มีนาคม 28, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

5 ข้อสังเกตุ 2 แนวโน้ม ว่าด้วยเรื่องการซื้อ “ป้ายโฆษณา Free Palestine” และข่าวว่าถูกปลด..ผศ.ดร.มาโนชญ์ อารีย์ 

แชร์เลย
(ผศ.ดร.มาโนชญ์ อารีย์ )
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีกระแสข่าวรายงานว่ามีการซื้อป้ายโฆษณาขนาดใหญ่สนับสนุนปาเลสไตน์บริเวณทางด่วน ย่านทางลงถนนสาธุประดิษฐ์ ในป้ายปรากฏธงชาติปาเลสไตน์และข้อความภาษาอังกฤษ “Free Palestine” โดยถือเป็นครั้งแรกและเป็นรูปแบบใหม่ของการแสดงออกถึงการสนับสนุนปาเลสไตน์ในประเทศไทย ซึ่งในรายละเอียดไม่ปรากฏชัดเจนว่าเป็นของใคร แต่สันนิฐานว่าเป็นของมุสลิมไทยที่ต้องการแสดงออกอย่างสันติในรูปแบบเดียวกับที่เกิดในยุโรปซึ่งทำกันเป็นปกติ อย่างไรก็ตาม มีข่าวออกมาว่าป้านดังกล่าวถูกปลดลงอันเนื่องมาจากถูกแรงกดดันจากภาครัฐ (แต่ยังไม่มีการยืนยันใด ๆ ทั้งสิ้น) อันนำไปสู่การตั้งคำถามมากมาย
การซื้อป้ายโฆษณาสนับสนุนปาเลสไตน์ดังกล่าวถือเป็นการริเริ่มการแสดงออกรูปแบบใหม่ที่อาจเรียกว่าเป็น “ความตื่นตัวใหม่” สอดคล้องกับความเห็นของนักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งที่เชื่อว่า เหตุการณ์ความขัดแย้งอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ครั้งล่าสุดได้ทำให้เกิดความสนใจ ความเข้าใจใหม่ หรือทัศนคติใหม่ของโลกต่อปัญหาปาเลสไตน์ จนนำไปสู่การเดินขบวนสนับสนุนปาเลสไตน์ทั่วโลก 
ตัวอย่างชื่อเมืองและประเทศที่มีการเดินขบวนสนับสนุนปาเลสไตน์

 

Mapping Palestinian solidarity protests around the world

Hundreds of thousands of people from over 150 cities have participated in protests in solidarity with Palestinians.

  Abergavenny; Al Aqabah; Aleppo; Algiers; Amman; Amsterdam; Ankara; Athens; Atlanta; Auckland; Baghdad; Bangor; Basrah; Beirut; Benslimane; Berlin; Birmingham; Boston; Bradford; Braunstone; Brighton; Brisbane; Bristol; Brooklyn; Brussels; Calgary; Canberra; Cape Town; Casablanca; Chicago; Christchurch; Columbia; Copenhagen; Cork; Daraa; Dearborn; Derry; Dhaka; Diwaniyah; Doha; Dublin; Dunedin; Edinburgh; Eindhoven; Edmonton;  Fargo; Frankfort; Fresno; Galway; Gaziantep; Glasgow; Hague; Halifax; Hamburg; Hamilton; Houston; Idlib; Indiana; Irbid; Istanbul; Jacksonville; Jakarta; Johannesburg; Kabul; Kampala; Karachi; Kelowna; Kashmir; Kensington; Khartoum; Krakow; Kuala Lumpur; Kuwait; Lahore; Leicester; Leipzig; Lille; Limerick; Llandudno; London, Canada; London, UK; Los Angeles; Lyon; Madrid; Mahdia; Manchester; Manhattan; Marrakech; Melbourne; Michigan; Milan; Milwaukee; Mogadishu; Montpellier; Montreal; Mississauga; Nabatieh; Nairobi; Nelson; New York; Newburgh; Newcastle; Newtown; Nicosia; Norwich; Ottawa; Oxford; Palmerston; Paris; Perth; Peshawar; Philadelphia; Pittsburgh; Pontypridd; Pristina; Preston; Buenos Aires; Quetta; Rabat; Raleigh; Richmond; Rome; San Francisco; San Jose; Sanaa; Sandton; Saskatoon; Srinagar; Sao Paulo; Sarajevo; Sydney; St. John’s; Strasbourg; Stuttgart; Swansea; Tasmania; Tehran; Tokyo; Toronto; Toulouse; Tucson; Trablus; Tripoli; Tunis; Vancouver; Vienna; Warsaw; Waterford; Waterloo; Washington; Wellington; Whanganu
กระนั้นก็ตาม ในประเทศไทยแม้จะไม่ได้มีการเดินขบวนเหมือนที่อื่นอันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 แต่ก็มีคนจำนวนมากที่เคลื่อนไหวในโลกออนไลน์ในทิศทางเดียวกับที่สังคมออนไลน์ทั่วโลกกำลังส่งเสียงสนับสนุนปาเลสไตน์ การเลือกซื้อป้ายโฆษณาเป็นวิธีการหนึ่งที่กลายเป็นกระแสจากโลกตะวันตกสู่ตะวันออก แต่ในขณะเดียวกันข่าวการปลดป้ายจากแรงกดดันของภาครัฐที่กังวลว่าจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (หากเป็นความจริง) ก็มีหลายประเด็นที่ต้องถกเถียงกันต่อถึงความเหมาะสม และผลที่จะตามมา โดยขอชวนคิดในที่นี้แค่ 5 ประเด็น
1. ว่าด้วยมติสหประชาชาติ ที่ 67/19

