อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
(27 -28 กุมภาพันธ์ 2564) ผู้เขียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใน“การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เพื่อประเมินสถานการณ์และการวางแผนขับเคลื่อนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายแดนใต้”ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ พิกุลทอง ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส
สำหรับเวทีวันนี้เป็นการต่อยอดเวทีครั้งที่ผ่านมา คือการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายแดนใต้”:
ทบทวนอดีตเพื่อคุณภาพชีวิต ความยั่งยืน และความเป็นธรรม”เมื่อ 6 ธันวาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่ง ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์กรุณาได้สรุป เวทีก่อนหน้านี้
(อ่านเพิ่มเติมใน https://www.facebook.com/1245604111/posts/10225393387242057/?d=n)
สำหรับบทเรียนที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ คือ
การต่อสู้ของชาวบ้านในประเด็นเขา ป่า นาเลที่ชายแดนใต้/ปาตานียากกว่าที่อื่นของประเทศเพราะพวกเขาต่อสู้ภายใต้การกดทับของกฎหมายหลายฉบับโดยเฉพาะกฎหมายความมั่นคงที่เป็นเสมือนใบอนุญาตให้รัฐจัดการคนเห็นต่าง
มุฮัมมัด ดือราแม นักข่าวชายแดนใต้ผู้ลงพื้นที่จริงในการทำข่าวหลังวิกฤตชายแดนใต้ตลอด 17 ปีให้ทัศนะว่า “ชีวิต ชุมชน ทรัพยากร ปากท้อง ไม่อาจแยกจากกันได้ แต่เหตุใด คนหนุ่มนักสู้เพื่อชุมชนชายแดนใต้/ปาตานีจึงมักถูกโยง (และเด็ดยอด)ด้วยข้อหาด้านความมั่นคง หากตัดอคติ/ความเป็นอื่นออกไป แท้จริงแล้วคนที่นี่มีจุดร่วมเดียวกับพี่น้องหลายพื้นที่ในประเทศ คือความไม่เป็นธรรมและการแย่งชิงทรัพยากรจากโครงสร้างอำนาจรัฐที่ไม่เห็นหัวประชาชน”สอดคล้องกับ ทัศนะรศ.ดร.ธนพร ศรียากูล ซึ่งสะท้อนในพิธีเปิดการประชุมอีกทั้ง
#ท่านถาม(คนนราธิวาสในเวที)ว่า รู้หรือยังเขาจะทำอะไร “เขตพัฒนาเศรษฐกิจนราธิวาส”ที่รัฐบาลอนุมัติ?
ในขณะที่ผู้เขียนสะท้อนบทเรียนการต่อสู้ของชาวบ้าน ต่อ โครงการอภิมหาโปรเจกต์”จะนะเมืองอุตสาหกรรม”ซึ่งท้ายสุด ณ ตอนนี้ท่านธรรมนัส ส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี สั่งหยุดโครงการชั่วคราวเพื่อนับหนึ่งใหม่ ตามที่เป็นข่าวนั้น “การต่อสู้ของชาวบ้านจะนะ ณ ตอนนี้ได้เพียงในระดับหนึ่ง “รัฐยังมีการสับขาหลอกอีกมาก (ลับ ลวงพราง อีกมาก)” ชาวบ้านต้องทำงานร่วมกับผู้นำศาสนา โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามเพราะเขามีมวลชนในมือเป็นหมื่นเป็นแสน ผู้นำศาสนาเปรียบเสมือนผู้นำจิตวิญญาณ การทำงานต้องบูรณาการกับหลักศาสนา นักวิชาการที่จะต้องคอยหนุนเสริมข้อมูลวิชาการด้านสังคม เศรษฐกิจ วิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายหัวใจชาวบ้าน ดูกฎหมายต่างๆไม่ว่าที่ดินพรบ.ศอ.บต. สามารถมีคนวางยุทธศาสตร์กับนักการเมือง ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล ที่เข้าใจทิศทางทางการเมือง และที่สำคัญไม่แพ้กันคืออำนาจสื่อที่สามารถให้คนนอกพื้นที่เห็นด้วยและหนุนเสริมในท้ายสุด เหล่านี้คือบทเรียนที่สามารถปรับในการต่อสู้เรื่องการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายแดนใต้ในภาคีเครือข่ายอื่นๆ”
หมายเหตุ
1.กำหนดการ
วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564
9.30 น. ผู้เข้าร่วมในพื้นที่เดินทางมาถึงและลงทะเบียน
