้นที่ จัดตั้ง “กองทุนสุขภาวะระดับพื้นที่” ให้เข้มแข็ง ชุมชนเกิดการเรียนรู้เพื่อการจัดการตนเองได้สอดคล้องกับนโยบาย ภายใต้บริบทจริงอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การสนับสนุนงบประมาณเยียวยาสถานการณ์ปัญหาฝ่าวิกฤติโควิด-19 เป็นต้น
2. ให้ภาคีทุกภาคส่วนในพื้นที่ มีส่วนร่วมสร้างหลักสูตร “ชุมชนเข้มแข็ง จัดการตนเองได้” เฉพาะพื้นที่ ชุมชนได้เรียนรู้การจัดการตนเองที่สอดคล้องกับบริบท นำใช้ความรู้เพื่อกำหนดทิศทางสร้างการมีส่วนร่วมในเชิงการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
3. ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สร้างระบบการจัดการข้อมูลตำบล ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูล (big data) ให้ประชาชนและหน่วยงานได้นำใช้ประโยชน์ร่วมกัน
4. ให้กระทรวงมหาดไทย มีนโยบายให้ผู้นำชุมชนที่ได้รับการแต่งตั้ง ผ่านการอบรมในหลักสูตร “ผู้นำเพื่อการจัดการหมู่บ้าน” ก่อนปฏิบัติงาน ให้ผู้นำเกิดกระบวนการเพิ่มขีดความสามารถ และการพัฒนาศักยภาพในด้านการจัดการหมู่บ้านตามบริบทของบุคคลและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เรียนรู้กระบวนการดำเนินงาน รวมถึงการกำหนดกลไกการเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์หรือเหตุการณ์ภัยพิบัติต่าง ๆ ได้
5. ขอให้หน่วยงาน ภาคีสนับสนุน ได้แก่ สสส. สปสช. สช. พอช. สนับสนุนกลไกการใช้พื้นที่กลางเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ให้ชุมชนสามารถจัดการตนเองได้
6. ให้ภาคีวิชาการ ร่วมสนับสนุนงานวิชาการที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาบริบทเฉพาะพื้นที่ในภาคใต้ เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อหยุดระบาดของโรค การจัดการทรัพยากรบริบทพื้นที่ตามภูมิศาสตร์ ฝั่งอ่าวไทย ฝั่งอันดามัน ใต้ตอนบน และชายแดนใต้ เป็นต้น
7. ให้ สปสช ทบทวนหลักเกณฑ์การสนับสนุนการใช้งบประมาณของกองทุนสุขภาพตำบล และให้สัดส่วนของคณะกรรมการให้มีผู้แทนจากสภาผู้นำชุมชน และสภาองค์กรชุมชนตำบล เพิ่มมากขึ้น และสนับสนุนงบประมาณ การจัดการข้อมูลโดยชุมชน การจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเอง การจัดทำแผนตำบล และการดำเนินงานเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชนสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการ ตามแนวทางการสร้างชุมชนเข้มแข็ง
ท่านยังกล่าวอีกว่า“ชุมชนเข้มแข็งไม่ใช่ชุมชนที่ทำอะไรได้ด้วยตนเองทุกอย่าง แต่ชุมชนรู้ว่าแนวทางในการจัดการตัวเองอย่างไรที่เหมาะสม ภายใต้การใช้ข้อมูลมาช่วย”

หมายเหตุ

เมื่อวันที่ 13 -14 กรกฎาคม 2564 ซึ่งผู้เขียนได้ร่วมเวทีนี้ด้วย ผ่านทางออนไลน์ ระบบ Zoom โดยมีเครือข่ายชุมชนภาคใต้เข้าร่วมรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประมาณ 1000 คน
สามารถ
อ่านต่อที่…สานงาน เสริมพลัง ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ภาคใต้แห่งความสุขในวิถี New Normal
http://ssss.network/xri4b
.
สามารถติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ที่ www.thaihealth.or.th
.
สามารถติดตามวารสารสร้างสุขฉบับออนไลน์ ข่าวสารด้านสุขภาพ และร่วมสนุกตอบคำถามพร้อมของรางวัลได้ที่ Line Official Account “สสส.สร้างสุข” คลิก >> https://lin.ee/gtFSTfG
.

 14,108 total views,  6 views today

You may have missed