พฤศจิกายน 27, 2024

สื่อเพื่อสันติspmc

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ถอดบทเรียนการบริหารจัดการซะกาตฟิตเราะห์ของมัสยิดปีโควิด: บางมัสยิดใน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และข้อเสนอแนะ

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ปัจจุบันการบริหารจัดการซะกาตฟิตเราะห์ของมัสยิดในชุมชนมุสลิมเป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งในการช่วยแก้ปัญหา และพัฒนาชุมชนมุสลิมด้วยการจัดการตนเองโดยเฉพาะช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโควิด
ผู้เขียนเพียงจะหยิบหยิบตัวอย่างบางมัสยิดในอำเภอจะนะ สามมัสยิด ด้วยกัน

หนึ่ง
มัสยิดควนหัวช้าง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาซึ่งนายอุมาร์ หมันหลี คอเต็บมัสยิด (หมอโส๊ะ จะนะ) กรุณาถ่ายทอดประสบการณ์

มัสยิดควนหัวช้าง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ดำเนินงานกองทุนซะกาตมาแล้ว ประมาณ 30 ปี
โดยกระบวนการจัดเก็บซะกาต ยังคงเป็นระบบดังเดิมที่ดำเนินงานมายาวนาน
ซึ่งกระทำการโดยมี ฮัจยีอับดุลเล๊าะ สายสะอิด และ ฯพณฯ จุฬาราชมนตรี อาศิส พิทักคุมพล
ประธานคณะกรรมการอิสลาม ในสมัยนั้น
การดำเนินงานจะเริ่มจาก สำรวจราคาข้าวสารที่ชาวบ้าน
ซื้อรับประทานภายในหมู่บ้านจาก ร้านค้าในหมู่บ้าน
จากนั้นทำการประมาณราคาสารประจำปี พร้อมทั้งให้ กรรมการมัสยิดคัดเลือก
ผู้มีสิทธิ์ รับซากาต โดยให้ชาวบ้านมีสิทธ์เสนอได้
ห้วงเวลาเสนอผู้มีสิทธิ์รับซากาต เปิดโอกาสให้ 2 สองสัปดาห์
กระบวนการ จัดเก็บ ยังคงใช้ระบบเดิม โดยที่กรรมการมัสยิดและ
ชาวบ้าน ได้ลงมติ ที่จะใช้ระบบเดิม ในการจัดเก็บ โดยที่ชาวบ้าน
ยินยอมให้กรรมการมัสยิดนั้น สามารถทำการขายข้าวสารที่นำมามอบให้
และผู้มีสิทธิ์รับซะกาต ก็ยินยอมในการขายข้าวสารดังกล่าว
โดยทั้งนี้ กรรมการมัสยิดและชาวบ้าน ได้เล็งเห็นถึงความสะดวกใน
การจัดเก็บและผลประโยชน์ที่ได้รับแก่ผู้มีสิทธิรับซากาต
โดยผู้ได้รับซากาต จะได้รับส่วนแบ่งเป็นข้าวสารและเงินที่ได้จาก
การขายข้าวสาร ซึ่ง บางครั้ง ผู้ได้รับซะกาตมีความจำเป็นต้องใช้เงินในขณะที่การจ่ายเป็นข้าวสารจำนวนมาก อาจทำให้ข้าวสารเสียก่อน
รับประทานหมด
ราคาข้าวสารฟิตเราะห์ ที่มัสยิดขายจะต้องไม่แพงกว่าหรือต่ำกว่าราคาข้าวสารที่
ชาวบ้านรับประทาน หากมัสยิดขายข้าวสารในราคาที่แพง กว่า
ราคาท้องตลาด จะเป็นการเอาเปรียบ กดขี่ ข่มเหง ชาวบ้านผู้จ่ายฟิตเราะห์
ในขณะที่การขายข้าวสารราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาด เป็นการลิดรอนสิทธิ
ของผู้ได้รับซากาต
กองทุนซะกาตได้กัน ซะกาตไว้สำรองส่วนหนึ่งเพื่อไว้ยามฉุกเฉินและ
เพื่อการบริหารการเรียนตาดีกา การบริหารมัสยิด
ที่ผ่านมา กองทุนซากาตได้ ช่วยเหลือ ชาวบ้านในหมู่บ้านในยามประสบ
อุทกภัยอย่างยาวนาน โดยการซื้อข้าวสารแจกจ่าย
ในปีที่ผ่านมา กองทุนซากาตได้ช่วยเหลือ ครอบครัวมูอัลลัฟซึ่งยากจน
ขัดสน มีภาระ ลูกชายไม่สบาย นอนโรงพยาบาล ขัดสนแม้นกระทั่งเงินเดินทาง
ทางกองทุนซากาตได้จัดซื้อข้าวสาร และมอบเงิน ช่วยเหลือจำนวน ให้แก่
ครอบครัวดังกล่าว ยังความปลาบปลื้อมดีใจแก่ครอบครัวดังกล่าวอย่างมาก
ปัจจุบัน มัสยิดควนหัวช้างจัดเก็บซากาต ได้ 95 % ของ สัปปุรุษทั้งหมด


ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ของสังคม ภายนอก ที่ว่าการจัดเก็บซากาต
ดังกล่าว ไม่ถูกต้อง เนื่องจาก หมุนเวียน ขายข้าวสาร และมีซะกาตส่วนเหลือ
ที่แจกจ่ายไม่หมด
ทางมัสยิด ได้หารือ ถึงแนวทาง ดังกล่าว แล้ว ทุกฝ่ายล้วนเห็นว่า รูปแบบ
ที่ดำเนินการ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ชุมชน
ทางมัสยิด ได้แก้ปัญหา เรื่อง สิทธิในการซื้อขาย โดยการอนุญาตของผู้ให้
และผู้รับ นั้นคือ การยินยอมของทุกคนในชุมชนในกรรมสิทธิ์ดังกล่าว
#นายอุมาร์ หมันหลีกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ในปีแรกๆของการจัดตั้งกองทุนซากาต สมัยนั้น ยังไม่มีโรงเรียนตาดีกา
มีการจัดเรียนของครุสัมพันธ์ในบางหมู่บ้าน แต่ที่ ควนหัวช้างสมัยนั่น
ไม่มีการเรียนการสอนของคุรุสัมพันธ์เพราะไม่มีงบประมาณ
ไม่มีบุคคลากร
ดังนั้นในปีแรกๆ ทางกองทุนซากาตได้จัดสรรเงินส่วนหนึ่งเป็นทุนการศึกษา
แก่เด็กยากจน โดยทางกองทุนสนับสนุน ชุดนักเรียน คนล่ะ 2 ชุดพร้อม
ค่าเทอม โดยสนับสนุนเด็กยากจนประมาณ 5-6 คนเข้าเรียน ปอเนาะสมัย
นั่น ในช่วงประมาณปี 2535
ต่อมากองทุนพบว่า การสนับสนุนดังกล่าวไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจาก
เด็กเรียนไม่จบ ออกจากการเรียนกลางคัน ทำให้ทางกองทุนเล็งเห็นว่า
ควรจะจัดการเรียนการสอนในชุมชนด้วยตนเอง ทางกองทุนจึงได้จัดสรรเงิน
งบประมาณดังกล่าว ในการจัดการเรียนการสอนตาดีกา ในยุคที่ยังไม่มีการ
สนับสนุนจากหน่วยงานใดๆ และดำเนินงานต่อมาจนถึงปัจจุบัน”
สอง มัสยิด ซอลิหุดดีน ((ศาสนบำรุง) ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
มีการมอบข้าวสาร 500 ทะนาน สำหรับ 35 คน จากซะกาตฟิตเราะห์จากการบริหารงานของมัสยิด ซอลิหุดดีน ((ศาสนบำรุง) ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาโดยขอความกรุณาให้สับปุรุษทุกครัวเรือนแบ่งซะกาตส่วนหนึ่งให้ทีมัสยิดก่อนวันอีดให้แล้วเสร็จ3-4 วันเพื่อให้มัสยิดสามารถเป็นสื่อกลางมอบทั้ง 35 ก่อนวันอีดหนึ่งวัน
บออับดุลฮาลีม ล่าเต๊ะ อิหม่ามมัสยิด และกรรมการอิสลามประจำจังหวัดขลากล่าวว่า “อัลฮัมดูลิลละฮ์กับการบริหารจัดการซะกาตฟิตเราะห์ประจำปี1442 ฮ.ภายใต้มัสยิดเรา ขออัลลอฮ์ตอบแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้การจัดการสำเร็จลุล่วงด้วยดี”(ประมวลภาพ

