พฤษภาคม 18, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

#กองทุนซะกาตความฝันของสังคมตามอุดมการณ์อิสลาม:ข้อเสนอแนะจากประสบการณ์จริง

แชร์เลย


สะท้อนโดย: มุหัมหมัด ล่าเม๊าะ กรรมการมัสยิดเร๊าะหม๊ะ บ้านพ้อแดง ประธานกลุ่มออมทรัพย์พัฒนาบ้านพ้อแดง หมู่ที่ 2 ต.คู อ.จะนะ จ.สงขลา
ด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตาและปราณีเสมอ ขอความสันติจงมีแด่ทุกท่าน

เขียนบทความนี้ได้เขียนในคำคืนที่ 27 รอมฎอนปีนี้. ด้วยความหวังต่อพระองค์ว่า ให้คำคืนนี้เป็นคืนแห่งอานุภาพของพระองค์ที่ประทานความเมตตา ความจำเริญแก่มนุษย์ คือคำคืน #ลัยละตุลก็อดรฺ และขอจากพระองค์
‎اللهم إنك عفو كريم تحب العفو فا عف عني
“ โอ้อัลลอฮฺ แท้จริงท่านเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงใจบุญ ท่านรักการอภัยโทษ ขอพระองค์ทรงอภัยโทษ ให้แก่ฉัน”

ซะกาตเป็นหลักศาสนาบัญญัติ เป็นหน้าที่ของมุสลิมที่อยู่ในสถานะที่ศาสนากำหนดว่าเป็นผู้ที่ต้องจ่ายให้กับผู้ที่มีสิทธิรับซึ่งกุรอ่านได้กำหนดไว้ 8 ประเภท คือคนยากจน คนขัดสน เจ้าหน้าที่ซะกาต ผู้เข้ารับอิสลามใหม่ คนมีหนี้สิน ทาสที่ต้องการไถ่ตัว ผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ และคนเดินทาง

ในอดีตตอนผู้เขียนยังเด็ก เมื่อถึงเวลา ฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวหรือหน้ารายอฟิตเราะฮฺ จะมีทั้งผู้รู้ หรือโต๊ะปาเก จากต่างบ้านต่างเมืองมาที่มัสยิดมาขอข้าว ขอซะกาต ถ้าคนไหนที่เป็นบุคคลที่ชาวบ้านรู้จักก็จะมีการทำขนมหวานมาเลี้ยงผู้ที่มาจ่ายซะกาต. หรือบางคนพากระสอบมาฝากไว้กับอีหม่าม บางที่ก็จ่ายกับคนในชุมชนชน เชานโต๊ะครู โต๊ะอีหม่าม เด็กที่เรียนปอเนาะ โต๊ะซีเย๊าะ บางทีคนยากจนลำบากจริงๆ กลับไม่มีคนนำซะกาตไปให้

ส่วนช่วงกลางคืนเมื่อทราบข่าวว่าวันรุ่งขึ้นเป็นวันรายอ ชาวบ้านจะพาซะกาตไปให้คนโน้นคนนี้ ที่ตัวเองคิดจะให้และเช้าวันอีดชาวบ้านขับรถมอเตอร์ไซค์ไปจ่ายซะกาตให้คนโน้นคนนี้ ที่นั้นที่นี่ บางทีไปให้คนต่างหมู่บ้านต่างถิ่น แต่ลืมคิดไปว่า
คนในชุมชนตัวเองก็ยังมรกผู้ที่มีสิทธิรับซะกาตเหมือนกัน.

