ประธานาธิบดีเออร์โดกันของตุรกีเรียกร้องให้มีการจัดตั้งเครือข่ายการสื่อสารในเวทีระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านปรากฏการณ์การต่อต้านอิสลาม ให้ครอบคลุมถึงชุมชนและประเทศต่างๆทั้งหมดที่มีการแพร่กระจายของโรคอันตรายนี้
คำกล่าวนี้เกิดขึ้นในระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์โดยเออร์โดกัน เมื่อวันอังคารวานนี้ 25/5/2021 ในเวทีการประชุมวิชาการนานาชาติด้านสื่อและโรคกลัวศาสนาอิสลาม ครั้งที่ 1 ในเมืองหลวงอังการา
ประธานาธิบดีตุรกีกล่าวว่า มันกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกสังคมและทุกประเทศที่มีความเสี่ยงต่อโรคกลัวอิสลาม “Islamophobia” ที่จะต้องจัดให้มีการพบปะและสร้างเครือข่ายการสื่อสารระหว่างประเทศ
เออร์โดกันกล่าวเสริมว่า “การต่อต้านอิสลามเริ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปในทั่วโลก เช่นเดียวกับเซลล์มะเร็ง โดยเฉพาะในประเทศตะวันตก”
เออร์โดกันชี้ให้เห็นว่า กลยุทธ์ในการ “ทำให้ชาวมุสลิมเป็นปีศาจ” ที่ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯปฏิบัติตามหลังการโจมตีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2554 เป็นสาเหตุทำให้เชื้อไวรัสแห่งการต่อต้านอิสลามซึ่งมีอยู่แล้วในโครงสร้างทางวัฒนธรรมของหลาย ๆ สังคมแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
“หน่วยงานที่รับผิดชอบในการสร้างความมั่นคงของพลเมืองในตะวันตก ดูเหมือนกำลังอยู่บนเวทีแข่งขันต่อต้านอิสลาม”
เออร์โดกันเน้นย้ำว่า ความเป็นเอกภาพของโลกอิสลามสามารถบรรลุผลลัพธ์เชิงบวกในการต่อสู้กับโรคกลัวอิสลามในระยะสั้นได้
เออร์โดกันกล่าวว่า “แม้ว่าตะวันตกจะพยายามลดภาวะการเหยียดเชื้อชาติต่อชาวมุสลิม ด้วยการใช้คำว่า “อิสลาโมโฟเบีย” แทน แต่เราก็ตระหนักดีว่าเรื่องนี้เป็นการต่อต้านอิสลามโดยแท้”
และยังเรียกร้องให้มีการอธิบายอันตรายของการต่อต้านอิสลามแก่ทุกคนในโลก ไม่ใช่การอธิบายถึงอันตรายของอิสลาม
เพื่อหาแนวทางแก้ไขปรากฏการณ์ต่อต้านศาสนาอิสลาม ประธานาธิบดีตุรกีได้เรียกร้องให้นำกลไกการคิดร่วมกันมาใช้ในกรอบของความพยายามที่จะลดการต่อต้านศาสนาอิสลามเพื่อประกันความมั่นคงและความเป็นอยู่ที่ดีของมวลมนุษยชาติ
ประธานาธิบดีตุรกีอธิบายว่า ตะวันตกยังคงรักษาสภาวะ “หยิ่งผยองและมุ่งร้าย” ต่อชาวเติร์กและชาวตะวันออกโดยใช้คำว่าลัทธิตะวันออกนิยม
และว่า “ตัวอย่างล่าสุดนี้คือ การชูธงก่อการร้ายอิดสะระเอนเหนืออาคารของนายกรัฐมนตรีในออสเตรีย”
เออร์โดกันชี้ให้เห็นว่า บางประเทศในยุโรปโดยเฉพาะฝรั่งเศสพยายามที่จะปรับเปลี่ยนอิสลามตามความต้องการ โดยกล่าวว่า“ ผู้ที่สร้างสวัสดิการและความมั่นคงของตนผ่านการล่าอาณานิคมและควบคุมทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ขนาดใหญ่และด้วยหยาดเหงื่อและเลือดของประชาชน หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม พวกเขากำลังเข้าสู่ศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดด้วยความวิตกกังวล ”
