พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

โรงพยาบาลสนามจะนะ:จากโรงเรียนศาสนาสู่มัสยิดในชุมชนหากเป็นไปได้

แชร์เลย


อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
29 มิถุนายน 2564

โรงเรียนศาสนบำรุง มีพิธีเปิดโรงพยาบาลสนามแห่งที่สองที่โรงเรียนศาสนบำรุง ซึ่งโรงเรียนนี้ เป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาที่อาสาเสนอตัว เปิดเป็นโรงพยาบาลสนาม อันเนื่องมาจากสถานการณ์ผู้ติดโควิดของอำเภอจะนะนับวันมีจำนวนเพิ่มขึ้น แม้ก่อนหน้านี้จะมีการเปิดโรงพยาบาลสนาม 1 แห่งที่โรงเรียนจะนะวิทยาอันเป็นโรงเรียนของรัฐ และมีการเปิดศูนย์กักตัวชุมชนและองค์กรแล้วสองแห่ง
(อ่านข่าวย้อนหลังใน #บทบาท ผู้รู้และโรงเรียนสอนศาสนาในการลุกขึ้นแก้วิกฤตโควิดจะนะ:สานต่อภารกิจอุลามาอ์จะนะในอดีต
อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) http://spmcnews.com/?p=41581)
นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องเปิดโรงพยาบาลสนาม “ผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นรวดเร็วนั้นมาจาก 3 กลุ่มผู้ป่วย ได้แก่ กลุ่มสะเก็ดไฟ จากในอำเภอหาดใหญ่และอำเภอเมือง กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและกลุ่มมัรกัซยะลา ซึ่งในขณะนี้ถือว่าเป็นการระบาดในกลุ่มชุมชน ทำให้ต้องเร่งทำการสอบสวนโรคและนำเข้าสู่กระบวนการตรวจเชื้อเชิงรุก และนำตัวเข้ารับการรักษาให้ได้โดยเร็ว โดยประเมินว่า จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ในการควบคุมโรค ให้เหลือผู้ป่วยติดเชื้อรายวันให้เหลือไม่ถึง 10 คนต่อวัน ตอนนี้โรงพยาบาลเต็มแล้ว มีเตียงไม่เตียงไม่พอ จำเป็นต้องเปิดโรงพยาบาลสนามแห่งที่สอง ต้องขอบคุณโรงเรียนศาสนบำรุง ที่ให้ความร่วมมือช่วยเหลือในครั้งนี้มากๆ”
บาบอฮุสณี บินหะยีคอเนาะโต๊ะครูโรงเรียน กล่าวว่า


“คณะผู้บริหารโรงเรียนศาสนบำรุง​ขอขอบขอบคุณ​ทีมงาน
-หมอ​สุภัทร​ ฮาสุวรรณ​กิจ​ ผู้นวยการโรงพยาบาลจะนะและ​ีมงานอสม.
-ท่านนายกสภากาชาดจังหวัดขลา
-ท่านประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด​สงขลา
-ดร.วิ​สุทธิ​ บินลาเตะ
-รองนายกอบจ.สงขลาดร.อับดุลรอหมาน​ กาเหย็ม
– นางสาวปรินดา ปาลาเร่
เลขานายกอบจ.สงขลา
-คุณ​อิสมาแอล​ หมัดอาดัมพร้อมทีมงานมูลนิธิคนช่วยคน
-ผู้กำกับสภ.จะนะ
-ผู้​อำนวยการสนง.การศึกษา​เอกชนอำเภอจะนะ
-นายกเทศบาลตำบลจะนะ
-นายกเทศบาลตำบลบ้านนา
–กลุ่ม​ออมทรัพย์​พัฒนา​บ้านพ้อแดง
ดร.ขดดะรี​ บินเซ็น​ นายกสมาคมสมาพันธ์​โรงเรียนเอกชนภาคใต้​
ดร.มังโสด​ หมะเต๊ะ
ที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนจ.สงขลา
และชาวบ้านตำบลบ้านนาและหมู่บ้าน​ไกล้เคียง
ที่ร่วมมาให้กำลังใจพิธีเปิดโรงพยาบาลสนามโรงเรียนศาสนบำรุง”

บอบอฮุสณีกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ เมื่อพี่น้องประสบความเดือนเรามีโอกาสเราก็ต้องช่วยเหลือกันและขอบคุณทุกภาคส่วนร่วมทั้งพี่น้องพุทธที่ให้การสนับสนุนด้วย”
นาย มุหัมหมัด ล่าเม๊าะ จากกลุ่ม​ออมทรัพย์​พัฒนา​บ้านพ้อแดง ซึ่งได้มาร่วมในพิธีครั้งนี้ได้ให้ทัศนะและข้อเสนอที่น่าสนใจว่า

