เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

มัสยิด “ตอยยิบะห์” มัสยิดแห่งความดีได้เริ่มเทเสาหลักเพื่อสร้างรากฐานแห่งศรัทธา “ออรังอัสลี”

แชร์เลย

รายงานพิเศษ..
ตูแวดานียา มือรีงิง รายงาน


“ผมรู้จักพวกเขามาสิบกว่าปีแล้ว และเริ่มบอกเกี่ยวกับอิสลามมาสัก 5-6 ปีที่ผ่านมา และโชคดีมากที่มีกลุ่มบาบอได้เข้ามาเผยแพร่อิสลามและในที่สุดพวกเขารับอิสลาม ผมเริ่มให้พวกเขาปลูกยางพาราในสวนของผมโดยผมออกค่าต้นกล้า ปุ๋ยและจะแบ่งรายได้คนละครึ่งกับพวกเขา ตอนนี้ปลูกได้เจ็ดปีแล้วเกือบจะได้กรีดแล้ว นี่คือสิ่งที่ผมเตรียมให้กับพวกเขาหลังที่เข้ารับอิสลาม” นายซอบรี ลาเตะ กล่าว
นายซอบรี ลาเตะ หรือปะจู 46 ปีเล่าถึงความเป็นมาและรู้จักคุ้นเคยกับนายนากอ (ปัจจุบันอับดุลอาซีซ อับดุลเลาะ) หัวหน้าเผ่าซาไกมานิตหรือโอรังอัสลีที่อาศัยในพื้นที่ป่าเขาในตะเข็บชายแดนไทยมาเลเซียในเขตอำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส ปะจูเป็นผู้บริจาค (วากัฟ)ที่ดิน 6 ไร่ เพื่อสร้างมัสยิดและที่อยู่อาศัยให้กับโอรังอัสลีกว่า 40 ชีวิตหลังจากที่เข้ารับอิสลามเมื่อวันที่ 3 พ.ย 2563 โดยการนำของบาบออับดุลอาซีซ ยานยา นายกสมาคมสถาบันปอเนาะ 5 จังหวัดจังหวัดชายแดนภาคใต้


ล่าสุดเมือวันที่ 26 ก.พ 2564 ภายใต้การนำของบาบออับดุลอาซีซ ยานยาพร้อมด้วยบาบอซู ปูลากาปะฮ์ พล.ต. ชัชพล สว่างโชติหรือผู้พันแพะและ คณะกว่า 100 ชีวิต ได้ลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อละหมาดฮายัตและเทฐานเสาหลักเพื่อสร้างฐานมัสยิด “ตอยยิบะห์” บนที่ดินหกไรในสวนทุกเรียนที่ได้รับการวากัฟดังกล่าว
“เราไม่มีการบังคับในเรื่องศาสนา ดังนั้นเมื่อพวกเราเต็มใจเข้ารับอิสลามิ่งที่เราต้องทำหลังนี้คือเราจะช่วยปะจูได้อย่างไรในฐานะเจ้าของที่ดินตรงนี้ เพราะวันนี้เป็นหน้าที่ของเรามุสลิมทุกคนที่จะให้การช่วยเหลือพวกเขา วันนี้เรามาเทเสาหลักเพื่อสร้างมัสยิดเพราะมัสยิดคือรากฐานของศาสนา มีมัสยิดแล้วต่อเราต้องสร้างที่พักอาศัยที่เพียงพอกับจำนวนสมาชิกของแต่ละครอบครัว และสุดสุดท้ายเราต้องสร้างโรงเรียนเพื่อให้เขาได้เรียนอัลกุรอาน เรียนศาสนา เรียนภาษามลายู วันนี้เรามีผู้มีจิตศรัทธาได้บริจาคเงิน จำนวน 500 000 บาทเพื่อสร้างมัสยิดและจะพยายามให้ได้ใช้เป็นสถานทีละหมาดชั่วคราวในเดือนรอมฏอนที่จะถึงนี้ ” บาบออับดุลอาซีซ นายกสมาคมสถาบันปอเนาะกล่าวหลังจากเสร็จพิธีละหมาดและเทเสาหลัก และเสริมเพิ่มเติมว่า เนื่องจากว่าที่ผ่านเคยมีคนนำโอรังอัสลีเข้ารับอิสลามแล้ว แต่เนื่องจากว่าเราไม่ได้ดูแลเขาหลังจากที่เข้ารับอิสลาม ไม่มีงานทำ ไม่มีเงิน ทำให้พวกเขากลับไปอยู่ในป่าอีกครั้งและทิ้งอิสลาม


