อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
13 กรกฎาคม 2564 ซึ่งผู้เขียนได้ร่วมเวทีนี้ด้วย ผ่านทางออนไลน์ ระบบ Zoom โดยมีเครือข่ายสื่อชุมชนภาคใต้เข้าร่วมรับฟัง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประมาณ 100 คน
โดยแลกเปลี่ยนประเด็นคนทำงานสื่อภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงแปลงไป โดย คุณโสภิต หวังวิวัฒนา ผู้จัดการฝ่ายสื่อเสียง สำนักสื่อใหม่ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย หรือ Thai PBS POD CAST เล่าประสบการณ์การทำงาน และชวนคิดทบทวนการทำงานของสื่อ 1.) เราอยู่จุดไหน ในช่วงสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน ยุค Internet เทคโนโลยี แพลตฟอร์มใหม่ ซึ่งมีผลทั้งด้านบวก และลบ ชวนสำรวจบทบาทตนเอง ในขณะที่สื่อแข่งขันกับความเร็ว แรง และผลกระทบในวงกว้าง ก็ต้องต่อสู้กับ ข่าวลวง และ ข่าวปลอม Fake News ด้วย และที่สำคัญ คือ ความถูกต้อง โดยวิชาชีพ เราสื่อสารด้วยความรับผิดชอบ เพื่อเกิดผลในปลายทาง ต่างจากคนที่บอกว่า ตนเองเป็นนักข่าว นักสื่อสาร แต่ไม่รับผิดชอบ และไม่สนใจผลที่จะตามมา 2.ภูมิทัศน์สื่อเปลี่ยนแปลงไป เราจะก้าวต่อไปอย่างไร
“การนำเสนอประเด็น เนื้อหาสำคัญ คือ หัวใจ ทำอย่างไรเนื้อหาที่นำเสนอออกไปได้รับความเชื่อถือ ไว้วางใจ การทำงานทุกวัน สิ่งที่ทำคือ การสร้างคุณค่า ความรับผิดชอบ น่าเชื่อถือ เกิดความไว้วางใจ” คุณโสภิต กล่าวและว่า
3.) Local to Globle คิดเล็ก แต่สื่อสารไปได้ไกล ไม่จำกัดพื้นที่ วันนี้เราต้องตรวจสอบตนเอง เล่าอะไร และใครฟัง
จากนั้นเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ภาคสังคม คนทำงานสื่อออนไลน์ ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงมนุษย์ และสุขภาพ สะท้อนให้เห็น การทำงานแบบสื่ออาชีพ และสื่ออาสา ซึ่งมีจุดแข็งของการทำงาน พัฒนาในรูปแบบการสื่อสารสร้างผลกระทบได้ทั้งเชิงบวก และลบ ขณะที่เครือข่ายสื่อชุมชน สะท้อนการทำงานก้าวข้ามขีดจำกัด กำหนดแนวจริยธรรม สื่อต้องมีความรู้ และดูแลชุมชนได้ คุณภาพการสื่อสารดี เนื้อหาถูกต้อง มีการวิเคราะห์ข้อมูล เชื่อมโยงประเด็น โดยเฉพาะ วิธีการ How to จะทำอย่างไร มองว่าความปลอดภัยในการสื่อสาร คือ ถูกต้อง รับผิดชอบ และปรับทัศนคติคนในสังคมได้
ในขณะที่ผู้เขียนได้สะท้อน ว่า “
#การสื่อสารประเด็นโควิด:โจทย์ใหญ่ที่ชายแดนภาคใต้ การสื่อสารในเชิงสุขภาพ หลักสำคัญคือ การเน้นให้ความมั่นใจกับประชาชนว่า รัฐบาลมีความสามารถในการรับมือกับสถานการณ์
.
.
ดังนั้นอะไรคือข้อเสนอแนะ?
การสนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับการรับมือกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งสายพันธุ์ปกติ และสายพันธุ์ใหม่ ไปจนถึงความสำคัญของการเข้ารับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสดังกล่าว กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะชุมชนห่างไกล เพื่อสร้างความเข้าใจ และลดการไม่เข้าใจกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน
✓ รัฐกับเอกชนร่วมออกแบบการสื่อสารที่ชัดเจนมากขึ้นจากทางรัฐ เอกชนและชุมชนต้องมีส่วนร่วมเพื่อให้ประชาชนหลายกลุ่มเท่าทันสถานการณ์ ให้ชุมชนรับรู้ปัญหาโดยเร็ว โดยไม่ต้องบังคับ การสื่อสารในภาวะวิกฤต แบ่งกลุ่มทั่วไป เฉพาะกลุ่ม ชุมชน
นอกจากนี้การรายงานข่าว ภายใต้กฎอัยการศึกและพรก.ฉุกเฉินที่เสียงประชาชนคนตัวเล็กตัวน้อยชาวบ้านยังไม่ได้ถูกสะท้อนอย่างอิสระเพราะผู้สื่อข่าวก็(อาจจะ)กฎหมายดังกล่าวซึ่งที่อื่นๆของประเทศไทยไม่มีจากข้อมูลของมูลนิธิผสานวัฒนธรรมพบว่า “หนึ่ง
นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนมิถุนายน 2564 พบว่า ยังมีปฏิบัติการทางทหารของทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากกว่าช่วงเวลาปกติ เช่น การปิดล้อมตรวจค้น และเกิดเหตุปะทะจนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 7 คน อีกทั้งมีการจับกุมบุคคลตามอำนาจกฎอัยการศึกจำนวน 82 คน
สอง การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในสถานการณ์โควิด บางรายอาจเป็นกรณีซัดทอด ไม่มีหลักฐานชัดเจน สถิติไม่ได้ลดลงเลย เรื่องร้องเรียนจากญาติผู้ถูกจับกุม พวกเขายากจนทุกคนมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเดินทางข้ามจังหวัดการควบคุมตัวที่ค่ายทหารอิงคยุทธที่จังหวัดปัตตานีทำให้เยี่ยมญาติต้องใช้เงินค่าใช้จ่ายสูง บางครอบครัวไม่ไปสามารถมาเยี่ยมได้ บางรายควบคุมตัวนานถึง 37 วัน” เหล่านี้ทั้งสื่อในพื้นที่และส่วนกลางยังไม่มีใครรายงานหรืออาจจะมี? ซึ่งท้ายสุดจะส่งผลกระทบต่อสันติภาพในพื้นที่ในที่สุด ก็อยากเสนอว่า จะทำได้อย่างไรบ้างสิ่งเหล่านี้ที่เฉพาะชายแดนใต้ เป็นนโยบายสาธารณะ “การสื่อสารเพื่อสันติภาพในเชิงประจักษ์มิใช่แค่ทฤษฎี”
ผู้เขียนได้เพิ่มจากการายงานของ
พัชรา ยิ่งดำนุ่น
สถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี
11,722 total views, 4 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.