เมษายน 27, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

คาด ปราโบโว ซูเบียนโต ผู้นำอินโดนีเซียคนใหม่สะท้อนประชาธิปไตยอินโดนีเซียก้าวหน้ามั่นคง ต่างจากประเทศไทยแม้เปลี่ยนการปกครอง ก่อน (2475)

แชร์เลย

คาด ปราโบโว ซูเบียนโต ผู้นำอินโดนีเซียคนใหม่สะท้อนประชาธิปไตยอินโดนีเซียก้าวหน้ามั่นคง ต่างจากประเทศไทยแม้เปลี่ยนการปกครอง ก่อน (2475)

(15 ก.พ.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานจากกรุงจาการ์ตา ผลการนับคะแนนอย่างไม่เป็นทางการจากสื่อและสถาบันวิจัยหลายสำนักของอินโดนีเซีย ชี้ว่า “ปราโบโว ซูเบียนโต” ไม่ต้องลงชิงชัยรอบตัดเชือกครั้งที่ 2 ในเดือน มิ.ย.นี้ เนื่องจากคะแนนสูงกว่าร้อยละ 50

ผลอย่างไม่เป็นทางการ หรือ Quick Count ของ The Jakarta Post นับไปแล้วร้อยละ 97 ปราโบโว ได้คะแนนร้อยละ 58.39 อานีส บาสเวอดัน อดีตผู้ว่าการกรุงจาการ์ตาได้คะแนนร้อยละ 24.93 และ กานจาร์ ปราโนโว ได้คะแนนเพียงร้อยละ 16.69 สำหรับผลการนับคะแนน Quick Count เป็นการนับคะแนนเร็วคู่ขนานจากทุกหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศ

ขณะที่คณะกรรมการการเลือกตั้งอินโดนีเซียจะประกาศผลเลือกตั้งอย่างเป็นทางการอย่างช้าที่สุดภายในวันที่ 20 มี.ค.นี้

https://www.thaipbs.or.th/news/content/337042

#การพัฒนาประชาธิปไตยภายหลังการเปลี่ยนการปกครองจากระบอบเผด็จการไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งที่อินโดนีเซียทำคือใช้เวลาค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเสมอมา ซึ่งเราเรียกยุคนี้ว่า ยุคปฏิรูป หรือ Reformasi เนื่องจากกระแสสังคม อุดมการณ์ที่เข้มแข็ง ประวัติศาสตร์และบาดแผลที่ประชาชนได้รับตั้งแต่อดีต ทำให้ประชาชนไม่ต้องการอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองเก่าที่อีกต่อไป และเชื่อว่าระบอบการปกครองแบบใหม่จะช่วยให้ประเทศพัฒนาไปได้ไกลกว่าเดิม การพัฒนาการเมืองในอินโดนีเซียดำเนินการในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านกฎหมาย การกระจายอำนาจ การลดอำนาจกองทัพ และการมีส่วนร่วมของประชาชน
#

กลไกการพัฒนาประชาธิปไตยอินโดนีเซียนั้นเกิดจากปัญหาภายในสะสมในยุคเผด็จการทหารของซูฮาร์โต ซึ่งทำให้ประชาชนขาดสิทธิ เสรีภาพ และความเป็นอยู่ที่ดี เมื่อถึงจุดแตกหักในช่วงวิกฤตการเงินเอเชีย ความล้มเหลวในการบริหารจัดการของรัฐบาลเผด็จการเกิดขึ้น ความล้มเหลวนี้ทำให้ประชาชนลุกขึ้นต่อสู้และปฏิรูประบอบการปกครองสู่ประชาธิปไตยที่มีสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ โดยมีการปฏิรูปกฎหมาย เสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่คนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรง การถ่วงดุลอำนาจจากองค์กรระหว่างประเทศและภาคประชาสังคม รวมทั้งการขจัดอำนาจทหารให้เหลือเพียงการป้องกันประเทศเท่านั้น การเปลี่ยนผ่านการเมืองการปกครองของอินโดนีเซียไปสู่ประชาธิปไตยจึงเป็นการรื้อฟื้นความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ทำให้ประชาชนได้ร่วมปรึกษาหารือและร่วมตัดสินใจกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศของตนเอง ความร่วมมือภายใต้บรรยากาศประชาธิปไตยตรงนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากขาดความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และภาคประชาสังคมต่างๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา

(อ้างอิงจาก https://geo.soc.cmu.ac.th/2022/03/24/cmugs-ep9/)พ

 26,882 total views,  111 views today

You may have missed