อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
เช้าตรู่ วันเสาร์ที่ 27 -28 กุมภาพันธ์ 2564 ใช้เวลา1 ชั่วโมง(6.00 น.-7.00 น.) ก่อน“การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เพื่อประเมินสถานการณ์และการวางแผนขับเคลื่อนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายแดนใต้”
27-28 กุมภาพันธ์ 2564ได้มีโอกาสขับขี่จักรยานที่ทางเจ้าหน้าที่บริการเวียนรอบดีมากๆชมธรรมชาติ นก สัตว์เลี้ยง ปลาและอื่นๆโดยเฉพาะการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การเกษตรอุตสาหกรรม ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ระหว่างบ้านพิกุลทอง และบ้านโคกสยา ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส
#ประวัติความเป็นมา – วัตถุประสงค์
จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่9)เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎรในเขตพื้นที่ภาคใต้ ทรงพบว่าพื้นที่จำนวนมากมีสภาพเป็นพรุ ซึ่งเป็นดินเปรี้ยวและมีคุณภาพต่ำไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ จึงพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ขึ้น เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๒๔ เพื่อศึกษา ค้นคว้า วิจัย ทดลอง และพัฒนาดินอินทรีย์และดินที่มีปัญหาอื่นๆ ในพื้นที่พรุ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทาด้านการเกษตรรวมทั้งแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนา ทั้งทางด้านการเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และการเกษตรอุตสาหกรรมที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่ภาคใต้ เพื่อให้เป็นต้นแบบแห่งความสำเร็จให้พื้นที่อื่นๆ
#การดำเนินงานภานในศูนย์ฯ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ดำเนินงานในลักษณะผสมผสานตามแนวพระราชดำริ เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่เดือดร้อนจากสภาพปัญหาต่างๆ ให้ใช้ประโยชน์จากที่ทำกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวทางที่ได้รับพระราชทานพระราชดำริไว้ดังนี้
๑. การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย
เพื่อศึกษา และพัฒนาดินในพื้นที่พรุ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและด้านอื่นๆ ตลอดจนการปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การเกษตรอุตสาหกรรม หาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านต่างๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม เป็นแนวทางและตัวอย่างของผลสำเร็จให้แก่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป รวมทั้งเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักปฏิบัติและเกษตรกรมาผสมผสานทางวิชาการถ่ายทอดประสบการณ์
๒. การพัฒนาแบบผสมผสาน
ผลสำเร็จที่ได้รับจากการศึกษาค้นคว้า ทดลอง ภายในศูนย์ฯ นำไปขยายผลเพื่อการพัฒนา โดยจัดทำในรูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่พื้นที่ของเกษตรกรในลักษณะการพัฒนาแบบผสมผสานกันทั้งด้านความรู้ การดำเนินงาน และการบริหารอย่างเป็นระบบ
๓. ประสานงานระหว่างส่วนราชการ
เป็นการประสานงาน ประสานแผนการบริหารจัดการระหว่างกรม กอง และส่วนราชการให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยยึดกรอบในการปฏิบัติงาน ตามแผนแม่บทโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยบางหน่วยงานดำเนินงานมาตลอดตั้งแต่เริ่มโครงการ บางหน่วยสิ้นสุดภาระกิจไปแล้ว และบางหน่วยเพิ่งเข้ามาร่วมงานใหม่
๔. ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ
เป็นศูนย์รวมของการศึกษา ทดลอง และสาธิตที่ได้รับผลสำเร็จในทุกๆ ด้าน ในลักษณะของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต ให้ผู้สนใจเข้ามาศึกษาดูงานรูปแบบต่างๆ เช่น โครงการแกล้งดิน อันเป็นรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด การเกษตรทฤษฎีใหม่ การปรับปรุงน้ำเปรี้ยว นิทรรศการป่าพรุ การเลี้ยงสัตว์แบบพื้นบ้าน เป็นต้น
#พื้นที่ดำเนินการ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ระหว่างบ้านพิกุลทอง และบ้านโคกสยา ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส ประกอบด้วยพื้นที่ดำเนินการ ดังนี้
๑. พื้นที่บริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ เนื้อที่ ๑,๗๔๐ ไร่ เป็นที่ตั้งอาคารสำนักงาน แปลงทดลองในที่ลุ่ม บนที่ดอนสวนยางเขาสำนัก และอ่างเก็บน้ำใกล้บ้าน
๒ .พื้นที่พรุในจังหวัด เนื้อที่ ๒๖๑,๘๖๐ ไร่ แบ่งป่าพรุ ๓ เขต คือ เขตสงวน , เขตอนุรักษ์ และเขตพัฒนา
๓. พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ มีทั้งหมด ๑๑ หมู่บ้าน ได้รับการส่งเสริมด้านการเกษตรและพัฒนาอาชีพให้สามารถ พึ่งตนเองได้
๔. ศูนย์สาขา ๔ สาขา คือ โครงการสวนยางตันหยง เนื้อที่ ๑๕.๘ ไร่ , โครงการพัฒนาหมู่บ้านปีแนมูดอ เนื้อที่ ๑๓๕ ไร่ , โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์เกษตรมูโนะ เนื้อที่ ๑,๕๐๐ ไร่ , โครงการหมู่บ้านโคกอิฐ – โคกใน และบ้านยูโย เนื้อที่ ๓๐,๐๖๕ ไร่
๕. พื้นที่ที่มีพระราชดำริให้ดำเนินการ