“เพื่อไม่ให้พวกเขาลำบาก และไม่กลับไปสู่ศาสนาเดิม หลังจากนี้เราต้องมีอาชีพให้กับพวกเขาทำ สร้างรายได้ให้กับพวกเขา ถ้าจำเป็นต้องจ่ายเป็นค่าแรงในแต่ละวันก็จำเป็นต้องดำเนินไม่ให้พวกเขาต้องเดินหนีพวกเราไปอีก” นายกสมาคมสถาบันปอเนาะกล่าว
และเรื่องนี้ก็สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของอับดุลอาซีซ หัวหน้าเผ่าโอรังอัสลีว่ายังมีญาติๆ อีกจำนวนกว่า 100 คนที่ยังอยู่ในป่าที่ยังไม่กล้าออกมาเพราะไม่มั่นใจในเรื่องอาชีพเรื่องปากท้อง
“พวกเขากังวลถ้าออกมาแล้วพวกเขาจะทำงานอะไร ถ้าออกมาแล้วไม่มีงานทำ หรือทำงานชั่วคราวพวกเขาก็ไม่เอา เพราะกลัวอด ถ้าออกมาแล้วต้องมีสวนทุกเรียน สวนยางที่สามารถทำงานได้ มีรายได้ เราจึงง่ายที่จะดึงให้พวกเขาออกมารับอิสลาม เราจะนำพวกเขาไปทางไหนก็ง่ายขึ้น แต่ถ้าให้จะสัญญาแบบลมๆ แล้งๆไม่ได้ ต้องมีงานทำทุก จะอยู่เฉยๆ ไม่ได้ กลัวจะอดตาย” อับดุลอาซีซกล่าว
อับดุลอาซีซเล่าให้ฟังว่าหลังจากรับอิสลามตอนนี้ตี 2 ไปกรีดยาง กลับมาพักผ่อนช่วงบ่ายเรื่องเรียนหนังสือ


“ตอนนี้สบายขึ้นเยอะถ้าเทียบกับการทำงานในอดีต เพราะในอดีตต้องทำงานหนักกว่าจะได้ของมาแลกกับเงิน แต่หลังจากที่เข้ารับอิสลามมีคนรับปากจะช่วยเหลือด้านต่างๆ ซึ่งเพื่อนๆ ที่อยู่ป่าเขามาเห็นชีวิตเราดีขึ้นสบายขึ้น แต่พี่ๆและพวกเขาก็ยังกังวลอยู่ ต้องพิสูจน์ด้วยเวลา” อับดุลอาซีซระบายความในใจให้ฟัง
นายมูฮัมหมัดยาแอะ มะ อีหม่ามบ้านมูบาแรแน หรือที่บาบออัลดุลอาซีซ ยานยา ตั้งชื่อ “มูอาซ อิบนุญับบาร์” เพื่อให้ท่านเป็นผู้สอนโอรังอัสลีที่นี่เหมือนทีท่านนบีได้แต่งตั้งมูอาซ อิบนุญับบาร์ให้เป็นอุลามาอฺสอนอัลกุรอานและความรู้ต่างๆให้แก่มุสลิมใหม่ในสมัยท่านนบี
“พวกเขาอยู่กับพวกเราละหมาดเป็นแล้วเรียนหนังสื่อ 3 วันต่อหนึ่งอาทิตย์ เราจะสอนเขาเป็นภาษายาวี สอนให้เขาเขียน 1 ชม. เรียนกุรอ่าน 45 นาที สอนวิธีละหมาด 40 นาที สอนเรื่องมารยาทอีก 20 นาที” นายมูฮัมหมัดยาแอะ มะ กล่าวปิดท้าย

คลิปย้อนดู ออรังอัสลี ที่จะแนะ จ.นราธิวาส..

 1,216 total views,  2 views today

You may have missed