มติสหประชาชาติที่ 67/19 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2012 ไทยร่วมกับ 138 ประเทศโหวตรับรองรัฐปาเลสไตน์ อีกทั้งในปี 2011 UNESCO มีมติรับรองปาเลสไตน์เข้าเป็นรัฐสมาชิกโดยสมบูรณ์ลำดับที่ 195 แต่ที่ผ่านมามีความเคลื่อนไหวหลายอย่างโดยสหรัฐฯ และอิสราเอลที่ขัดต่อมติของ UN ดังกล่าว โดยเฉพาะสหรัฐฯ ในยุคประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ย้ายสถานทูตจากเทล อาวีฟ ไปกรุงเยรูซาเล็มเพื่อเป็นการรับรองให้เยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอลโดยสมบูรณ์ จนเรื่องนี้ถูกนำไปพิจาณาใน UN อีกครั้ง ซึ่งไทยเป็นหนึ่งใน 128 ประเทศที่โหวตให้สหรัฐฯ ถอนการรับรองเยรูซาเล็มเป็นเมืองหลวงของอิสราเอล ในขณะนั้น น.ส.บุษฎี สันติพิทักษ์ (https://www.bbc.com/thai/international-42452045)

อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ บอกกับบีบีซีไทยว่า ทางการไทยยืนยันในแนวทางการสนับสนุนตามหลักการของสหประชาชาติและยังยึดหลักการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวในแนวทางผลักดันให้อิสราเอลและปาเลสไตน์ยึดมั่นในทางแก้ 2 รัฐ (Two-state solution) เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสองฝ่าย ซึ่งเป็นข้อเสนอที่นานาประเทศสนับสนุนให้อิสราเอลและปาเลสไตน์มีสถานะรัฐซึ่งมีอำนาจปกครองตนเอง และมีสิทธิ์ในดินแดนบางส่วนร่วมกัน

