อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
(23 เมษายน 2564) ผู้เขียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “รอมฎอนกับ การบริจาค หนึ่งภารกิจงานอาสา จากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ” กับ
อาจารย์อิสม่าแอน หมัดอะด้ำ ประธานมูลนิธิคนช่วยฅน และครูรุชดี ยะมันยะ ผู้ช่วยเลขานุการสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา ซึ่งสามารถสรุป(บาง)ประเด็นดังนี้
อิสลามสนับสนุนการบริจาค หนึ่งภารกิจงานอาสา
อิสลามสนับสนุนการบริจาค ซึ่งเป็นหนึ่งภารกิจงานอาสา โดยเฉพาะเดือนรอมฎอน ซึ่งมีหลักฐานทั้งจากคัมภีร์อัลกุรอ่านและแบบฉบับท่านศาสดา
การแปลงจากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ
เมื่อพูดถึงงานจิตอาสาโดยเฉพาะการบริจาคเรามักนึกถึงองค์กรการกุศลภายนอกอื่นๆไม่ว่าโลกอาหรับ และตะวันตกโดยลืมนึกถึงตัวเอง การเกิด CHNS – สภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรีและคนช่วยคนที่สามารถช่วยมุสลิมด้วยกัน และต่างศาสนิกคนในพื้นที่ คนในประเทศและต่างประเทศมาจากโมเดล 23 ปีของท่านศาสดา ที่เริ่มด้วยตัวเรา คนในครอบครัว ญาติพี่น้อง และเพื่อนๆ องค์กรของเราเริ่มด้วยตัวเองก่อน และเชิญเครือข่าย สำหรับในจังหวัดสงขลา เรา เริ่มด้วยตัวเรา ชวนโรงเรียนต่างๆ เข้ามาแก้ปัญหาบองตนเอง เริ่มด้วยสิ่งง่ายๆในการนำหะดีษเพียงหะดีษเดียวเรื่องความสะอาด จนสามารถแก้ปัญหาความสกปรก ความไม่สะอาด ขยะที่สนามบิน ได้ เด็กไปโรงเรียนต่างๆที่ไปไม่ใช่ไปเก็บขยะอย่างเดียว แต่ไปรณรงค์ให้ทุกคนเก็บขยะจนนำไปสู่การการมีจิตสำนึกทิ้งขยะลงถังหรือไม่ทิ้งขยะ
นอกจากนี้ที่นั่นเรายังให้นักเรียนร่วมถอดบทเรียนร่วมกัน จนงานมุสลิมรักษ์ความสะอาดหลายๆคน หลายองค์กรเอาไปขับเคลื่อนซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นโลโก้เรา ในงานช่วยเหลืออื่นๆก็เช่นกันโดยเฉพาะการสร้างบ้านให้ผู้ยากไร้ และผู้ประสบภัยในจังหวัดภาคใต้ ซึ่งขณะนี้ไม่ถึงสองปี ได้กว่า 20 หลัง รวมทั้งรอมฎอนล่าสุด ทั้งๆที่เราไม่มีเงินสักบาทแต่เราชวนคนในพื้นที่เขาเองออกมาช่วยโดยเราแค่เป็นสื่อกลางไปดูว่าแต่ละคนช่วยอะไรได้บ้าง ไม่จำเป็นต้องเงิน ผู้นำแต่ละองค์กรช่วยอะไรได้บ้าง ช่วยแรง ช่วยวัสดุ ช่วยงบประมาณในโครงการเช่นอบต. อำเภอ องค์กรที่อยู่ภายใต้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เช่นเขาช่วยได้ 2 หมื่น วัสดุใครช่วยได้อีกเท่าไร องค์กรนอกพื้นที่ คนนอกพื้นที่โดยเฉพาะปัจจุบันเราใช้สื่อโซเชี่ยลใครมีน้อยโอนน้อยก็แล้วแต่ พอเงิน งบประมาณพอแล้วเราก็ปิดรับบริจาคทีละหลัง หลังจากนั้นให้คณะทำงานในชุมชนเขาออกแบบการช่วยเหลือเองจนได้รับความเชื่อถือ
เช่นในรอมฎอน เคส 006/64
ซมูลนิธิคนช่วยฅน ร่วมกับสภาเครือข่ายช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม สำนักจุฬาราชมนตรี ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อเท็จจริงเคสผู้ยากไร้และสร้างกระบวนการ การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ณ ตำบลเขาทอง อ.เมือง จ.กระบี่ เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2564
:::
💢 หลังจากนั้นทางผู้ใหญ่บ้านและกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการได้ลงมือก่อสร้างทันที เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2564 โดยมี ศปง.ฝั่งอันดามัน และศปง.กระบี่ เป็นผู้อำนวยการโครงการ
:::
📣 ทางมูลนิธิคนช่วยฅน เปิดโอกาศให้พี่น้องผู้มีจิตเมตตาได้ร่วมแบ่งปัน เพื่อสร้างบ้านใหม่ให้น้องบีฮุสนา ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2564 และปิดการร่วมแบ่งปัน เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2564 เพื่อเปิดการช่วยเหลือเคสต่อไป
นอกจากนี้ความท้าทายที่สำคัญไม่แพ้กันคือสตรีหลังบ้านที่เราจะสร้างความเข้าใจเป็นอันดับแรกซึ่งแบบอย่างท่านศาสดาสอนไว้ ไม่ว่าพระนางคอดียะห์และอาอีซะห์ อย่างสุดท้ายคือความต่อเนื่องในการส่งต่อคนรุ่นหลังโดยเฉพาะเราได้เขาไปหนุนเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กับครูและเด็กในโรงเรียนสำหรับสงขลาเราทำงานร่วมกับสมาคมโรงเรียนเรีนนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา
“
หมายเหตุ
1.ชมย้อนหลัง
Jariyatham TV Chana,Songkhla วันศุกร์ที่ 23 เมษายน 2564 เวลา 17.00-18.00 น.พบ กับ อาจารย์อิสม่าแอน หมัดอะด้ำ ประธานมูลนิธิคนช่วยคน
หัวข้อ “รอมฎอนกับ การบริจาค หนึ่งภารกิจงานอาสา จากทฤษฎีสู่ปฏิบัติ” ดำเนินรายการโดย ครูรุชดี ยะมันยะ
ฟังย้อนหลังใน https://www.facebook.com/jariyathamsuksaschool/videos/845058103026312/
2.ติดตามเพจมูลนิธิ คนช่วยฅน ได้ใน
https://www.facebook.com/Khonchuaykhon/
3,476 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.