อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
ผู้เขียนได้โอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นไม่ต่ำกว่า 5 เวทีระหว่างตัวแทนภาคประชาชน นักสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ สื่อ นักการเมืองและอื่นๆที่ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาปัญหาโควิดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า วิกฤตครั้งนี้ ยิ่งทำให้ปัญหาทับซ้อนปัญหาวิกฤตชายแดนใต้หรือไฟใต้ตลอดกว่า 17 ปีที่ผ่านมาขึ้นไปอีกไม่ว่าการเมือง สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา สาธารณสุข สิทธิมนุษยชน และอื่นๆ อย่างไรก็แล้วแต่ด้วยทุนทางสังคมและชุมชนหลายพื้นที่ สามารถช่วยแก้ปัญหาด้วยตนเองเบื้องต้นได้ แต่ปัญหารัฐที่รวมศูนย์ภายใต้กฎหมายพิเศษชายแดนภาคใต้ที่หน่วยความมั่นคงเป็นใหญ่ ไม่ได้เอื้อต่อชุมชนที่ลุกขึ้นมาจัดการตนเองสักเท่าไหร่
จากบทสนทนา ดังกล่าวจึงออกเป็นข้อเสนอแนะเร่งด่วนได้ดังนี้
.
1. แปลงงบความมั่นคงชายแดนใต้สู่งบสาธารณสุข
“รัฐต้องตัดงบประมาณของประเทศที่ไม่จำเป็น ผันงบมาช่วยดูแลระบบสาธารณสุขทั้งประเทศที่ใกล้จะล่ม เนื่องจาการระบาดอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนามเปิดไม่ทันกับจำนวนคนไข้ที่เพิ่มขึ้นมากในแต่ละวัน เตียงไอซียูเต็ม ผู้ป่วยโควิดไปเบียดเตียงของคนไข้โรคอื่น ประชาชนต้องพึ่งตัวเองไม่สามารถเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข จนทำให้โรคกำเริบและหลายรายต้องเสียชีวิตอยู่ที่บ้าน เพราะโรงพยาบาลไม่มีเตียงรับ”
1.1 มาตรการลดจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลหลัก
1.1.1 สนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามของชุมชน หรือสถานที่กักตัวกลุ่มเสี่ยงเพื่อระวังการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน หรือการกักตัวในบ้าน ให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
1.1.2 ส่งเสริมการรักษาหรือสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายแบบพื้นบ้าน การใช้สมุนไพรไทย มีตัวอย่างประสบการณ์ในพื้นที่
1.2 มาตรการเพิ่มอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นเร่งด่วนทั้งสำหรับโรงพยาบาลหลักและ
โรงพยาบาลสนาม
2. รัฐบาลจำเป็นจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อเยียวยาและช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบอาชีพอิสระ แรงงาน และชุมชนที่ถูกปิดทางเข้า-ออก
2.1 เร่งการจัดประชุมร่วมกับร่วมกันกับหอการค้าทุกจังหวัด เพื่อนำเสนอปัญหาของผู้ค้ารายย่อย แรงงานรายวัน แรงงานในภาคบริการ เพราะยังมีมาตรการที่ไม่สามารถนั่งรับประทานอาหารได้ เพื่อหามาตรการที่เหมาะสมของแต่ละพื้นที่แทนการบังคับปิดทุกกรณีทุกกิจการ
2.2 มาตราการการสร้างความเชื่อมั่น ในพื้นที่สาธารณะให้มีความสะอาด และรองรับการค้าขายที่จำเป็น เช่นทำความสะอาดตลาด การสแกน QR code เข้าเมืองยะลา อยากให้มีการสแกนคนเข้าตลาด
2.3 ส่งเสริมการทำงานของท้องถิ่นทั้งในระดับเทศบาลและ ในชุมชนในพื้นที่หมู่บ้าน ตำบล เช่นเทศบาลนครยะลา การทำงานของชุมชนไปได้ดีมาก ชุมชนจัดการตนเอง มักจะมีการแจ้งทางเทศบาลถ้าพบหรือมีข้อสงสัยเรื่องการแพร่เชื้อ เทศบาลก็ให้คำปรึกษาหารือ เรื่องการกระจายอำนาจ
3. ขอให้ยุติการจับกุมควบคุมตัวบุคคลตามกฎอัยการศึกและพรก.ฉุกเฉิน