ประธานาธิบดีตุรกีอธิบายว่าประเทศต่างๆที่มีประวัติศาสตร์อาณานิคมกำลังหันมาใช้ “แนวทางเผด็จการ” เพื่อหันเหความสนใจของประชาชนจากอันตรายที่เผชิญอยู่เช่น ภัยคุกคามทางประชากร เนื่องจากจำนวนการเกิดลดลง และดุลอำนาจระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป
เออร์โดกันระบุว่า กระแสชาตินิยมในยุโรปที่กำลังก้าวสู่ศูนย์อำนาจทางการเมืองในทวีปนี้ จะทำให้พวกเขาจมดิ่งลงสู่ความหายนะมากขึ้น
และเสริมว่า การโจมตีที่มุ่งเป้าไปที่อัลกุรอานและศาสดาอิสลามผู้สูงศักดิ์ ตลอดจนสตรีมุสลิมและเสื้อผ้าผู้ชาย ในประเทศที่อ้างสิทธิเสรีภาพทางความเชื่อ ปัจจุบันการโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้การคุ้มครองของประเทศเหล่านี้
ประธานาธิบดีตุรกีชี้ให้เห็นว่า การโจมตีทางเชื้อชาติและการต่อต้านศาสนาอิสลามเพิ่มขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาในประเทศตะวันตกถึง 250% ซึ่งในระหว่างนั้นมีผู้เสียชีวิต 700 คน และมีการบันทึกเหตุการณ์ต่อต้านอิสลามมากกว่า 15,000 ครั้งใน 5 ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปในช่วงห้าปีที่ผ่านมา
เออร์โดกันระบุว่า อัตราการโจมตีที่พุ่งเป้าไปที่ชาวตุรกีที่อาศัยอยู่ในยุโรปเพิ่มขึ้น 54% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
เออร์โดกันเสริมว่า แนวทางการเมืองและสถาบันที่เป็นปฏิปักษ์กับศาสนาอิสลาม ได้เปิดประตูไปสู่การพัฒนาอคติที่ไม่มีมูลความจริงต่อศาสนาอิสลามและชาวมุสลิมในหมู่ชนชาติประชาธิปไตยในประเทศตะวันตก
เออร์โดกันกล่าวต่อว่า “บรรดาผู้ที่เพิกเฉยต่อความจริงที่ว่า ความเจริญรุ่งเรืองนั้นไม่สามารถดำรงอยู่ได้นานในสถานที่ที่เสรีภาพสูญหายไป ในความเป็นจริงพวกเขาไม่ได้เป็นศัตรูกับอิสลาม แต่เป็นศัตรูอนาคตของพวกเขา”
เออร์โดกันชี้ให้เห็นว่า บรรดาผู้ที่ปฏิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กำลังมุ่งเป้าไปที่ชาวมุสลิมในปัจจุบัน
เออร์โดกันระบุว่า ก่อนหน้านี้บรรดาผู้ที่พยายามสร้างความชอบธรรมให้กับ “อิสลาโมโฟเบีย” ด้วยข้ออ้างของ”การก่อการร้ายอิสลาม” ในความจริงปัจจุบัน พวกเขาไม่ลังเลที่จะใช้อย่างครอบคลุมถึงชาวมุสลิมทุกคน โดยไม่มีการแยกแยะ
เออร์โดกันชี้ให้เห็นว่า การต่อต้านอิสลามกลายเป็นตัวกระตุ้นใหม่ของอัตลักษณ์ยุโรป หลังจากภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ในช่วงสงครามเย็น
เออร์โดกันเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพัฒนาแนวทางใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อต่อต้านกระแสอิสลามโมโฟเบียในตะวันตก
3,628 total views, 4 views today
More Stories
คาด ปราโบโว ซูเบียนโต ผู้นำอินโดนีเซียคนใหม่สะท้อนประชาธิปไตยอินโดนีเซียก้าวหน้ามั่นคง ต่างจากประเทศไทยแม้เปลี่ยนการปกครอง ก่อน (2475)
4 ตัวละครหลักการเลือกตั้งมาเลเซียครั้งที่15 หลังยุบสภา
รอง มทภ.4 ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานด้านกำลังพลและด้านการส่งกำลังบำรุงของหน่วยในพื้นที่ จชต. พร้อมทั้ง ติดตามความคืบหน้า การก่อสร้างฐานปฏิบัติการ กองร้อยชุดควบคุมป้องกันชายแดน ที่ 4