จึงทำให้ซะกาตในยุคสมัยนั้นเป็นลักษณะของ #เบี้ยหัวแตก

ปัจจุบันได้มีหลายองค์กรได้รณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับซะกาตแก่สังคมมุสลิมในวงกว้าง จากหลายๆช่องทางเช่น หนังสือ วิทยุ โทรทัศน์และสื่อออนไลน์

หลายมัสยิดได้ดำเนินการจัดการซะกาต เริ่มจากซะกาตฟิตเราะฮฺ บางมัสยิดที่คณะกรรมการมัสยิดและหรือคณะกรรมการซะกาตมีความรู้ความเข้าใจ ก็สามารถจัดการซะกาตทรัพย์สินประเภทอื่นๆด้วย. และอีกหลายมัสยิดก็เริ่มคิดเริ่มดำเนินการแล้ว ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการนั้นต้องยอมรับว่ามีหลากหลายรูปแบบ เช่น

1)การจัดเก็บซะกาตโดยมัสยิดขอแบ่งซะกาตจากสัปปุรุษครอบครัวละเท่าไรขึ้นอยู่กับข้อตกลงของมัสยิดนั้นๆ เพื่อจ่ายให้คนมีหนี้สินที่ได้มอบหมายให้ ใครสักคนไปซื้อวัสดุอุปกรณ์มาทำโน้นนี้ในมัสยิดและเป็นหนี้สินไว้ และจะใช้ซะกาตมาชะรำหนี้ดังที่กล่าวมา

ซะกาตจำนวนที่เหลือแต่ละครอบครัวให้อิสระแก่สัปปุรุษว่าจะไปจ่ายให้ใครตามความพอใจของแต่ละคน บางคนคิดถึงคนนั้นคนนี้ที่เคยมีพระคุณ เป็นโต๊ะครู หญิงหม้ายเป็นเด็กกำพร้าบางที่ก็ต้องเดินทางไปไกลไปต่างตำบลอำเภอก็มี

2)มัสยิดซื้อข้าวสารมาจำนวนหนึ่งบรรจุในภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่งไว้บริการสัปปุรุษมาซื้อตามราคาที่มัสยิดกำหนดและก็จ่ายข้าวสารนั้นให้กับมัสยิด และมัสยิดก็ขายต่อให้คับคนอื่นอีก เป็นลักษณะการวนเวียน ซื้อ-มอบ-ขาย-ซื้อ-มอบ-ขาย วนเวียนไปเรื่อยๆ และเงินที่ได้จากการฃายข้าวสารก็ถือเป็นรายได้ของมัสยิด บางมัสยิดผู้บริหารเป็นผู้จัดสรรว่าให้ใครเท่าไร กี่คน และจ่ายให้ผู้มีสิทธิแต่ละประเภทหลังละหมาดอีดก็มีบ้างเหมือนกัน

3)บางมัสยิดมีคณะกรรมการซะกาตเป็นคณะกรรมการเฉพาะกิจที่ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมาเป็นผู้บริหารตัดการซะกาตในชุมชน แต่รูปการดำเนินนั้นมัสยิดหรือคณะกรรมการก็คิดกันเอง จึงได้รูปแบบที่หลากหลาย ทั้งที่ดีเป็นที่ยอมรับของชุมชน และสร้งปัญหาขึ้นในชุมชนจนไม่สามารถเดินต่อได้

4)บางมัสยิดกำลังคิดจะทำแต่ติดขัดเรื่องปัญหาคิละฟียะฮฺ(ทัศนะของนักวิขาการฟิกฮฺที่ไม่ตรงกัน)จะทำเป็นอาเมลก็ไม่มีซุลฏอน ไม่ใชารัฐอิสลาม จะทำแบบวากิล(การมอบหมาย)ก็ไม่น่าจะได้ ต่างๆเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นปัญาหาข้อจัดแย้งที่หลายมัสยิดยังไม่กล้าที่จะลงมือทำ อีหม่ามจึงมีแต่คำตอบว่า #บ้านเรายังไม่พร้อม

5)การจัดตั้งองค์กรหรือโครงการขึ้นมาด้วยแนวคิด จุดประสงค์ ที่แตกต่างกัน แต่เป้าหมายสูงสุดก็เพื่อรวบรวมซะกาตเป็นทุนทางสังคมเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีสถานะภาพที่สมควรจะได้รับการข่วยเหลือจากสังคม