https://www.facebook.com/abdulhalim.lateh.14/videos/826794324596002/?)
สามมัสยิดสอลาฮุดดีน ม.4 ต.สะกอม (บ้านปากบาง) อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
นายนาสอรี หว่าหลำ เปิดเผยว่า “การดำเนินการ “ซะการฟิตเราะห์ “โดยเราเตรียม ข้าวสารหลายกระสอบ​ ไว้เพื่อให้สัปปุรุษซื้อเป็นซากาตฟิตเราะก็ถูกทยอยนำมาจัดการชั่งน้ำหนักเป็นทะนานตามที่กำหนดไว้​ (1 ทะนาน=2.8​ กก.)​ แล้วขายให้สัปปุรุษ(ขอความร่วมมือ)ที่ต่างทยอยกันมาซื้อ​ เสร็จแล้วก็จ่ายเป็นซากาตฟิตเราะห์ ของตนและครอบครัว​เลย ให้ทีมัสยิดก่อนวันอีดให้แล้วเสร็จ3-4 วันเพื่อให้มัสยิดสามารถเป็นสื่อกลางมอบทั้ง 35 ก่อนวันอีดหนึ่งวันโดยจ่ายกับเจ้าพนักงานที่มัสยิดแต่งตั้งไว้และรอรับซากาตอยู่ที่มัสยิดนั่นเอง ขอให้อัลลอฮ์ตอบแทนความดีทุกท่าน
: آجَرَك اللَّهُ فيما أعْطَيْتَ، وبارَكَ لك فيما أبْقَيْتَ،
وجَعَلَه لك طَهُورًا).”

”(ประมวลภาพ https://www.facebook.com/100002286998505/posts/3896994710386724/?d=n)
มุหัมหมัด ล่าเม๊าะ กรรมการมัสยิดเร๊าะหม๊ะ บ้านพ้อแดง ประธานกลุ่มออมทรัพย์พัฒนาบ้านพ้อแดง หมู่ที่ 2 ต.คู อ.จะนะ จ.สงขลา


หลายมัสยิดได้ดำเนินการจัดการซะกาต เริ่มจากซะกาตฟิตเราะฮฺ บางมัสยิดที่คณะกรรมการมัสยิดและหรือคณะกรรมการซะกาตมีความรู้ความเข้าใจ ก็สามารถจัดการซะกาตทรัพย์สินประเภทอื่นๆด้วย. และอีกหลายมัสยิดก็เริ่มคิดเริ่มดำเนินการแล้ว ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการนั้นต้องยอมรับว่ามีหลากหลายรูปแบบ เช่น

1)การจัดเก็บซะกาตโดยมัสยิดขอแบ่งซะกาตจากสัปปุรุษครอบครัวละเท่าไรขึ้นอยู่กับข้อตกลงของมัสยิดนั้นๆ เพื่อจ่ายให้คนมีหนี้สินที่ได้มอบหมายให้ ใครสักคนไปซื้อวัสดุอุปกรณ์มาทำโน้นนี้ในมัสยิดและเป็นหนี้สินไว้ และจะใช้ซะกาตมาชะรำหนี้ดังที่กล่าวมา

ซะกาตจำนวนที่เหลือแต่ละครอบครัวให้อิสระแก่สัปปุรุษว่าจะไปจ่ายให้ใครตามความพอใจของแต่ละคน บางคนคิดถึงคนนั้นคนนี้ที่เคยมีพระคุณ เป็นโต๊ะครู หญิงหม้ายเป็นเด็กกำพร้าบางที่ก็ต้องเดินทางไปไกลไปต่างตำบลอำเภอก็มี

2)มัสยิดซื้อข้าวสารมาจำนวนหนึ่งบรรจุในภาชนะอย่างใดอย่างหนึ่งไว้บริการสัปปุรุษมาซื้อตามราคาที่มัสยิดกำหนดและก็จ่ายข้าวสารนั้นให้กับมัสยิด และมัสยิดก็ขายต่อให้คับคนอื่นอีก เป็นลักษณะการวนเวียน ซื้อ-มอบ-ขาย-ซื้อ-มอบ-ขาย วนเวียนไปเรื่อยๆ และเงินที่ได้จากการฃายข้าวสารก็ถือเป็นรายได้ของมัสยิด บางมัสยิดผู้บริหารเป็นผู้จัดสรรว่าให้ใครเท่าไร กี่คน และจ่ายให้ผู้มีสิทธิแต่ละประเภทหลังละหมาดอีดก็มีบ้างเหมือนกัน

3)บางมัสยิดมีคณะกรรมการซะกาตเป็นคณะกรรมการเฉพาะกิจที่ได้รับการแต่งตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมาเป็นผู้บริหารตัดการซะกาตในชุมชน แต่รูปการดำเนินนั้นมัสยิดหรือคณะกรรมการก็คิดกันเอง จึงได้รูปแบบที่หลากหลาย ทั้งที่ดีเป็นที่ยอมรับของชุมชน และสร้งปัญหาขึ้นในชุมชนจนไม่สามารถเดินต่อได้

