พฤษภาคม 5, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

Open Data #ข้อมูลเปิดสาธารณะ (Open Data) ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ชายแดนใต้ได้อย่างไร ?

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

.
ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วม เวที เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2564 هاري داتا تربوكا أنتارا بڠسا วันข้อมูลเปิดสาธารณะนานาชาติ 2021  Pattani International Open Data Day 2021
กิจกรรมพูดคุยเเลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการนำ “#ข้อมูลเปิดสาธารณะ (#Open_Data)” มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมสู่ความยั่งยืน เหมาะสำหรับ นักเรียน นักศึกษา คนรุ่นใหม่ เเละผู้ที่สนใจในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรม ดาต้าไซน์ นวัตกรรมเพื่อสังคม รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และการพัฒนาสังคม
.
จัดพร้อมกันกับอีก 196 เมืองทั่วโลก ในวันที่ 6 มีนาคม 2564
เวลา 13.30 – 18.00 น.
ณ ปัตตานี อาร์ตสเปซ Patani Artspace
.

Open Data

คืออะไร
ข้อมูลเปิดที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระ เช่นการนำไปใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำไปเผยแพร่ได้โดยใครก็ตาม ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่อยู่บนเว็บไซต์ data.go.th นี้ เป็นข้อมูลเปิดของภาครัฐ (Open Government Data)

หัวใจสำคัญของ Open Data
หัวใจของ Open Data นั้นแบ่งเป็น 3 ประการคือ
1. Availability and Access คือ ข้อมูลที่เปิดเผยต้องสามารถใช้งานได้ทั้งหมดและกรณีที่มีค่าใช้จ่ายจะต้องไม่มากไปกว่าการทำสำเนา สำหรับการเผยแพร่จะต้องอยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งานและสามารถแก้ไขได้ สามารถดาวน์โหลดฟรีผ่านอินเตอร์เน็ต
2. Re-use and Redistribution คือ ข้อมูลที่เผยแพร่ต้องถูกจัดเตรียมภายใต้เงื่อนไข การอนุญาตให้นำมาใช้ใหม่และเผยแพร่ได้ รวมถึงการใช้ชุดข้อมูลร่วมกับชุดข้อมูลอื่น ๆ
3. Universal Participation คือ ทุกคนสามารถที่จะใช้ข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ การใช้ซ้ำ การเผยแพร่ โดยไม่ติดเรื่องข้อจำกัดใดๆ แต่ทั้งนี้จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเจ้าข้อมูลนั้นๆ เช่น หากเป็นข้อมูลที่ไม่อนุญาตให้ใช้งานเชิงพาณิชย์ (non-commercial) จะไม่สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ หรือข้อมูลนั้นอาจมีข้อจำกัดในการใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างเช่น ใช้ในการศึกษาเท่านั้น ก็จะไม่สามารถนำไปใช้ได้

**ซึ่งหัวใจสำคัญทั้ง 3 ประการนี้เป็นความสำคัญที่สนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน (interoperability) อย่างเป็นรูปธรรม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ Open Data
– Transparency เป็นการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐให้ประชาชนและภาคประชาสังคมเข้าถึงข้อมูลและสามารถตรวจสอบการดำเนินของภาครัฐตามนโยบายที่ประกาศให้ไว้กับประชาชน
– Releasing social and commercial value ในยุคดิจิตอลข้อมูลเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับสร้างนวัตกรรม การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ช่วยผลักดันการสร้างนวัตกรรมและบริการใหม่ๆเผยแพร่สู่สังคมและเชิงพาณิชย์
– Participation and engagement ประชาชนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของภาครัฐ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและการตัดสินใจของภาครัฐเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ กับประชาชนมากขึ้น

ประเภทของ License ข้อมูลที่อยู่บนเว็บไซต์ data.go.th
ในปัจจุบันข้อมูล ที่อยู่บนเว็บไซต์ data.go.th จัดอยู่ในประเภทของ Non-exclusive licence เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถใช้สิทธิในงานนั้นเอง และอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิในงานนั้นได้อีก

ใครสามารถนำ Open Data ไปใช้ได้บ้าง
ทุกคนในประเทศไทยสามารถนำข้อมูล Open Data ไปใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน ตลอดจนการนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำการวิจัยค้นคว้าเชิงข้อมูลก็สามารถทำได้ไม่ติดข้อจำกัดใดๆ

จะใช้งาน Open Data ต้องทำอย่างไร
ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดไฟล์ชุดข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ตามที่ต้องการในแต่ละหัวข้อที่ปรากฏบนเว็บไซต์ได้ด้วยตนเอง

