พฤษภาคม 8, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

#ภาคประชาชน อีกปัจจัย(สำคัญ)แก้ปัญหาโควิดในพื้นที่

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ) เรียบเรียง

Shukur2003@yahoo.co.uk,

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ผู้เขียนได้มีโอกาสร่วมเสวนา ผ่าน Zoom เกี่ยวกับบทเรียนภาคประชาชนในการแก้ปัญหาโควิดสัปดาห์นี้ (เสาร์ที่ 29 และอาทิตย์ที่30 พฤษภาคม 2564)2 เวที หนึ่งพี่น้องเครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดชายแดนภาคใต้และสองพี่น้องเครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดสงขลาซึ่งมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า

“หนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส (COVID-19) ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คือ บทบาทของภาคประชาชน (non-state actors) “
เราเห็นภาคประชาชนมากมายลงพื้นที่ช่วยชาวบ้านอีกแรงก่อนที่ความช่วยเหลือรัฐไปถึงหรืออาจจะชักช้าเพราะกฎระเบียบเช่น “เครือข่ายชาวประมง ปากบาง สะกอม จะนะ”ส่งใจให้ ชาวคลองเตย กรุงเทพมหานครในอาหารปันรักซึ่งความเป็นจริงกิจกรรมนี้ทางเครือข่ายทำมาหลายครั้งหลายพื้นที่ซึ่งอาจารย์นาสอรี หว่าหลำในฐานะแกนนำเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านที่นี้ได้กล่าวว่า“โควิดรอบแรก เครือข่ายเรา นำอาหารทะเลปรุงสุข มอบเป็นกำลังใจชาวหาดใหญ่ โรงพยาบาลจะนะ 2 ครั้ง โควิด รอบสามครั้งนี้ครั้งที่สองมอบให้ชาวคลองเตย ที่ประสบโควิด ครั้งต่อไปเราจะส่งใจปันใจต่อชาวโคกเมา อำเภอบางกลำ่ จังหวัดสงขลา”
บทเรียน โควิดรอบที่หนึ่งรอบสอง
“บทบาทของภาคประชาชน (non-state actors) ตั้งแต่การให้ความร่วมมือ (cooperation) อย่างดีกับมาตรการภาครัฐในการควบคุมโรค และการจำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ร่วมใส่หน้ากาก ปิดออฟฟิศ กินร้อน ช้อนเรา อยู่บ้าน ล้างมือ ถือเจลแอลกฮอลล์ ไปจนถึงการเข้ามามีส่วนร่วม (participation) ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในช่วงเวลาสำคัญต่างๆ เช่น ร่วมจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ที่ขาดแคลนให้กับโรงพยาบาล ระดมอาหาร อุปกรณ์ป้องกันโรค และยาสามัญประจำบ้านเพื่อช่วยเหลือประชากรกลุ่มเปราะบาง การส่งอาหารแก่ชุมชนที่ถูกปิดหมู่บ้าน รักษาระยะห่าง (social distancing) ในช่วงปิดเมือง การปิดมัสยิดให้ผู้คนละหมาดที่บ้าน เป็นต้น การถอดบทเรียนความสำเร็จจากพลังพลเมืองเหล่านี้ เพื่อเผชิญหน้าการกลับมาของโควิด-19 ระลอกสามที่หนักกว่าทั้งสองครั้งมากๆ”


