เมษายน 24, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

4 ตัวละครหลักการเลือกตั้งมาเลเซียครั้งที่15 หลังยุบสภา

แชร์เลย

“มาเลเซียแม้วิกฤตการเมืองอย่างไรก็ไม่เคยรัฐประหารแต่เลือกคืนอำนาจให้ประชาชน”

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)

กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้
Shukur2003@yahoo.co.uk

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย DATO’ SRI ISMAIL SABRI BIN YAAKOB.ได้ แถลงข่าวยุบสภา มาเลเซีย ส่งผล ทำให้ รัฐสภามาเลเซียชุดปัจจุบัน สิ้นสภาพเป็นด้วย ในขณะที่ รัฐบาล ก็จะเป็นรัฐบาลรักษาการ ซึ่งจะต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 60 วัน แต่นักวิเคราะห์การเมืองทั้งในมาเลเซียและต่างประเทศคาดว่าจะเลือกตั้งในเดือนหน้า(พฤศจิกายน)

สำหรับ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม 2565 ท่านได้ เข้าเฝ้า สมเด็จพระราชาธิบดี อับดุลลอฮ์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้มีการยุบสภา #ทั้งนี้ การเลือกตั้งทั่วไปของมาเลเซียตามวาระคือในเดือนกันยายนปีพ.ศ. 2566 แต่ดาโต๊ะสรีอิสมาอีล ซอบรี นายกรัฐมนตรีนั้นตกอยู่ภายใต้การกดดันจากกลุ่มการเมืองในพรรคร่วมรัฐบาลให้จัดการเลือกตั้งก่อนกำหนดเพื่อช่วงชิงการกุมอำนาจที่แข็งแกร่งขึ้นและเนื่องจากมีการต่อสู้กับคู่แข่งทางการเมือง อีกทั้งวิกฤตเศรษฐกิจเพราะโควิด https://fb.watch/g3wf43x4jh/

ในขณะที่สำนักพระราชวังมาเลเซียออกแถลงการณ์สรุปความได้ว่า

ในแถลงการณ์พระราชวัง ระบุว่า พระองค์ทรงกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันแต่เพราะไม่ทรงมีทางเลือกอื่นนอกจากอนุญาตตามที่นายกฯ ขอมาเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชน

พระองค์ทรงเป็นห่วงเนื่องจากการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นเร็วๆนี้เป็นช่วงสุมโดยเฉพาะกลางเดืองพฤษจิกายน 2565เป็นต้นไป”

พระองค์ทรงกล่าวว่าประเทศที่เข้มแข็งจะสะท้อนผ่านการเมืองที่มั่นคง เศรษฐกิจที่รุ่งเรืองและต่อเนื่องรวมถึงความสงบสุขของประชาชน

พระองค์ทรงขอให้ประชาชนร่วมกันขอพรให้ประเทศและประชาชนได้รับความเมตตาและศิริมงคล ตลอดจนได้รับการคุ้มครองจากภัยธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำท่วม

(อ้างอิงการแปลจากผศ.ดร.ชัยวัฒน์ มีสัณฐาน)

สอดคล้องกับทัศนะแกนนำฝ่ายค้านนายอันวาร อิบรอฮีมที่คัดค้านก่อนหน้านี้และขณะนี้แต่ก็ประกาศพร้อมการเลือกตั้ง(https://www.freemalaysiatoday.com/category/bahasa/tempatan/2022/10/02/umno-tiada-majoriti-tak-berhak-paksa-bubar-parlimen-kata-anwar/)

#ข้อสังเกตสำคัญพบว่า มาเลเซียแม้วิกฤตการเมืองอย่างไรก็ไม่เคยรัฐประหารแต่เลือกคืนอำนาจให้ประชาชน

ถ้าเราจำได้ เมื่อ ปี 2561 ดาโต๊ะโจจี แซมูเอล (H.E. Dato” Jojie Samuel) เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย เคยสะท้อนผ่านสื่อไทยอย่างมติชนว่า

การ #รัฐประหาร ไม่เคยอยู่ในประวัติศาสตร์ของประเทศมาเลเซีย แม้ตอนที่มาเลเซียได้รับเอกราชก็เป็นไปด้วยสันติ”

“สิ่งสำคัญของประเทศประชาธิปไตย คือจะต้องมีการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและยุติธรรมตามระบอบประชาธิปไตย อันเกี่ยวข้องกับประชาชนซึ่งต้องตัดสินใจว่า ต้องการให้ใครปกครองประเทศแบบใด มาเลเซียสนับสนุนกระบวนการประชาธิปไตยของประเทศไทย เพราะทุกคนตั้งตารอคอย และหวังว่าจะนำไปสู่การเลือกตั้งในเร็ววันนี้”

รู้จัก ‘มาเลเซีย’ ให้มากขึ้น : คุยกับทูต ผ่าในระบบประเทศ เหตุการณ์การเมือง และเรื่องของประชาธิปไตย

#
ระบบการเมืองการปกครองและสถาบันกษัตริย์
มาเลเซียมีการเมืองการปกครองในระบอบ Federal Parliamentary Elective Constitutional Monarchy นั่นคือมีระบบมลรัฐ 13 รัฐ (11 รัฐทางตะวันตก และ 2 รัฐทางตะวันออก) กับอีก 3 เขต Federal Territories (กัวลาลัมเปอร์ ปุตราจายา และบาปวน) ซึ่งแต่ละรัฐก็จะมีกฎหมายท้องถิ่นของตนเอง และมี 9 รัฐ ที่มีสุลต่านเป็นประมุข และสุลต่านทั้ง 9 จะผลัดกันเลือกตั้งขึ้นมาเป็นประมุขของประเทศ เรียกตำแหน่งนี้ว่า ยังดีเปอร์ตวน อากง ซึ่งจะพำนักอยู่ในพระราชวัง Istana Negara ใจกลางกรุงกัวลาลัมเปอร์

โดยยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ปัจจุบันคือ สุลต่านอับดุลละฮ์ ชะฮ์ จากรัฐปาหัง ดังนั้น เวลาที่เราติดตามข่าว เราจึงเห็นภาพนักการเมืองมาเลเซีย ผู้นำ และรัฐมนตรีต้องไปเข้าเฝ้า และรับการรับรองเรื่องราวต่างๆ จากพระราชวังแห่งนี้ เช่น สุลต่านลงพระนามในคำสั่งอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีมหาเธร์ลาออก และแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ซึ่งมีอำนาจเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ เพราะเท่ากับเป็นการยกเลิกตำแหน่งรัฐมนตรีต่างๆ และให้อำนาจกับนายกรัฐมนตรีในการดำเนินนโยบายเร่งด่วน สำคัญๆ เฉพาะหน้าในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน

ระบบรัฐสภาและพรรคการเมือง
รัฐสภาของประเทศมาเลเซียประกอบไปด้วย 2 สภา อันได้แก่ Dewan Negara หรือวุฒิสภา และ Dewan Rakyat หรือสภาผู้แทนราษฎร โดยในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะเป็นผู้กำหนดว่า ใครจะเป็นรัฐบาล ใครจะเป็นฝ่ายค้าน ประกอบไปด้วย ส.ส. จำนวน 222 คน (อ้างอิงจาก https://thestandard.co/understand-malaysia-behind-the-story-of-mahathir/)
#ดังนั้นพรรคที่ชนะเก้าอี้ ส.ส. 112 ที่นั่งได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีทั้งหมด 222 ที่นั่ง จะได้จัดตั้งรัฐบาล ขณะที่พรรคการเมืองต่างๆ มีเวลาหาเสียงเลือกตั้ง 15 วัน และผลการเลือกตั้งมักจะทราบภายในคืนเลือกตั้ง

#4 ตัวละครหลักการเลือกตั้งมาเลเซียครั้งที่15 หลังยุบสภา

15 ตุลาคม 2565 ได้เจอเพื่อนอดีตนักศึกษาไทยของอัลอัซฮัร (อียิปต์)จากมาเลเซีย Jafni bin Hashim (ปัจจุบันเป็นนักธุรกิจของมาเลเซีย)ที่บ้านเชคยาอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาสะท้อนว่า “เสถียรภาพหลังเลือกตั้งเกิดยากเพราะตอนนี้มีสี่กลุ่มแย่งเป็นรัฐบาล ในขณะเดียวกันยังไม่เห็นคนรุ่นใหม่ที่จะก้าวมาเป็นผู้นำประเทศและคาดว่าจะไม่มีกลุ่มไหนชนะขาด เมื่อเป็นเช่นนี้อนาคตเศรษฐกิจมาเลเซียก็ยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ประเด็นสำคัญการยุบสภาครั้งนี้ ฝ่ายรัฐบาลมองถึงความได้เปรียบในการเลือกตั้งมากกว่าเพื่อแก้ปัญหาประชาชนแม้หลายฝ่ายมองว่าช่วงนี้มาเลเซียจะเจอมรสุมฝนตกสิ่งไม่ควรมีการเลือกตั้งอย่างไรก็แล้วแต่เมื่อประกาศยุบสภาแล้วทุกพรรคก็ต้องพร้อมให้ประชาชนตัดสินใจ”อย่างไรก็แล้วแต่ผู้เขียนก็ขอยกย่องมาเลเซียว่า “มาเลเซียแม้วิกฤตการเมืองอย่างไรก็ไม่เคยรัฐประหารแต่เลือกคืนอำนาจให้ประชาชน”
ท้ายที่สุดท่านก็ขอพรให้การเลือกตั้งครั้งนี้จะนำมาสู่สิ่งที่ดีกว่าในประเทศมาเลเซียต่อไป
ทัศนะของท่านสอดคล้องกับบรรดานักวิชาการ โดยประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชนหรือNGO มาเลเซียเรียกร้องให้บรรดาแกนนำนักการเมืองทุกคนทุกกลุ่มหยุดเล่นการเมืองที่สกปรกสาดโคลน แต่มุ่งเพื่อแก้ปัญหาประชาชน
(อ้างอิงจาก
https://fb.watch/gb5cShWebO/
สำหรับ 4 ตัวละครหลัก (หน้าเดิมคนเก่า) การเลือกตั้งมาเลเซียครั้งที่15 หลังยุบสภามีดังนี้

1. “มหาธีร์ โมฮัมหมัด”(อ่านเพิ่มเติมใน
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10229081739968570&id=1245604111)
2. มูห์ยิดดิน ยัสซิน” (อ่านเพิ่มเติมใน
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10229081672406881&id=1245604111)
3.อิสมาอีล ซอบรี (อ่านเพิ่มเติมใน
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10229081565964220&id=1245604111)
4.อันวาร์ อิบรอเฮม (อ่านเพิ่มเติมใน
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10229081651366355&id=1245604111)

 29,308 total views,  25 views today

You may have missed