เมื่อผู้เขียนได้สัมผัสกับตัวเองพบว่าอยากให้ทุกท่าน ทุกองค์กรได้สัมผัสด้วยตนเองเช่นกันดั่งที่
พระองค์ท่านรัชกาลที่ 9 เคย ดำรัสเชิญชวน เมื่อ 11 กันยายน 2526
#หน่วยงานที่รับผิดชอบ
กรมชลประทาน
กรมควบคุมโรคติดต่อ
กรมทางหลวงชนบท
กรมป่าไม้
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
กรมที่ดิน
กรมประมง
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
กรมปศุสัตว์
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
สำนักงานพาณิชย์จังหวัด
กรมพัฒนาที่ดิน
กรมการพัฒนาชุมชน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กรมวิชาการเกษตร
กรมการศึกษานอกโรงเรียน
จังหวัดนราธิวาส
กรมส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กองทัพภาคที่ 4
กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง จังหวัดนราธิวาส
หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดนราธิวาส
กรมแผนที่ทหาร
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
#ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ระหว่างบ้านพิกุลทอง และบ้านโคกสยา ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส โทรศัพท์ 0-7351-3562-3 โทรสาร 0-7351-3560
หมายเหตุ
1.อ้างอิงจาก
http://www.rdpb.go.th/th/Studycenter/พื้นที่ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ-c60/ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ-v248
2. ชมคลิปของวัยรุ่งไปไหนก็แล้วกันใน
3.ประมวลภาพใน https://www.facebook.com/1245604111/posts/10225386443828476/?d=n
4.กำหนดการ “การประชุมเชิงปฏิบัติการ (workshop) เพื่อประเมินสถานการณ์และการวางแผนขับเคลื่อนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชายแดนใต้”
วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564
9.30 น. ผู้เข้าร่วมในพื้นที่เดินทางมาถึงและลงทะเบียน
10.00-12.00 น. (วงใหญ่) ชี้แจงวัตถุการจัดงาน / แนะนำตัวผู้เข้าร่วม / สมาคมลุ่มน้ำสายบุรีแบ่งปันประสบการณ์การทำงานขับเคลื่อนที่ผ่านมา
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-17.00 น. (จัดกลุ่มย่อยตามประเด็นฐานทรัพยากร) แลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหา สิ่งที่กำลังเผชิญ ความมั่นใจในการแก้ปัญหา (สมัชชาคนจน/ทีมทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดเป็นพี่เลี้ยงประจำกลุ่ม) + วงคุยแลกเปลี่ยนระหว่างประเด็น)
18.00-19.00 น. รับประทานอาหารเย็น
19.00-21.00 น. (วงใหญ่) สมัชชาคนจนถ่ายทอดประสบการณ์การขับเคลื่อนและการต่อสู้
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
9.00-12.00 น. (แยกกลุ่มย่อย) ค้นหาทิศทางการขับเคลื่อนเฉพาะประเด็น (เพื่อนำมารวมเป็นทิศทางยุทธศาสตร์เรื่องสิ่งแวดล้อมของ จชต.)
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-16.00 น. (วงใหญ่) คุยแลกเปลี่ยนวิธีขับเคลื่อนร่วมและแบบเฉพาะประเด็น และวางแผน 1 ปี
(ออกแบบเป้าหมาย+กิจกรรมในการทำงาน 1 ปี เกี่ยวกับสิทธิในการจัดการทรัพยากรของตนเอง)
5.ผู้เข้าร่วมประชุม/ workshopครั้งนี้
1. นางสาววิภา สุขพรสวรรค์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. ดร.สายฝน สิทธิมงคล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3. อ.อสมา มังกรชัย – มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4. ผศ.ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ – มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
5. ดร.ไอร์นี แอดะสง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
6. รศ.ดร.ธนพร ศรียากูล สำนักนายกรัฐมนตรี
7. ดร.กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ – จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. นายพงศ์เทพ เทพจันทรา สำนักนายกรัฐมนตรี
9. ผศ.นุกูล รัตนดากูล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
10. นายทวีศักดิ์ ปิ กรรมธิการกระจายอำนาจ
11. นายบารมี ชัยรัตน์ – สคจ.
12. นายบุญยืน สุขใหม่ – สคจ.
13. นายสายัญ ทองสม – สคจ.
14. นายแผ้ว เขียวดำ – สคจ.
15. นายอุทัย สะอาดชอบ – สคจ.
16. นายวิโรจน์ ชมเชย – สคจ (ชาย – ขับรถ)
17. นางสมปอง เวียงจันทร์ – สคจ. (ชาย)
18. นางวัชรี จันทร์ช่วง – สคจ. (ชาย)
19. นางสาวลภานัน ศุภมันตรา – สคจ.(หญิง)
20. นางสาวอริสรา ขวัญเวียน – สคจ.(หญิง)
21. นางสาวนิสาพรรณ์ หมื่นราม – สคจ.(หญิง)
22. นายซัมซูดีน โดโซมิ – กลุ่มอนุรักษ์ ต.อาซ่อง
23. นายอาหามะ ลีเฮง – เครือข่ายที่ดินบูโด
24. อัสมี ปุ่ เครือข่ายลุ่มน้ำสายบุรี
25. อ.อัลอามีน มะแต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
26 นายแซมซูดิง เซ็ง
27 นายมะกอเซ็ง อาลี
28. นายไมยซุป มะสาแล
29 นายอานูวา แก่
30 นายมะซี มะเกซง
31. นางโซไรดา นิติธรรม
32. ลี (คนขับรถ อ.นุกูล)
33 ไฟซู มามะ เครือข่ายแรงงานคืนถิ่น
34 มูฮัมหมัด ดือราแม
35 อ.อับดุลสุโก ดินอะ รองประธานสภาประชาสังคมชายแดนภาคใต้/เครือข่ายโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจะนะ จังหวัดสงขลา
1,075 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.