อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
#Save แยม
#Save สื่อ ดังขึ้นและสั่นสะเทือนความมั่นคงรัฐบาลอีกครั้งหลังแยม “ฐาปณีย์ เอียดศรีชัย “นักข่าวชื่อดังออกมาเผยผ่านFacebook ว่า “กำลังถูกคุกคามจากบางคนในหน่วยความมั่นคงหลังลงพื้นที่ทำข่าว ข้าว 700 กระสอบจากฝั่งไทยไปให้พม่า”ซึ่งแยมสะท้อนผ่านFacebook ว่า “ยังคงมีเพื่อนส่งคำเตือน
และความห่วงใย ต่อกรณีข่าวชายแดน
ที่ทำในช่วงที่ผ่านมา และเพื่อนยังส่งข้อความ
ของบุคคลที่โพสต์ข้อความ บิดเบือน ใส่ร้ายป้ายสี ยุงยง ปลุกปั่น กล่าวหา ข่มขู่ คุกคาม
การทำหน้าที่ของเรา ซึ่งมีถึงระดับผู้คุมกำลังในพื้นที่ เราเก็บทุกอย่างไว้เป็นหลักฐาน
เพื่อดำเนินคดีตามกฏหมายแล้วค่ะ ที่ผ่านมาเราทำหน้าที่ สื่อ
รายงานสิ่งที่ชาวบ้านร้องเรียน
และขอให้ตรวจสอบไม่ได้ให้ร้ายท่านเลย
ทำไมท่านถึงโกรธแค้นกันขนาดนี้
อยากให้ท่านกลับไปหน้าที่
ของท่านให้ดี ดีกว่าค่ะขอบคุณค่ะ :-:”
และ Paskorn Jumlongrach (ภาสกร จำลองราช) ได้เขียน Facebook ว่า “สะเก็ดข่าว
ข้าว 700 กระสอบ
——–
“พี่ เดี๋ยวกรูจะกลับไม่แม่สามแลบอีกดีมั้ย คืนนี้เขามาขนข้าวกลับไป”
เแยม-ฐปณีย์ เอียดศรีไชย โทรมาคุยราวเกือบ 4 ทุ่ม คืนวันที่ 23 มีนาคม 2564
ผมห้ามเธอทันที “ไม่ต้องไปหรอก อันตรายมากๆ ไปพรุ่งเช้าดีกว่ามั้ย”
ที่ว่าอันตรายเพราะเราได้รับข้อมูลว่า
การที่ “แยม” เกาะติดข่าวนี้สร้างความไม่พอใจให้กับผู้คุมกำลังหน่วยหนึ่งเอามากๆ
เส้นทางจากอำเภอแม่สะเรียง ที่แยมพักอยู่ไปยังบ้านแม่สามแลบ นั้นโคตรเปลี่ยว
แม้เข้าใจในความเป็นนักข่าวแต่ผมก็ต้องห้าม
“มรึงเสี่ยงมากน่ะถ้าไป เกิดอะไรขึ้นจับมือใครดมไม่ได้เลยแถวนั้น”
หลังจากผมหลับไปและตื่นมาอีกทีตอนตี 5
เห็นข้อความในไลน์แบบรัวๆ
ภาพแยมถือไมค์รายงานการขนข้าวในบรรยากาศมืดตื๋อ
แต่มีข้อความตอนเกือบตี 4 บอกว่าตอนนี้กลับถึงแม่สะเรียงแล้ว
ผมได้แต่ “เฮ้อ”ยาวๆอย่างโล่งใจ
นับถือใจในความกล้าที่ผมเรียกว่าความบ้าของเธอจริงๆ
แยมกับผมติดตามข่าวข้าวสารปริศนา 700 กระสอบมาตั้งแต่ต้น
มีแหล่งข่าว แจ้งข้อมูลให้ฟังว่ามีการขนข้าวและเสบียงข้ามแดนมาจากเมียวดี ฝั่งพม่า
เพื่อเตรียมส่งให้ทหารพม่า ที่ริมแม่น้ำสาละวิน
ตรงข้ามกับบ้านแม่สามแลบ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน
ข้าว 700 กระสอบถูกนำมากองไว้ที่ท่าเรือแม่สามแลบตั้งแต่เช้าวันที่ 20 มีนาคม
แต่ไม่สามารถเอาข้ามฟากไปได้เพราะทหารกะเหรี่ยงเคเอ็นยูไม่ยอม
แยมและทีมงานThe Reporters ,ข่าวสามมิติ
เดินทางมาจาก กทม.ในวันที่ 22 มีนาคม
กว่าจะเข้าไปถึงบ้านแม่สามแลบก็เย็นย่ำ
เธอทำข่าวจนมืดดึกจึงเดินทางออกมานอนที่แม่สะเรียง
วันรุ่งขึ้นก็กลับเข้าไปแม่สามแลบใหม่
การนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่องสร้างความไม่พอใจ
ให้กับคนบางกลุ่มเพราะ“เสียลับ” ทำให้ไม่เป็นไปตามแผน
เมื่อหน่วยเหนือกระเจิดกระเจิง
ลิ่วล้อในพื้นที่จึงไม่พอใจถึงขนาดให้ร้ายแยมในไลน์กรุ๊ปจนมีผู้ห่วงใยแคปมาให้เราอ่าน
ความอาฆาตของเขาได้ส่งผ่านต่อไปยังหลายๆ คนและวนกลับมาถึงหูพวกเรา
เขาพยายามนำไปขยายผลในทำนองว่าข่าวชิ้นนี้เป็นการสร้างกระแส ของคนที่ไม่รักชาติ
ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ ผมกับแยมได้แต่หัวเราะกันหึๆ ในลำคอ คนที่รักบ้านรักเมืองเขาทำกันแบบนี้กันหรือเอาอธิปไตยของแผ่นดินไปเป็นเส้นทางขนเสบียงให้ทหารพม่า
ไม่เคยตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมาของขบวนการขนข้าว 700 กระสอบ
พยายามปิดบังอำพรางและกลายเป็นคำตอบคนละทิศละทางเขาปล่อยข่าวผ่านสื่อในสังกัดโจมตีแยมแต่เราไม่อยากต่อความยาวสาวความยืดด้วย
เรามันก็แค่นักข่าวเล็กๆ ที่ทำตามหน้าที่ของเราไปการที่คนระดับคุมกำลังแสดงออกถึงความไม่พอใจแม้ไม่ได้ออกปากข่มขู่ตรงๆ แต่เราก็พอจะรู้ความหมาย
แยมอาจเป็นนักข่าวพันธุ์ที่เขา “ไม่คุ้นชิน”
เมื่อไม่ได้อย่างใจก็แสดงท่าทีฮึ่มฮั่มตามสายพันธุ์ของเขาสุดท้ายเราก็ทำได้เพียง ช่วยๆกันดูแลกันไปเขียนมาทั้งหมดเพื่อต้องการบันทึกไว้ว่า ข่าวข้าว 700 กระสอบชิ้นนี้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังที่ซับซ้อนไม่น้อย
และการทำหน้าที่นักข่าวในยุคสมัยปัจจุบัน
พูดได้คำเดียวว่า “เหนื่อยหนัก”จริงๆ
(อ้างอิงจาก
#แยมมิได้ถูกคุกคาม ครั้งแรก
หากย้อนดูการทำงานของแยมก่อนหน้านี้ก็จะเห็นเห็นภาพการถูกคุกคามครั้งนี้
แยมหรือฐปณีย์เป็นคนจะนะ สงขลา (บ้านเดียวกับผู้เขียน)เติบโตขึ้นท่ามกลางประวัติศาสตร์การเมืองบนท้องถนน เริ่มงานข่าวครั้งแรกในชีวิตด้วยการเกาะติดการชุมนุมของสมัชชาคนจนประท้วงรัฐบาลชวน หลีกภัย ผ่านการทำข่าวเมื่อตอนรัฐประหาร 2549 และรัฐประหาร 2557 ซึ่งเธอสะท้อนว่า สื่อมวลชนน่าจะได้รับบทเรียนแล้วว่าสิทธิเสรีภาพไม่อาจฝากไว้กับกลุ่มอำนาจทหารที่เข้ามาอย่างไม่เคารพกติกาได้ จากประสบการณ์เธอกล่าวถึงภาวะการปิดกั้นสื่อจากรัฐบาลนายทุนกับรัฐบาลเผด็จการว่า “ตั้งแต่ทำงานข่าวมา ยังไม่เคยได้รับโทรศัพท์ส่วนตัวหรือถูกเรียกตัวจากรัฐบาลนายทุน เหมือนกับรัฐบาลเผด็จการ”เย็นวันที่ 22 พ.