หลายองค์ไปรณรงค์ด้วยการอิงกระแสจนเกิดการเข้าใจคลาดเคลื่อน ผิดเพี้ยนไปจากความเดิมของกุรอ่านและฮะดิส เช่น

– [ ] การไปชูประเด็น #เด็กกำพร้า #หญิงหม้าย ซึ่งบุคคล 2 ไม่ได้ถูกกำหนดให้ผู้มีสิทธิรับซะกาต เพราะมีลูกกำพร้าและหญิงหม้ายบางคนทีไม่ได้อยู่ในสถานะของความยากจนลำบากที่เราจะช่วยเหลือในด้านทรัพย์สิน เขาอาจจะต้องการอย่างอื่นจากสังคม เป็นต้น
– [ ] การจัดการซะกาตแบบลักษณะการเคลื่อนย้ายซะกาตจากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง ในขณะที่คนในพื้นนั้นยังมีผู้ที่มีสิทธิรับซะกาต ซึ่งมันจะไม่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ท่านศาสดาซล.เคยปฏิบัติดังรายงานจากท่านนบี ว่าท่านนบีได้ส่งเศาะฮาบะฮฺไปยังหัวเมืองต่างๆเพื่อทำหน้าที่จัดเก็บ หนึ่งจำนวนศอฮบ๊ะคือมุอ๊าซ มีรายงานว่าท่านนบีได้ส่งท่าน มุอ๊าซ อิบนุ ญะบัล ไปยังแคว้นเยเมน และท่านได้สั่งมุอ๊าซไว้ตอนหนึ่งว่า:
‎” فأخبرهم أنّ الله تعالى فرض عليهم صدقة تؤخذ من أغنيائهم فتُردّ على فقرائهم ”

“จงบอกพวกเขาว่าอัลลอฮฺได้ทรงกำหนดซะกาตเหนือพวกเขา โดยเก็บจากคนร่ำรวยของพวกเขา และจ่ายคืนให้แก่คนยากจนของพวกเขา”
(บุคอรีย์ 1997: หมายเลข 1496)

จากที่กล่าวมาผู้เขียนเห็นว่ายังมีปัญหาข้อจำกัดในการพัฒนาระบบซะกาตในบ้านเราอยู่บ้าง จึงมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. ให้สำนักงานคณะกรรมอิสลามปรจำจังหวัดศึกษารูปแบบการบริหารจัดการซะกาตที่ถูกต้องและเหมาะสม ที่สามารถดำเนินการได้ เชื่อว่าในบ้านเรามีหลายกรณีที่ดำเนินการมาแล้วด้วยตนเองและทำได้ดี เพียงตอนนี้รูปแบบต่างๆเหล่านั้นขาดการนำมาเสนอต่อสาธารณะและบางแห่งอาจจะทำไม่ดีเท่ามี่ควรและไม่สอดคล้องกับหลักวิชาการก็ได้

2. ปัจจุบันคณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดบางจังหวัดได้มีการแต่งตั้งอีหม่ามเป็นเจ้าหน้าที่ซะกาต(อาเมล)ซึ่งถือเป็นแนวความคิดที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ดี เพียงแต่เมื่อแต่งตั้งแล้วถ้าได้มอบเครื่องมือ แนวทาง รูปแบบ วิธีการดำเนินให้ละเอียด มีเอกสารคู่มือการปฏิบัติงานซึ่งอาจจะมีหลายรูปแบบที่หลายหลายที่สามารถเลือกและประยุกต์ใช้ให้เข้ากับแต่ละบริบทของชุมชนนั้นๆ

3. การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องซะกาตแบบเจาะลึกในระดับนักวิชาการ ผู้นำศาสนา ทุกระดับและหาข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการประชุมสัมมนามาบ้างแล้ว. แต่ข้อมูล องค์ความรู้และประสบการณ์ต่างๆเหล่านั้นยังไม่ค่อยได้มีการตีแผ่สู่สังคมเท่าที่ควร ผู้เขียนคิดว่าหากมีการสร้างความรู้ รณรงค์กันอย่างจริงจังเหม่อนกับเรื่องฮัจย์ ก็ทำให้สังคมมีความเข้าอันนำไปสู่การปฏิบัติมากขึ้น

4. การเริ่มดำเนินการของจัดระบบซะกาตนั้นต้องเน้นในระดับชุมชนท้องที่แต่ละมัสยิดให้มีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมีคณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดเป็นพี่เลี้ยงที่ให้คำแนะนำ สนุนสนุนทางวิชาการ ให้มีความเชี่ยวชาญ เมื่อมัสยิดดำเนินการเกิดประโยชน์เป็นไปตามเจตนารมณ์ของซะกาต และผ่านการประเมินจากซะกาตฟิตเราะฮฺ ก็พัฒณาไปสู่ซะกาตทรัพย์สิน ซึ่งจะมีจำนวนมากที่สังคมยังเข้าไม่ถึงหลายอาชีพที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ มีรายได้เป็นล้าน จึงถือเป็นหน้าที่ของนักวิชาการที่จะต้องศึกษากันอย่างจริงจังหาข้อสรุปให้ชัดเจน เมื่อนั้นก็จะสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นกองทุนซะกาตที่สังคมคาดหวังต่อไป ให้แต่จังหวัดจัดตั้งองค์กรที่อาจจะเป็น #บัยตุลมาล ที่คอยช่วยเหลือกองทุนซะกาตใดที่ขาดสภาพคล่องในการดำเนินงาน เป็นต้น

จากประสบการณ์ที่มีการจัดระบบซะกาตในชุมชนต่างๆ เช่น

รายหนึ่งคณะกรรมการได้จัดสรรซะกาตฟิตเราะให้จำนวนหนึ่งไม่มากนักแต่กินไม่หมดจึงนำไปขายเอาเงินมาเสริมทุนเดิมที่มีขายข้าวยำประกอบกับความขยันปัจจุบันเข้ากลายเป็นคนจ่ายซะกาต

อีกกรณีหนึ่งให้วัวหนึ่งตัวไปเลี้ยงเพื่อว่าจะได้ไปขยายพันธุ์จะสร้างรายได้ให้ครอบครัว แต่ด้วยความรับผิดชอบที่ต่างกันในที่สุดก็นำวัวไปขายโดยไม่ได้ขยายพันธุ์

อีกกรณีหนึ่งมัสยิดควนโต๊ะเหรงจังหวัดสตูลคณะกรรมการมัสยิดสมัยนั้นได้นำเงินซะกาตไปสร้างสวนยางให้ผู้มีสิทธิรับซะกาตและใช้กองทุนซะกาตเป็นเงินเดือนครูสอนศาสนาในชุมชนได้

และบางพื้นที่พัฒนาไปเป็นทุนการศึกษาของเยาวชนมุสลิมในชุมชน

ที่กล่าวมากองทุนซะกาตมิใช่แนวคิดที่พูดกันเฉพาะในวงวิชาการแต่มีการนำไปปฏิบัติทั้งที่สำเร็จและไม่สำเร็จ ซะกาตจึงเป็นต้นทุนทางศาสนาที่พัฒนาสังคมได้หากมีการวางแผน กำหนดแนวทางและดำเนินการจากชุมชนขึ้นไป สู่ระดับอำเภอจังหวัด

วันนั้นกองทุนซะกาตก็จะเป็นเกิดขึ้นด้วยความเข้มแข็ง มั่นคง สังคมมั่งคั่ง และยั่งยืน อย่างไม่อยาก

 6,526 total views,  2 views today

You may have missed