การนำ Open License มาใช้ (การเปิดกว้างในทางกฎหมาย)
ในขอบเขตอำนาจศาลส่วนใหญ่ จะมีเรื่องของสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาในข้อมูลที่ป้องกันบุคคลที่สามจากการใช้งาน การนำกลับมาใช้ใหม่ และการแจกจ่ายข้อมูลโดยไม่ได้รับการอนุญาตที่ชัดเจน ดังนั้น การที่จะทำให้ข้อมูลของหน่วยงานสามารถให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ จะต้องใส่ license เข้าไปที่ข้อมูลเหล่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการใช้งานที่ผิดวัตถุประสงค์ของชุดข้อมูล
License ที่หน่วยงานสามารถใช้ได้นั้นสำหรับข้อมูลที่ “เปิดเผย” สามารถใช้ license ที่สอดคล้องกับ Open Definition และทำการระบุว่าเหมาะสมสำหรับข้อมูลรายการที่ว่านี้ (พร้อมกับวิธีการใช้งาน) สามารถหาได้ที่ http://opendefinition.org/licenses/
คำแนะนำวิธีการใช้งานสั้นๆ 1 หน้า สำหรับการใช้ open data license สามารถหาได้ที่เว็บของ Open Data Commons http://opendatacommons.org/guide/

การทำให้ข้อมูลพร้อมใช้งาน (การเปิดกว้างในทางเทคนิค)
Open data จำเป็นที่จะต้องเปิดกว้างในทางเทคนิคเช่นเดียวกับในทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลจะต้องมีความพร้อมในการใช้งานในรูปแบบที่เครื่องสามารถอ่านได้ โดยยังพิจารณาใน 3 ประเด็นหลักคือ
1. ความพร้อมใช้งาน – ข้อมูลควรจะมีราคาไม่มากกว่าค่าใช้จ่ายในการทำสำเนาข้อมูล ซึ่งควรจะเป็นการให้ดาวน์โหลดฟรีจากอินเตอร์เน็ต ทำให้หน่วยงานไม่มีภาระค่าใช้จ่ายใดๆในการจัดเตรียมข้อมูลไว้ให้ใช้งาน
2. กลุ่มข้อมูล – ข้อมูลควรอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ เช่น ข้อมูลทะเบียนที่ถูกเก็บรวบรวมภายใต้กฎข้อบังคับทั้งหมดนั้นควรจะมีพร้อมสำหรับดาวน์โหลดได้ ส่วน web API หรือ service ที่คล้ายๆ กันนั้นอาจมีประโยชน์มาก แต่ไม่ใช่ตัวแทนของการเข้าถึงกลุ่มข้อมูล
3. อยู่ในรูปแบบที่เปิดและเครื่องสามารถอ่านได้ – การนำข้อมูลที่ถือครองโดยภาครัฐมาใช้ไม่ควรจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อจำกัดด้านสิทธิบัตร และที่สำคัญต้องแน่ใจได้ว่าสามารถจัดเตรียมข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถอ่านได้สำหรับการนำไปใช้งานในวงกว้าง เช่นรายงานทางสถิติที่ตีพิมพ์เป็นเอกสาร PDF (Portable Document Format) ซึ่งมีความยากมากสำหรับคอมพิวเตอร์ในการนำข้อมูลในรูปของ PDF ไปใช้งานต่อ
(อ้างอิงจาก http://www.anticorruption.in.th/2016/th/detail/202/1/Open%20Data%20คืออะไร)
#Data สู่ KDSD
เมื่อเห็นบรรยากาศคนหนุ่มสาวปาตานี/ชายแดนภาคใต้มาร่วมงานครั้งนี้อย่างจิตอาสายอมควักกระเป๋าค่าเดินทางเอง(ซึ่งส่วนใหญ่การอบรมาสัมมนาที่ชายแดนภาคใต้จะมีทั้งค่าเดินทาง ที่พัก อาหาร)เห็นแล้วชื่นใจ หวังอนาคตพวกเขา จะนำไปสู่ ความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจ (Understanding) ตัดสินใจ (Decision Making) สามารถแก้ไขปัญหา (Solving Problem) และการพัฒนาอย่างยั่งยืน(Sustainable Development)
ในที่สุดเพราะ
Data แท้จริงแล้วย่อมมีความสำคัญต่อทุกสิ่งที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านการเมือง การปกครอง ด้านการศึกษา ด้าน เศรษฐกิจ ด้านสังคม ฯลฯ ในลักษณะดังต่อไปนี้

“ทำให้เกิดความรู้ (Knowledge) และความเข้าใจ (Understanding) ในเรื่องดังกล่าว ข้างต้น
เมื่อเรารู้และเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้ว มันจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจ (Decision Making) ใน เรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนั้นมันยังสามารถทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหา (Solving Problem) ที่เกิดขึ้นได้อย่าง ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ในที่สุด”
หมายเหตุชมย้อนหลังการสัมมนาในช่วงที่1
https://www.facebook.com/digital4peace/videos/3862176980571493/และช่วงที่2
https://www.facebook.com/digital4peace/videos/3862176980571493/
และประมวลภาพใน https://www.facebook.com/1992830874348830/posts/2610378545927390/?d=n

 781 total views,  2 views today

You may have missed