ค. 2557 ฐปณีย์ทำข่าวอยู่หน้าสโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดี-รังสิต เป็นครั้งแรกที่เธอบอกว่าได้เห็นการยึดอำนาจซึ่งๆ หน้า ต่างจากปี 2549 ที่ทักษิณ ชินวัตร ถูกยึดอำนาจในขณะที่อยู่ต่างประเทศ วินาทีรัฐประหาร เธอรู้ทันทีว่าช่องที่ตัวเองสังกัดไม่สามารถรายงานข่าวได้ตามปกติ โทรทัศน์ทุกช่องถูกเชื่อมสัญญาณเข้าโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ แต่เธอและเพื่อนร่วมงานไม่หยุดบันทึกภาพความโกลาหลหน้าสโมสรกองทัพบกที่นักการเมืองต่างขั้วหลากสีถูกทหารควบคุมตัวขึ้นรถออกไป ฐปณีย์ออกตัวว่า ไม่ใช่คนที่มุ่งมั่นทำข่าวโจมตีรัฐบาลทหาร แต่การทำข่าวเชิงสิทธิมนุษยชน ให้ความสำคัญกับเสียงคนตัวเล็กๆ เช่น แรงงานประมง ชาวโรฮิงญา และชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็ทำให้ถูกฝ่ายความมั่นคงเล่นงานได้เช่นเดียวกัน
“ระหว่างอยู่ที่ดอยไตแลง ช่อง 3 โทรมาบอกว่ากระทรวงกลาโหมส่งหนังสือมาหา บอกว่าเราออกนอกประเทศอย่างผิดกฎหมายและทำข่าวที่กระทบกับความมั่นคง ขอให้งดการนำเสนอข่าว” เธอยกตัวอย่างเมื่อปี 2559 ตอนข้ามชายแดนไทยไปทำข่าวที่ดอยไตแลงของกองกำลังไทใหญ่
เธอตอบปลายสายสนทนาไปว่า มีสื่อไปกันหลายสำนัก และไม่ได้มีอะไรน่ากังวล เพราะว่าที่ดอยไตแลงมีงานวันชาติทุกปีอยู่แล้ว เธอวิเคราะห์ว่า ช่วงเวลานั้นรัฐบาลทหารพยายามสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลพม่า อาจทำให้ข่าวที่เธอทำกระทบความเชื่อมั่นระหว่างไทยกับพม่า
จากข่าวที่ดอยไตแลงสู่ข่าวค้าแรงงานประมง ฐปณีย์บอกว่า การทำข่าวที่เผยให้เห็นว่ามีแรงงานไทยถูกหลอกไปค้าแรงงานเยี่ยงทาสที่อินโดนีเซียนานถึง20 ปี สะท้อนว่าอุตสาหกรรมประมงไทยมีส่วนร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชน
“เราเพียงแต่ต้องการให้แรงงานไทยได้รับความช่วยเหลือให้ได้กลับบ้าน ไม่ได้ต้องการที่จะโจมตีรัฐบาล แต่จังหวะนั้นเป็นช่วงที่อุตสาหกรรมประมงไทยกำลังถูกจับตาจากสหภาพยุโรป จนถูกออกใบเหลืองเพื่อตักเตือน เราถูกมองว่าการทำข่าวนี้คือการทำลายภาพลักษณ์ประเทศ”
ระหว่างที่ข่าวชิ้นนี้ออกอากาศครั้งแรก ฐปณีย์ยังอยู่ที่อินโดนีเซีย เพื่อหาทางพาแรงงานไทยได้กลับบ้าน แต่กลับกลายเป็นเป้าจากกลุ่มธุรกิจประมงไทยและอินโดนีเซีย เพราะข่าวของเธอทำให้ธุรกิจประมงเสียผลประโยชน์
“พอสื่อต่างประเทศเข้ามาจับเรื่องนี้ ก็กลายเป็นระดับโลก และรัฐบาลไทยก็กลายเป็นเป้าในสายตาของนานาชาติในเรื่องการแสดงความรับผิดชอบ ยังไม่ทันกลับถึงไทยแต่บิ๊กตู่พูดถึงเราต่อหน้าสื่อมวลชนว่า เรามีปัญญารับผิดชอบไหมถ้าไทยโดนใบเหลือง จะมีเงินจ่ายไหม 2 แสนล้านบาท สนุกมากนักหรือวิ่งไปเกาะโน้นเกาะนี้ และสั่งให้กลับไทยทันที เราคิดว่าท่าทีแบบนี้เป็นการคุกคามเสรีภาพสื่ออย่างเปิดเผยในที่สาธารณะ”
(อ้างอิงจาก:สปิริตสื่อไทยใต้ท็อปบูท บทเรียนจาก “ฐปณีย์-อิศรา-ประชาไท)
หากย้อนดูสื่อไทยพบว่าภายใต้รัฐบาลประยุทธ์ทั้งตอนครองอำนาจสมัยยึดอำและหลังเลือกตั้งก็ถูกคุกคามตลอดเมื่อต้องตรวจสอบ อำนาจรัฐ
จึงมีคำถามคำโตว่า “หรือสื่อต้องยืนคู่รัฐ ?