ในระลอกแรก(แต่ยังไม่เห็นรอบสามครั้งนี้)ของการแก้ปัญหาโควิดที่ชายแดนภาคใต้เราเห็นความร่วมมือ รัฐ นักการเมืองที่ประชาชนเลือกตั้ง ภาควิชาการและภาคประชาชน “ส.ส.ชายแดนใต้ทั้งฝ่ายรัฐบาล-ค้านารอภิปราย พรก.3 ฉบับเพื่อแก้ปัญหาในสถานการณ์ระบาดไวรัสโควิด-19ได้ดีไปในแนวทางเดียวกันเป็นผลมาจากการจับมือร่วมกันของการทำงานทางการเมืองเพื่อแก้ปัญหาโควิด-19 ในพื้นที่อย่างสร้างสรรค์คำนึงถึงความเดือดร้อนประชาชนคนกาคะแนนเข้าสภาแม้จะต่างพรรคและที่สำคัญต่างขั้วการเมืองที่เป็นกำแพงระหว่างพรรครัฐบาลกับฝ่ายค้านมาก่อนการอภิปราย สุวรา แก้วนุ้ย ฐานะนักวิชาการที่ทำงานในพื้นที่คือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้สะท้อนเรื่องนี้ได้ดีว่า “
ในวันที่ทุกคนเดินข้ามเส้นแบ่งฝ่ายทางการเมือง การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อท้ังด้านสาธารณสุข สังคม และเศรษฐกิจทุกพื้นที่ในสังคมรวมถึงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นพื้นที่การระบาดที่รุนแรงในประเทศไทย”(โปรดดู http://spmcnews.com/?p=30538)
ในข้อเสนอแนะสำคัญที่ได้จากการพูดคุยของเครือข่ายภาคประชาชนสงขลาคือ การสร้างกลไกเพื่อความมั่นใจในช่วงการระบาดระยะยาวเพราะดูจากสถานการณ์โควิดรอบสามโดย
ให้ชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบมาตรการ ความปลอดภัยของแหล่งคลัสเตอร์โควิดเช่นโรงงานเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาการแพร่กระจายของ COVID-19 ที่อาจกระจายสู่ชุมชนได้ รวมถึงการปฏิบัติต่อแรงงานตามมาตรฐานบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน
และขอให้มีตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ ในจังหวัดสงขลา มีส่วนร่วมในการร่วมตัดสินใจและกำหนดมาตรการต่างๆ ของจังหวัดที่ส่งผลกระทบกับชุมชน เพราะศคบ.จังหวัดรวมศูนย์ที่ผู้ราชการและตัวแทนข้าราชการเท่านั้น
โดยสงขลาเสนอโมเดลเครือข่ายภาคประชาชนติดตามการแก้ปัญหาโควิดซึ่งงานแรกโดยทำหนังสือถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาขอแก้ปัญหาโควิดอย่างมีส่วนร่วม “อ่านเพิ่มเติมใน”รายงานโดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ http://spmcnews.com/?p=40717)
อีกเรื่องที่สำคัญมากๆคือการรณรงค์ฉีดวัคซีนของรัฐแก่ประชาชนซึ่งในภาพรวมประชาชนยังคาดความมั่นใจในตัววัคซีนยิ่งจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็ยากยิ่งในการสื่อสารหลายเท่าตัวโซ่ข้อกลางที่ช่วยก็ภาคประชาชนอีกเช่นกัน สิ่งสำคัญอีกประการคือภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสียง ให้รัฐสามารถ บริการ วัคซีน ทางเลือก หลายๆยี่ห้ออย่างเท่าเทียมเพียงพอตรวจสอบได้ ที่พวกเขามีอิสระในการเลือกที่จะฉีด

 

หมายเหตุเวทีเสวนาครั้งที่1
หัวข้อ
#บทบาทองค์กรภาคประชาสังคมกับสถานการณ์โควิด
พบกับ
– อาเต็ฟ โซ๊ะโก ประธาน The Patani
– กันตพัฒน์ ทวีผล ทรัพย์ อสม.ตำบลควน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี และ อสม.ดีเด่น สาขาภูมิปัญหาท้องถิ่นด้านสุขภาพ ระดับจังหวัด
– อับดุลการีม อัสมะแอ อาจารย์หัวหน้าสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฎอนี
– บาสรี มะเซ็ง สมาคมสะพานปัญญาชายแดนใต้
– อ.อับดุลสุโก ดินอะ นักวิชาการอิสระ/เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
– นายฆอซาลี อาแว นักวิจัยสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล : ผู้ดำเนินรายการ
เฟสบุ๊คสภาประชาสังคมชายแดนใต้ พรุ่งนี้ (วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2564)
เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป
(ดูคลิปย้อนหลังใน https://www.facebook.com/904009766384529/videos/1122751701572895/)

 10,239 total views,  2 views today

You may have missed