ดังนั้น ปัญหาการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับมติสหประชาชาติจึงนำไปสู่กระแสเรียกร้อง “Free Palestine” ตามแนวทาง 2 รัฐที่ไทยยึดถือ เราจะมองการถอดป้ายนี้อย่างไรในขณะที่เรามีจุดยืนตามที่กล่าวมา
2. ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ
สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญหมวด 3 ว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย โดยเฉพาะมาตรา 34 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อ
ความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ
แห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน ดังนั้นหากมองตามมาตรานี้จึงเกิดคำถามมากมาย เช่น การให้ปลดป้ายลงจะถือว่าขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ป้ายนี้กระทบความมั่นคง ความสงบสุขเรียร้อง ศีลธรรมอันดี และสุขภาพของประชาชนอย่างไร
3. ว่าด้วยอำนาจอธิปไตย
รัฐธรรมนูญ หมวด 1 บททั่วไป มาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ, รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม ข้อถกเถียงในประเด็นนี้ชัดเจนมากว่าหากมีการแทรกแซงจากภายนอกจะถือว่าเราเสียอธิปไตยบางส่วนหรือไม่ มีการละเมิดอธิปไตยของไทยหรือไม่อย่างไร
4. ว่าด้วยผลประโยชน์แห่งชาติในความสัมพันธ์ไทยกับอิสราเอล โลกมุสลิม และอาเซียน
ข่าวการปลดป้ายดังกล่าวจากแรงกดดันบางอย่างอาจมาจากข้อกังวลว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน แต่ก็ไม่ใช้เหตุที่นำมาอ้างเพื่อกำจัดสิทธิเสรีภาพและอำนาจอธิปไตยของรัฐได้ ถ้าการแสดงออกถึงการสนับสนุนปาเลสไตน์จะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศน่าจะเป็นการแสดงออกในนามของรัฐมากกว่าภาคประชาชน และคงจะกระทบไปตั้งแต่ปี 2012 ที่ไทยโหวตในมติ 67/19 ไปแล้ว ในทำนองเดียวกันหากรัฐดำเนินการใด ๆ ที่ขัดต่อมติ UN หรือจุดยืนของตัวเองที่ผ่านมาน่าจะกระทบต่อภาพลักษณ์ของตนในเวทีโลกและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากกว่า โดยเฉพาะในสายตาของประเทศมุสลิมและสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลามกว่า 57 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศมุสลิมในอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และบรูไน
ประเทศไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อทั้งอิสราเอลและโลกมุสลิม รวมทั้งให้การสนับสนุนประเด็นเรื่องสิทธิของชาวปาเลสไตน์มาอย่างยาวนานร่วมกับประชาคมโลกอื่น ๆ เห็นได้จากการออกเสียงสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ในเวทีสหประชาชาติ จนได้รับการชื่นชมจากหลายประเทศในโลกมุสลิม ในเวลาเดียวกันไทยกับอิสราเอลก็มีความร่วมมือกันหลายด้าน การรักษาดุลความสัมพันธ์นี้ควรดำเนินต่อไปเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในความขัดแย้งที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น ไทยควรติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและวิเคราะห์อย่างรอบด้านเพื่อกำหนดจุดยืนที่ชัดเจน ไทยควรแสดงจุดยืนร่วมกับประชาคมโลกที่โดยยึดหลักกฎหมายระหว่างประเทศและให้ความสำคัญกับประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน หลักมนุษยธรรมสากลเหมือนที่ผ่านมา
5. ว่าด้วยกระแสลมแห่งการเปลี่ยนแปลง