4)บางมัสยิดกำลังคิดจะทำแต่ติดขัดเรื่องปัญหาคิละฟียะฮฺ(ทัศนะของนักวิขาการฟิกฮฺที่ไม่ตรงกัน)จะทำเป็นอาเมลก็ไม่มีซุลฏอน ไม่ใชารัฐอิสลาม จะทำแบบวากิล(การมอบหมาย)ก็ไม่น่าจะได้ ต่างๆเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นปัญาหาข้อจัดแย้งที่หลายมัสยิดยังไม่กล้าที่จะลงมือทำ อีหม่ามจึงมีแต่คำตอบว่า #บ้านเรายังไม่พร้อม

5)การจัดตั้งองค์กรหรือโครงการขึ้นมาด้วยแนวคิด จุดประสงค์ ที่แตกต่างกัน แต่เป้าหมายสูงสุดก็เพื่อรวบรวมซะกาตเป็นทุนทางสังคมเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีสถานะภาพที่สมควรจะได้รับการข่วยเหลือจากสังคม”

ดังนั้นท่านจึงมีข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้

1. ให้สำนักงานคณะกรรมอิสลามปรจำจังหวัดศึกษารูปแบบการบริหารจัดการซะกาตที่ถูกต้องและเหมาะสม ที่สามารถดำเนินการได้ เชื่อว่าในบ้านเรามีหลายกรณีที่ดำเนินการมาแล้วด้วยตนเองและทำได้ดี เพียงตอนนี้รูปแบบต่างๆเหล่านั้นขาดการนำมาเสนอต่อสาธารณะและบางแห่งอาจจะทำไม่ดีเท่ามี่ควรและไม่สอดคล้องกับหลักวิชาการก็ได้

2. ปัจจุบันคณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดบางจังหวัดได้มีการแต่งตั้งอีหม่ามเป็นเจ้าหน้าที่ซะกาต(อาเมล)ซึ่งถือเป็นแนวความคิดที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ดี เพียงแต่เมื่อแต่งตั้งแล้วถ้าได้มอบเครื่องมือ แนวทาง รูปแบบ วิธีการดำเนินให้ละเอียด มีเอกสารคู่มือการปฏิบัติงานซึ่งอาจจะมีหลายรูปแบบที่หลายหลายที่สามารถเลือกและประยุกต์ใช้ให้เข้ากับแต่ละบริบทของชุมชนนั้นๆ

3. การสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องซะกาตแบบเจาะลึกในระดับนักวิชาการ ผู้นำศาสนา ทุกระดับและหาข้อสรุปที่ชัดเจน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการประชุมสัมมนามาบ้างแล้ว. แต่ข้อมูล องค์ความรู้และประสบการณ์ต่างๆเหล่านั้นยังไม่ค่อยได้มีการตีแผ่สู่สังคมเท่าที่ควร ผู้เขียนคิดว่าหากมีการสร้างความรู้ รณรงค์กันอย่างจริงจังเหม่อนกับเรื่องฮัจย์ ก็ทำให้สังคมมีความเข้าอันนำไปสู่การปฏิบัติมากขึ้น

4. การเริ่มดำเนินการของจัดระบบซะกาตนั้นต้องเน้นในระดับชุมชนท้องที่แต่ละมัสยิดให้มีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมีคณะกรรมอิสลามประจำจังหวัดเป็นพี่เลี้ยงที่ให้คำแนะนำ สนุนสนุนทางวิชาการ ให้มีความเชี่ยวชาญ เมื่อมัสยิดดำเนินการเกิดประโยชน์เป็นไปตามเจตนารมณ์ของซะกาต และผ่านการประเมินจากซะกาตฟิตเราะฮฺ ก็พัฒณาไปสู่ซะกาตทรัพย์สิน ซึ่งจะมีจำนวนมากที่สังคมยังเข้าไม่ถึงหลายอาชีพที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ มีรายได้เป็นล้าน จึงถือเป็นหน้าที่ของนักวิชาการที่จะต้องศึกษากันอย่างจริงจังหาข้อสรุปให้ชัดเจน เมื่อนั้นก็จะสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นกองทุนซะกาตที่สังคมคาดหวังต่อไป ให้แต่จังหวัดจัดตั้งองค์กรที่อาจจะเป็น #บัยตุลมาล ที่คอยช่วยเหลือกองทุนซะกาตใดที่ขาดสภาพคล่องในการดำเนินงาน เป็นต้น”
หมายเหตุอ่านหนังสือซะการของผู้เขียนใน http://k4ds.psu.ac.th/k4ds_search/pdf/books/1286.pdf

 10,254 total views,  2 views today

You may have missed