สรุปความโดย อจ.สุไฮมี อาแว
✓ประโยชน์ของการฉีดวัคซีน
:ป้องกันตัวเราและป้องกันคนอื่น
อิสลามให้ความสำคัญในเรื่องนี้;
قَالَ رَسُوْلُ اللهِ : لاَ ضَرَرَ وَلاَ ضِرَار
(صحيح الجامع : 7517)
ความว่า “ท่านรสูล ได้กล่าวว่า ไม่อนุญาตสร้างความเดือดร้อน ทำลายให้กับตัวเองและผู้อื่น”
✓ความแตกต่างของแต่ละวัคซีน
• แอสตร้าเซนิก้า/ชิโนแวค ใช้เทคนิคการผลิต RNAโดยทำให้เชื้อโรคอ่อนตัวลงแล้วนำไปใช้เป็นวัคซีน ข้อดีมันจะสามารถรู้จักเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย/ป้องกันจากกรณีเชื้อกลายพันธุ์ เช่นเชื้อจากสายพันธุ์อินเดีย สายพันธุ์แอฟริกาใต้ที่ระบาดรอบใหม่ที่นราธิวาส ฯลฯ
•ไฟรเซอร์/โมเดิร์นน่า ใช้เทคนิคการผลิต mRNAโดยนำโปรตีนจากเชื้อโรคแล้วนำไปฝากกับไวรัสตัวอื่น ข้อดีมันจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เร็ว เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา แต่มันจะไม่รู้จักจากกรณีเป็นเชื้อกลายพันธุ์
✓ความเสี่ยงจากผลข้างเคียงของวัคซีน
อัตราการตายจากการฉีดวัคซีนมีร้อยละ .0004 ถ้าเทียบกับการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนที่มีค่า(จำนวน)มากกว่า และเกิดขึ้นทุกวันตามสื่อ
ดังนั้นถ้าเรากลัวความเสี่ยงจากวัคซีนซึ่งมีอยู่น้อยกว่ามากนั้นถ้าใช้ตรรกะเดียวกันแล้วคิดว่าคงจะไม่มีใครกล้าเดินทางบนท้องถนนอีกต่อไปแล้วเพราะความกลัวตายจากความเสี่ยงที่เราตั้งโจทย์ไว้
สรุป วัคซีนทุกยี่ห้อดีหมดแต่ที่ รศ.ดร.วินัย แนะนำคือแอสตร้าเซนิก้า และชิโนแวค ตามที่รัฐบาลจัดให้
ในขณะที่ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน กล่าวถึง “ข่าวลือเรื่องวัคซีนไม่ใช่เรื่องแปลก เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย “กล่าวคือ เมื่อ จันทร์ที่ 17 พฤษภาคม 2564 ช่วงบ่าย ผมฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา เป็นที่เรียบร้อยที่โรงพยาบาลศรีธัญญา นนทบุรี มีผู้คนแห่ไปฉีดกันเป็นพัน ขณะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุคลากรศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลเริ่มรับวัคซีนซิโนแวคตั้งแต่สัปดาห์นี้ ไม่มีใครออกอาการกังวลกับข่าวปล่อยไม่ว่าจะเรื่องวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ ขาดคุณภาพ ก่อปัญหาต่อสุขภาพ หรือแม้แต่เรื่องการตัดต่อยีนเพื่อเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมมนุษย์ หรือการแอบฝังไมโครชิบในวัคซีน เป็นเพราะรู้ว่าข่าวร้ายเกี่ยวกับวัคซีนเกิดมานานนับร้อยปีแล้ว ทุกครั้งที่มีการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคอุบัติใหม่ ข่าวปล่อยก็ดาหน้ากันออกมา ร้อยปีที่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้และวันหน้าก็ไม่ต่างกัน ที่น่าสนใจคือข่าวเหล่านี้ไม่เคยพัฒนาเนื้อหาให้แตกต่างไปจากอดีตเลย ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ
มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งทำโดยนักวิทยาศาสตร์ด้านประวัติศาสตร์สาธารณสุข สองคนคือ Maya Goldenberg จากมหาวิทยาลัย Guelph รัฐออนตาริโอ แคนาดา และ Agnes Arnold-Forster แห่งมหาวิทยาลัย Bristol สหราชอาณาจักร ตีพิมพ์ในนิตยสาร Science News เดือนพฤษภาคม 2021 ระบุว่าความกังวลของประชาชนที่มีต่อวัคซีนชนิดใหม่ไม่ว่าจะเป็นเรื่องฤทธิ์ของวัคซีนต่อทารกในครรภ์ ต่อพันธุกรรม ต่อกลไกการป้องกันโรคของร่างกายและอีกสารพัดข่าวลือเกิดขึ้นทุกครั้งที่มีการฉีดวัคซีน โดยเกิดในแทบทุกประเทศ กังวลว่าวัคซีนคือกระบวนการทำลายล้างชาติพันธุ์มนุษย์โดยชาติศัตรู บ้างว่าเป็นวิธีการของคอมมิวนิสต์ ของชาติตะวันตก ของมหาอำนาจใหม่ สารพัดข่าวที่แพร่กันออกมา ส่งผลให้การฉีดวัคซีนในช่วงแรกๆของโรคระบาดชะงักลง บางประเทศชะงักนานเป็นปี แย่ถึงขนาดนั้น
ย้อนกลับไปในช่วงศตวรรษที่ 18 วงการแพทย์อังกฤษนำเอาวัคซีนชนิดแรกออกมานำเสนอนั่นคือวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยเสียชีวิต ขณะที่ผู้ได้รับวัคซีนมีไม่ถึงร้อยละ 1 ที่เกิดปัญหา แต่ข่าวที่ว่าวัคซีนเป็นอันตราย หรือเป็นแผนการของรัฐบาลเพื่อคุมกำเนิดประชากร สารพัดข่าวปล่อยประเดประดังถาโถมกันออกมา ตั้งแต่วันแรกของการฉีดวัคซีน การยอมรับเรื่องวัคซีนจึงไม่ง่าย ใช้เวลาหลายสิบปีกว่าผู้คนจะเริ่มเข้าใจกลไกการทำงานของวัคซีน ทว่าเมื่อเข้าใจแล้วข่าวลือเก่าๆก็ยังเกิดขึ้นกับทุกวัคซีน ไม่มียกเว้น
เข้าศตวรรษที่ 19 กฎหมายบังคับเรื่องการฉีดวัคซีนเจอการต่อต้านสาหัสสากรรจ์ด้วยสารพัดเหตุผล ผู้คนยังไม่เข้าใจเรื่องภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ยังเน้นเรื่องสิทธิเสรีภาพของแต่ละบุคคลที่ล่วงละเมิดไม่ได้ ไม่เข้าใจว่าภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคลมีส่วนในการป้องกันโรคของทั้งสังคม ดังนั้น เมื่อฉีดวัคซีนในประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้ ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคย่อมเกิดได้น้อย หรือเกิดได้ช้ากว่าศักยภาพในการผ่าเหล่าของแบคทีเรียหรือไวรัส ข่าวลือระยะหลังมีการนำเอางานวิจัยทางการแพทย์มาใช้อ้างอิง เกิดเป็นระบบมากขึ้น อย่างเช่น เรื่องการฉีดวัคซีนทำให้เด็กเกิดปัญหาพัฒนาการช้าหรือ Autism ปัญหาของวัคซีนต่อโรคสมอง อัลไซเมอร์ ไอคิวต่ำ เลือดออกในสมอง สารพัด ข่าวประเภทอ้างอิงงานทางวิชาการเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 จนถึงศตวรรษที่ 21 ไม่เคยเปลี่ยน หากรอให้ข่าวลือสงบลงคงไม่มีโอกาสได้รับวัคซีน ผมคิดของผมอย่างนั้น
4,776 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.