ขณะที่นั่งรอความพร้อมจากผู้สนับสนุน ผมมีข้อเสนอแนะว่า ปัจจุบันโควิด19 ได้ระบาดไปเกือบทุกพื้นที่จนต้องปิดมัสยิดงดไม่ให้มีการละหมาดญะมาอะฮ์ ละหมาดญุมอัต ไปจนกว่าสถานการณ์จะคืนสู่สภาพปกติ ในเมื่อโรงพยาบาลเต็ม มัสยิดปิดยาว ผมมีความเห็นว่า

สาเหตุส่วนหนึ่งที่โควิดแพร่ระบาดไดรวดเร็วขนาดนี้ เพราะมาตรการการป้องกันที่ไม่ละเอียด รอบคอบกล่าวคือการกักตัวของกลุ่มเสี่ยงแนะคือการให้กลุ่มเสี่ยงกักตัวที่บ้าน เพราะบ้านหลังหนึ่งไม่ได้อยู่คนเดี่ยว บางบ้านเป็นครอบครัวใหญ่ อยู่กันหลายคนคนท่ถูกกักแม้จะไม่ออกไปไหน แต่คนอื่นมีกิจกรรมผมโน่นนี่ โอกาสที่จะติดเชื่อก็งมากและจะระบากไปอยากมากอาจะหาไทม์ไลน์ไม่ได้

ต่างกับมาตการป้อวกันในการระบาดครั้งแรกที่ต้องให้มีการกักตัวที่ใดที่หรึ่งเป็นการเฉพาะที่ทำให้การบริหารจัดการได้ง่าย และสามารถระงับ ป้องกันการระบาดของเชื้อไวรัสได้มากที่สุด และใจจังหวัดสงขลาก็เกิดจากแหล่งคลัสเตอร์ที่ใหญ่มากๆ ทำไมทางราชการไม่มีการปิดโรงงาน ทั้งการระบาดครั้งแรกแหล่งคลัสเตอร์ขนาดเล็กกว่ามากแต่ทางการจึงประกาศปิด มันมีอะไรอยู่เบื้องหน้าเบื้องหลังอย่างไรไม่ทราบ

ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะคือ

1.ให้ประสานขอความร่วมมือกับมัสยิด ที่มีความพร้อม ในแต่ละหมู่บ้านเป็นสถานกักตัว โดยให้ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะเสี่ยงที่ต้องกักตัว 14วัน ตามมาตรการที่กำหนดในหมู่บ้านนั้นเพื่อรอผลเลือด

2.ให้อาสาสมัคร(อสม.)เป็นผู้ดูแล ประสานงานกับทางรพ.สต.ในตำบลรับผิดชอบในการดูแลรักษาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการปฏิบัติในการป้องกันโควิด อย่าให้ชุมชนเกิดสูญญากาศทางความรู้ด้านสาธารณสุข จนมองเห็นคนกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ที่ติดเชื้อโควิดว่าเป็นบุคคลที่น่ารังเกียรติจนไม่อยากช่วยเหลือ แต่ให้ทุกคนมองด้วยความเมตตาสงสารเพราะไม่มีใครอยากให้เกิด

3. ตลอดระยะเวลาการกักตัวให้โต๊ะครูผู้ศาสนาไปให้ความรู้เป็นระยะ และให้เว้นระยะห่างกันอย่างจริงจังและเข้มงวด

4.ให้ชุมชน ญาติพี่น้องได้ร่วมมือช่วยเหลือกันตามกำลังความสามารถ ด้วยมาตรการเข้าออกของชุมชน

5.ทำให้ทุกคนได้เห็นความสำคัญและคุณค่าของมัสยิดทั้งโลกนี้และโลกหน้า และจะทำให้กลุ่มนี้มีช่วรักษาฟัรฏูกิฟาญะฮ์ด้วย และพวกเขาไดร่วมดูแลรักษาความสะอาดทั้ภายในและภายนอกมัสยิดไปด้วย

ถ้าทำได้คิดดีกว่าปล่อยให้มัสยิดตกอยู่ในสภาพที่เงียบเหงาไม่มีการใช้ประโยชน์เอาเสียเลย

จะถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ แต่มันเป็นเพียงแนวคิดหนึ่งที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด19 ก็ลองพิจรณาดูครับ”
หมายเหตุ
ประมวลภาพใน https://www.facebook.com/1245604111/posts/10226254692374147/?d=n

 27,672 total views,  6 views today

You may have missed