พฤศจิกายน 26, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

โควิด​ ศาสนาและการเมือง อิหม่ามดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ

แชร์เลย

ศาสนวิทยากรบางคนอ่อนไหวอย่างยิ่งเมื่อคนทำงานศาสนาด้วยกันวิพากษ์วิจารณ์การเมือง

เพราะในสายตาของพวกเขา​ ศาสนาต้องแยกจากการเมืองอย่างสิ้นเชิง​ !!!

แนวคิดลักษณะนี้​ ไม่ได้มีที่มาทั้งจากอัลกุรอานและซุนนะฮ​ ซึ่งถือเป็นแหล่งกำเนิดหลักของบทบัญญัติต่าง​ ๆ​ ในอิสลาม

อัลกุรอานกลับพูดถึงทั้งบทบาทหน้าที่ของผู้นำและผู้ตาม​ พร้อมวางบทบัญญัติต่าง​ ๆ​ ที่ครอบคลุมวิถีชีวิตผู้คนอย่างบูรณาการ​ ซึ่งทั้งหมดล้วนต้องใช้การเมืองที่เข้มแข็งมาบริหารจัดการให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ขององค์ผู้บัญญัติ

หาไม่แล้ว​ ทั้งหมดก็เป็นได้แค่อักษรที่ถูกจดจารเป็นคัมภีร์โดยไม่มีผลต่อการกำหนดวิถีชีวิต

ศาสนทูตจึงต้องเป็นทั้งผู้เผยแผ่คัมภีร์พร้อมทั้งต้องบริหารจัดการสังคมไปด้วย​ นั่นก็หมายความว่าบทบาทด้านหนึ่งของศาสนทูตคือการเป็นนักการเมืองนั่นเอง

แต่การสอนว่าศาสนาต้องไม่ยุ่งการเมือง​ ได้ทำให้เกิดความย้อนแย้งอย่างยิ่งในวิถีชีวิตมุสลิม

คนกลุ่มที่สอนไม่ให้ยุ่งการเมือง​ ในความเป็นจริงก็กำลังดำเนินการทางเมืองในกลุ่มของตนเอง​ เป็นการเมืองของ”การไม่ยุ่งการเมือง”

การเมืองที่ไม่ยุ่งกับการเมืองเป็นสาเหตุหนึ่งของการได้คนเลวมาปกครองประเทศ​ ซึ่งย้อนแย้งอย่างยิ่งกับคำสอนอิสลามที่ให้ส่งเสริมคนดี​ ยับยั้งคนเลว

ในสถานการณ์โควิด​ 19​ ระบาด​ การเมืองที่ไม่ยุ่ง

การเมืองก็สร้างภาวะการขัดขืนมาตรการป้องกันโควิด​ 19​ ขึ้นในกลุ่ม​ โดยมองว่ามาตรการดังกล่าวเป็นเพียงเรื่องของการเมือง

การขัดขืนนำมาซึ่งการแพร่เชื้อครั้งใหญ่ใน​ 12​ จังหวัด

การเมืองที่ไม่ยุ่งการเมืองแบบนี้​ นับแต่อดีตถึงปัจจุบันแทบไม่ได้ทำให้สังคมมุสลิมเข้มแข็งขึ้นแต่ประการใด

 14,522 total views,  2 views today

You may have missed