ภายหลังการยึดอำนาจของ คสช. อำนาจของ กสทช. บิดเบี้ยวมากขึ้น โดยเฉพาะจากอำนาจตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 97/2557 ที่ให้อำนาจ กสทช. ในการกำกับดูแลกิจการกระจายเสียงและสถานีโทรทัศน์ และยิ่งเข้มข้นมากขึ้น เมื่อ คสช. ได้มีประกาศแก้ไขเพิ่มเติมในฉบับที่ 103/2577 ที่ให้อำนาจ กสทช. สามารถลงดาบสั่งปิด หรือระงับสถานีโทรทัศน์ช่องไหนก็ได้
โดยในช่วงปี 2559 บอร์ดกสทช. ได้มีมติระงับรายการ ‘Wake Up News’ ของช่องวอยซ์ ทีวี เป็นเวลา 7 วัน รวมถึงระงับการทำหน้าที่พิธีกรของ ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หรือหม่อมปลื้ม และอธึกกิต แสวงสุข หรือ ‘ใบตองแห้ง’ เป็นเวลา 10 วัน รวมถึงมีการปรับทางสถานี เป็นจำนวนเงิน 50,000 บาท ฐานฝ่าฝืนข้อห้ามในประกาศ คสช.
นอกจากนี้ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2562 กสทช. ยังลงดาบซ้ำอีกครั้งกับวอยซ์ ทีวี โดยทำการระงับไม่ให้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเป็นเวลา 15 วัน โดยอ้างว่าทางสถานีเผยแพร่ข้อมูลที่ยุยง ปลุกปั่น ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทั้งที่ในช่วงนั้นกำลังใกล้ถึงการเลือกตั้งในเดือนมีนาคม 2562 แล้ว
#
‘หรือสื่อต้องยืนคู่รัฐ ?’ ย้อนดูกรณีคุกคาม และเครื่องมือปิดปากสื่อในรอบกว่าสองทศวรรษ
‘หรือสื่อต้องยืนคู่รัฐ ?’ ย้อนดูกรณีคุกคาม และเครื่องมือปิดปากสื่อในรอบกว่าสองทศวรรษ
การเซ็นเซอร์ข่าวสารเกิดขึ้นทั้งจากทางภาครัฐและทางกองบรรณาธิการ โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญตัวหนึ่งคือ ดัชนีเสรีภาพสื่อที่จัดโดย องค์กรนักข่าวไร้พรมแดน (Reporters sans frontiers : RSF) ที่เปิดเผยว่า ในปีในปี 2563 เสรีภาพสื่อไทยตกจากอันดับ 136 ในปี 2019 มาเป็นอันดับ 140 ในปี 2020
((อ้างอิงจาก https://thematter.co/…/freedom-of-thai-press-in…/126694)
สำหรับชายแดนภาคใต้ “สื่อเถื่อน”ที่รายงานโดยเฉพาะรายงานสดประเด็นคัดค้านโครงการจะนะเมืองอุตสาหกรรม “ถูกปิดเพจถึงสี่ครั้ง”(28 มีนาคม 2564)ซึ่งวันชัย พุทธทองผู้ดูแลเพจสื่อเถื่อนให้ทัศนะว่า “เพจเราเป็นเพียงแพลตฟอร์มโซเชียลที่นําเสนอข้อมูลเพื่อประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้พื้นที่แก่คนธรรมดาในกรณีนี้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับชุมชนในพื้นที่เกือบทั้งหมดเพื่อบอกสังคมเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาทํา คิดและยังถ่ายทอดไปยังชุมชนด้วยตนเองการพัฒนาที่สําคัญที่พวกเขาควรรู้ ที่จริงแล้วมันเป็นชุมชนที่ให้บริการคณะกรรมการข่าวถ้าคุณต้องการ ชื่อสื่อเถื่อนสื่อ =media เถื่อน = ผิดกฎหมายผิดกฎหมายหรือ ‘สื่อ ผิดกฎหมาย’ ไม่ได้หมายถึงเนื้อหาผิดกฎหมายในกรณีนี้ เถื่อน – ผิดกฎหมายผิดกฎหมายชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ไม่เป็นทางการไม่เป็นทางการดิบๆไม่ละเอียดอ่อนซึ่งตรงกับเพจ ฉันไม่มีความสามารถของกลุ่มสื่อใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนอย่างดีในการแชร์หรือทําซ้ําข้อความในรูปแบบที่ซับซ้อนดังนั้นเนื้อหาจะถูกนําเสนอในรูปแบบที่ตรงมากขึ้นเช่นชีวิต การนําเสนอเรื่องราวตามชุมชนในทุกวันนี้ยังหมายถึงการนําเสนอสิ่งที่ผู้มีอํานาจอาจไม่ชอบ ตัวอย่างข่าวชุมชนประมงมุสลิมท้องถิ่นของอําเภอจะนะในจังหวัดสงขลาภาคใต้ของประเทศไทยประท้วงอํานาจคัดค้านการตั้งอสังหาริมทรัพย์อุตสาหกรรมบนที่ดินของตน น่าเสียดายที่มุสลิมเหล่านี้เป็นชนกลุ่มน้อยที่นี่และเมื่อกระบวนการใช้เวลานานมาแล้วเรื่องราวถูกปล่อยออกจากวาระสื่อแห่งชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเรื่องราวที่ใหญ่กว่ามากเพื่อให้พวกเขาครอบคลุมและสถานที่นั้นอยู่ไกลเกินไปสําหรับนักข่าวส่วนใหญ่ เพจนี้อาจเป็นพื้นที่เดียวที่ชาวบ้านสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาและการกระทําของพวกเขาในการคัดค้านโครงการที่ได้รับการนําเสนอให้ทั่วโลกได้อย่างต่อเนื่อง การปิดมันลงยังหมายถึงการปิดช่องทางหนึ่งที่มีประโยชน์สําหรับชุมชนนั้น”
#ละเมิดสื่อ=ละเมิดประชาชน
เมื่อยอมรับว่าสื่อในยุคนี้มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับสิทธิและเสรีภาพในการได้รับรู้ของประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากสื่อเป็นผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเสนอข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่าง ๆ ระหว่างทุกภาคส่วนไปสู่ ประชาชนหรือสื่อกลางในการนำเสนอเรื่องราวข่าวสารระหว่างประชาชนด้วยกันเองและประการที่สำคัญซึ่งถือเป็นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพื่อให้ประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริงได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็น จริงอันเป็นการตอบสนองต่อสิทธิของประชาชน ดังนั้นเสรีภาพของสื่อมีความสาคัญต่อผู้ปฏิบัติงานใน องค์กรสื่อโดยตรง และยังเป็นเสรีภาพที่สำคัญยิ่งของประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยเพราะเสรีภาพ ของสื่อก็คือสิทธิของประชาชนที่จะได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ถ้าพวกเรายังเพิกเฉยให้รัฐคุกคามสื่อ ละเมิดสื่อไม่ว่า “แยม”หรือใคร ก็เสมือนปิดหูปิดตาประชาชน และพวกเขาจะถูกละเมิดในที่สุด “เป็นกำลังใจ แยม สื่อ คุณภาพคับแก้ว และสื่อเถื่อน
#Save แยม
#Save สื่อ
#Save ความมั่นคงของมนุษย์”
หมายเหตุ
1,201 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.