10.00-12.00 น. (วงใหญ่) ชี้แจงวัตถุการจัดงาน / แนะนำตัวผู้เข้าร่วม / สมาคมลุ่มน้ำสายบุรีแบ่งปันประสบการณ์การทำงานขับเคลื่อนที่ผ่านมา
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-17.00 น. (จัดกลุ่มย่อยตามประเด็นฐานทรัพยากร) แลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหา สิ่งที่กำลังเผชิญ ความมั่นใจในการแก้ปัญหา (สมัชชาคนจน/ทีมทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดเป็นพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม) + วงคุยแลกเปลี่ยนระหว่างประเด็น)
18.00-19.00 น. รับประทานอาหารเย็น
19.00-21.00 น. (วงใหญ่) สมัชชาคนจนถ่ายทอดประสบการณ์การขับเคลื่อนและการต่อสู้
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
9.00-12.00 น. (แยกกลุ่มย่อย) ค้นหาทิศทางการขับเคลื่อนเฉพาะประเด็น (เพื่อนำมารวมเป็นทิศทางยุทธศาสตร์เรื่องสิ่งแวดล้อมของ จชต.)
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น. (วงใหญ่) คุยแลกเปลี่ยนวิธีขับเคลื่อนร่วมและแบบเฉพาะประเด็น และวางแผน 1 ปี
(ออกแบบเป้าหมาย+กิจกรรมในการทำงาน 1 ปี เกี่ยวกับสิทธิในการจัดการทรัพยากรของตนเอง)
2. ส่วนหนึ่งของรายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมนี้
1. นางสาววิภา สุขพรสวรรค์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. ดร.สายฝน สิทธิมงคล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3. อ.อสมา มังกรชัย – มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4. ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ – มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5. ดร.ไอร์นี แอดะสง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
6. รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล สำนักนายกรัฐมนตรี
7. ดร.กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. นายพงศ์เทพ เทพจันทรา สำนักนายกรัฐมนตรี
9. ผศ.นุกูล รัตนดากูล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
10. นายทวีศักดิ์ ปิ กรรมธิการกระจายอำนาจ
11. นายบารมี ชัยรัตน์ – สคจ.
12. นายบุญยืน สุขใหม่ – สคจ.
13. นายสายัญ ทองสม – สคจ.
14. นายแผ้ว เขียวดำ – สคจ.
15. นายอุทัย สะอาดชอบ – สคจ.
16. นายวิโรจน์ ชมเชย – สคจ (ชาย – ขับรถ)
17. นางสมปอง เวียงจันทร์ – สคจ. (ชาย)
18. นางวัชรี จันทร์ช่วง – สคจ. (ชาย)
19. นางสาวลภานัน ศุภมันตรา – สคจ.(หญิง)
20. นางสาวอริสรา ขวัญเวียน – สคจ.(หญิง)
21. นางสาวนิสาพรรณ์ หมื่นราม – สคจ.(หญิง)
22. นายซัมซูดีน โดโซมิ – กลุ่มอนุรักษ์ ต.อาซ่อง
23. นายอาหามะ ลีเฮง – เครือข่ายที่ดินบูโด
24. อัสมี ปุ่ เครือข่ายลุ่มน้ำสายบุรี
25. อ.อัลอามีน มะแต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
26 นายแซมซูดิง เซ็ง
27 นายมะกอเซ็ง อาลี
28. นายไมยซุป มะสาแล
29 นายอานูวา แก่
30 นายมะซี มะเกซง
31. นางโซไรดา นิติธรรม
32. ลี (คนขับรถ อ.นุกูล)
33 ไฟซู มามะ เครือข่ายแรงงานคืนถิ่น
34 มูฮัมหมัด ดือราแม
35 อ.อับดุลสุโก ดินอะ รองประธานสภาประชาสังคมชายแดนภาคใต้/เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจะนะ จังหวัดสงขลา
3.รายงานข่าว การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายแดนใต้”:
ทบทวนอดีตเพื่อคุณภาพชีวิต ความยั่งยืน และความเป็นธรรม”เมื่อ 6 ธันวาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
(http://spmcnews.com/?p=35571
946 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.