ปัญหาปาเลสไตน์ยุค Disruptive technology และ Social Media เป็นปรากฎการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง บางคนบอกว่าแค่เสียงของปาเลสไตน์ถูกได้ยินไปทั่วโลกก็ถือว่าพวกเขาชนะแล้ว เพราะที่ผ่านมาสิ่งที่ชาวปาเลสไตน์ต้องการมากที่สุดนอกจากการทวงคืนดินแดน ก็คือให้โลกรับรู้เกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปาเลสไตน์ ตอนนี้พลังของ social media ที่ครั้งหนึ่งมันปลุกให้อาหรับตื่นตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Arab Spring ) มันกำลังปลุกคนทั่วโลกให้สนใจปัญหาปาเลสไตน์ ดังนั้น กระแส solidarity with Palestine หรือการเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชาวปาเลสไตน์ จึงเป็นเรื่องวันนี้หยุดยั้งได้ยาก และไม่ได้จำกัดวงอยู่เฉพาะมุสลิมเท่านั้น ดังจะเห็นได้จากความเคลื่อนไหวทั่วโลก หลายท่านอาจไม่เห็นด้วย เพราะสื่อกระแสหลักของโลกไม่ได้นำเสนอเรื่องนี้ ซึ่งประเด็นสมรภูมิข่าวสารก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ซ้อนอยู่เบื้องหลังปัญหาปาเลสไตน์มาตลอดแต่ครั้งนี้ปรากฏชัดกว่าที่ผ่านมา แต่ที่ชัดกว่าคือสื่อกระแสหลักไม่อาจควบคุมหรือผูกขาดการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาปาเลสไตน์ได้อีกต่อไป (เรื่องนี้มีรายละเอียดมากจึงยังไม่ขอพูดถึงในตอนนี้) ไทยเป็นหนึ่งในประเทศมีความตื่นตัวเกี่ยวกับปัญหานี้สูงขึ้น มีความพยายามคนหาข้อมูลความเป็นมาของปัญหาปาเลสไตน์ทั้งจากแหล่งข้อมูลที่เป็นวิชาการ และเอกสารประวัติศาสตร์ รวมทั้งข่าวสารจากทั้งสื่อกระแสหลักและกระแสรอง มี Youtuber และ Influencer มากมายที่ค้นคว้าปัญหาปาเลสไตน์อย่างละเอียดแล้วมานำเสนอถ่ายทอดให้คนไทยได้เข้าใจแบบง่าย ทำให้การรับรู้เป็นไปอย่างรอบด้านและครอบคลุมมากขึ้น บางเพจทำเป็นสารคดีเชิงข่าวที่คุณภาพไม่แพ้สำนักข่าวใหญ่ ๆ เลย เมื่อการรับรู้มากขึ้นการแดสงออกก็มากขึ้นและหลายรูปแบบขึ้น ทั้งที่สนับสนุนและไม่สนับสนุนปาเลสไตน์ แต่การปิดกั้นการแสดงออกในยุคนี้จะยิ่งกระตุ้นให้เกิดการแสดงออกเป็นทวีคูณ ดังนั้น การแสดงออกทั้งสนับสนุนปาเลสไตน์หรือสนับสนุนอิสราเอลในสังคมไทยควรปล่อยให้เป็นเสรีภาพในการแสดงออกภายใต้กฎหมายและข้อมูลที่รอบด้านหรือไม่อย่างไร
อย่างไรก็ตาม ข่าวการขึ้นป้ายและการปลดป้าย ไม่ได้ถูกนำเสนอถึงรายละเอียดที่ชัดเจนมากนักในสื่อกระแสหลัก รวมทั้งในสื่ออื่น ๆ ด้วย และไม่ได้เป็นการรับรู้ในวงกว้างมากนักในสังคม จึงยืนยันข้อเท็จจริงอะไรไม่ได้ทั้งหมด หากแต่ถ้าเป็นตามข่าวที่ว่ามา ผมมองว่าผลที่จะตามมาจากนี้คือ
1) ไม่ว่าจะมีการกดดันให้ปลดป้ายหรือไม่ก็ตาม การซื้อป้ายโฆษณาสนับสนุนปาเลสไตน์หรือการแสดงสัญลักษณ์สนับสนุนปาเลสไตน์จะกลายเป็นกระแสที่ปรากฏให้เห็นเพิ่มมากขึ้นเมื่อปัญหาอิสราเอล-ปาเลสไตน์ปะทุขึ้น เพียงแต่ว่าหากมีการสกัดกั้นเสรีภาพเกิดขึ้น (ซึ่งคงกั้นไม่อยู่) การแสดงออกจะลุกลาม สัญญาลักษณ์แสดงการสนับสนุนปาเลสไตน์อาจจะปรากฏขึ้นรวดเร็วเพิ่มขึ้นเป็นดอกเห็ดตามตึก อาคาร ดานฟ้า หลังคาบ้าน ยานพาหะนะ เสื้อผ้า ฯลฯ ยิ่งปิดยิ่งเพิ่ม แต่หากปล่อยไปตามธรรมชาติอาจจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นช้า ๆ และลดลงตามกระแสเหมือนไม้ดอกไม้ประดับที่พอให้เห็นถึงสีสันของประชาธิปไตยบ้าง
2) ไม่ว่าจะมีการกดดันให้ปลดป้ายหรือไม่ก็ตาม การแสดงสัญลักษณ์สนับสนุนปาเลสไตน์ก็จะไม่ขยายตัวมากขึ้น และกลับสู่ความเป็นปกติเมื่อวิกฤตปัญหาอิสราเอลปาเลสไตน์ผ่านพ้นไป แต่หากมีการห้ามหรือกดดันไม่ให้มีการแสดงสัญญาลักษณ์สนับสนุนปาเลสไตน์ แม้จะกดดันได้ตามวัตถุประสงค์แต่ก็ทำให้มวลชนจำนวนมากไม่พอใจ และกลายเป็นปัญหาเสื่อมศรัทธาต่อการทำงานของรัฐโดยใช่เหตุ เสียภาพลักษณ์ความเป็นประชาธิปไตย และจะส่งผลต่อบทบาทความน่าเชื่อถือของไทยในการส่งเสริมเสรีภาพในเวทีโลก โดยเฉพาะในอาเซียน รวมทั้งเสรีภาพในการแสดงออกในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเมียนมา
ปัญหาอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ไม่ว่าข่าวนี้จะจริงเท็จประการใด ป้ายของใคร แต่ก็เป็นประเด็นที่เราต้องมีสติและกำหนดแนวทางที่เหมาะสมครับ

 6,601 total views,  2 views today