3.1 นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนมิถุนายน 2564 พบว่า ยังมีปฏิบัติการทางทหารของทั้งสองฝ่ายเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากกว่าช่วงเวลาปกติ เช่น การปิดล้อมตรวจค้น และเกิดเหตุปะทะจนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 7 คน อีกทั้งมีการจับกุมบุคคลตามอำนาจกฎอัยการศึกจำนวน 82 คน
3.2 การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในสถานการณ์โควิด บางรายอาจเป็นกรณีซัดทอด ไม่มีหลักฐานชัดเจน สถิติไม่ได้ลดลงเลย เรื่องร้องเรียนจากญาติผู้ถูกจับกุม พวกเขายากจนทุกคนมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ การเดินทางข้ามจังหวัดการควบคุมตัวที่ค่ายทหารอิงคยุทธที่จังหวัดปัตตานีทำให้เยี่ยมญาติต้องใช้เงินค่าใช้จ่ายสูง บางครอบครัวไม่ไปสามารถมาเยี่ยมได้ บางรายควบคุมตัวนานถึง 37 วัน
4. การสนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับการรับมือกับเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งสายพันธุ์ปกติ และสายพันธุ์ใหม่ เช่น อังกฤษ อินเดีย และแอฟริกาใต้ ไปจนถึงความสำคัญของการเข้ารับวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสดังกล่าว กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะชุมชนห่างไกล เพื่อสร้างความเข้าใจ และลดการไม่เข้าใจกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน
5. ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาเช่นพัฒนาคุณภาพบุคลากรครูอาจารย์และการเรียนการสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนในชนบทและที่ห่างไกล นำเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อส่งเสริมการเรียนทางไกล ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้ประชาชนได้มีโอกาสเรียนรู้ทักษะใหม่ๆหรือพัฒนาทักษะเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันกับโลกยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล แต่ต้องไปสนับอุปกรณ์ การติดตั้งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงฟรีเป็นต้น
6.
ข้อเสนอเฉพาะ “เด็กและสตรี”
เริ่มตั้งแต่แยกสถิติพวกเขาเฉพาะเพื่อสะดวกในดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องเด็กและสตรีท้ายสุดให้มีโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตั้งแต่สาธารณสุข เยียวยา ให้คำปรึกษาหารือ ทักษะชีวิตและอาชีพ
7. รัฐต้องจัดหาวัคซีนเป็นกรณีพิเศษทั้งจำนวนและคุณภาพ โดยเน้นวัคซีนที่มีคุณภาพสูงเนื่องจาก 5 จังหวัดเป็นด่านหน้ามีแนวชายแดนที่ติดกับเพื่อนบ้านอาจพบเชื้อโควิดกลายพันธุ์ที่วัคซีนธรรมดาไม่สามารถป้องกันได้ อีกทั้งเป็นการแสดงความจริงใจและความมุ่งมั่นว่าต้องการดูแลประชาชนทุกคนอยากให้การบริหารจัดการเข้าถึงทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่มีความเห็นต่างซึ่งไม่ไว้วางใจรัฐเป็นทุนเดิม จะได้มีโอกาสในการเข้าถึงวัคซีนได้ครอบคลุมมากขึ้น
8.
ในระยะยาวการปฏิรูปเชิงโครงสร้างโดยเฉพาะการกระจายอำนาจที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ชายแดนภาคใต้ที่เรียกร้องมาตลอด
หมายเหตุนำเสนอในเวที
งานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2564 “สานงาน เสริมพลัง ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ภาคใต้แห่งความสุขในวิถี New Normal” ระหว่างวันที่ 13 กรกฎาคม 2564
12,100 total views, 4 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.