อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
ถ้าจำกันได้เมื่อ3-4 ปีที่ผ่านมาประเด็นการประท้วงโครงการรัฐที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา (อ่านบทความผู้เขียนใน https://www.matichonweekly.com/special-report/article_79013)
จนสุดท้ายรัฐต้องยอมถอยชั่วคราวโดยให้นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันครือข่ายคนเทพาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ประมาณ 27 มีนาคม 2561)ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวมีวาระสำคัญ ดังนี้
1.ฝ่ายสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้าเทพา ยินดีให้มีการจัดทำการศึกษาการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) สำหรับพื้นที่จัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินในภาคใต้ โดยมีคณะกรรมการที่เป็นกลางและมีกระบวนการทำงานตามหลักสากลที่เป็นกลาง
2.การทำ SEA จะต้องมีความสำคัญไปที่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เนื่องจากถูกพิจารณาให้เป็นพื้นที่โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าตามแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) มาตั้งแต่ต้นตามนโยบายของรัฐบาล
3.ให้กระทรวงพลังงานนำข้อมูลรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ของโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ของท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาที่ดำเนินการแล้วมาเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำ SEA
4.หากผลการศึกษา SEA ได้ข้อสรุปให้สามารถสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาได้ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) นำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาที่มีอยู่แล้วยื่นต่อ สผ. และดำเนินการศึกษารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ของท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
5.หากผลการศึกษาไม่เห็นชอบกับการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาให้ กฟผ. พิจารณาพื้นที่อื่นที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินต่อไป
บัดนี้คณะกรรมการได้ศึกษาเกือบจะเสร็จแม้เลื่อนการแถลงบทสรุปหลายครั้ง ซึ่งวันนี้
(27 กุมภาพันธ์ 2564 )
ทาง“เครือข่ายเทใจให้เทพา ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินและภาคีเครือข่ายสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา จัดเสวนาวิชาการ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(หาดใหญ่)หลังจากนั้นได้ร่วมอ่านแถลงการณ์
เรื่อง เราจะปกป้องฐานทรัพยากรชุมชน ไปจนกว่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินจะถูกยกเลิก โดยมีรายละเอียดว่า
“หลายปีมานี้ พวกเรา “เครือข่ายเทใจให้เทพา ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน” ได้พยายามอธิบายถึงความไม่เหมาะสมในการจะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่อำเภอเทพาไว้หลายประการ เพื่อรัฐบาล และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้เข้าใจเจตนาในการออกมาคัดค้านโครงการนี้ของพวกเรา เช่นเหตุผลเรื่องสภาพพื้นที่ซึ่งอยู่ใกล้ที่ตั้งชุมชน เรื่องสิ่งแวดล้อมที่เชื่อว่าจะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิตและการทำกิน เรื่องมลพิษทางอากาศ แหล่งน้ำ และอื่นๆที่ไม่อาจควบคุมได้ รวมถึงข้อเท็จจริงด้านความพอเพียงของพลังงานภาคใต้ในสถานการณ์ปัจจุบัน
การยอมรับในกระบวนการศึกษาพลังงานภาคใต้ หรือ SEA. ที่ดำเนินการมาหลังจากการเรียกร้องของพวกเรา ในนามเครือข่ายกระบี่ – เทพา ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน เมื่อปี พ.ศ. 2561 ด้วยเพราะเชื่อว่าจะเป็นทางออกต่อเรื่องดังกล่าวได้ หากมีการใช้โอกาสนี้นำข้อเท็จจริงทั้งหมดมาพิจารณาร่วมกันอย่างตรงไปตรงมา ภายใต้การมีส่วนร่วมแท้จริง ที่ไม่ใช่แค่ความกังวลต่ออำนาจหรืออิทธิพลบางอย่าง ที่สะท้อนให้เห็นด้วยการใช้เวลาสำหรับการศึกษามาอย่างยาวนานร่วม 3 ปี ซึ่งเห็นได้ถึงข้อจำกัดในกระบวนการศึกษาหลายประการ โดยเฉพาะความขัดแย้งที่ยังไม่ถูกคลี่คลายในเวทีการศึกษาที่ผ่านมา หากเป็นเพียงเวทีแห่งการถกเถียงภายใต้กรอบคิดแบบเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำอีก ระหว่างฝ่ายที่อยากจะสร้าง กับกลุ่มชาวบ้านผู้ต้องแบกรับชะตากรรมในพื้นที่ ประกอบกับสถานการณ์ด้านพลังงานที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จนไม่แน่ใจว่างานศึกษาครั้งนี้จะเป็นทางออก หรือสร้างทางเลือกด้านพลังงานได้จริงหรือไม่
พวกเรา “เครือข่ายเทใจให้เทพา ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน” และภาคีเครือข่ายด้านสิ่งแวดล้อมที่มาร่วมกันในวันนี้ ยังยืนยันถึงความไม่เหมาะสมที่จะให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในทุกพื้นที่ของภาคใต้ และรวมถึงพื้นที่อำเภอเทพาจังหวัดสงขลา จึงเรียกร้องไปยังรัฐบาล และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้ยกเลิกแนวคิดที่จะใช้พื้นที่ในชุมชนของเราเกือบ 3,000 ไร่ เพื่อก่อสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าว พร้อมกับขอประกาศว่า “เราจะปกป้องที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และฐานทรัพยากรของพวกเราอย่างถึงที่สุด ไปจนกว่าโครงการนี้จะถูกประกาศยกเลิกอย่างเป็นทางการ”
หลังจากแถลงการณ์นี้ถูกเผยแผ่ปรากฎว่า “มีคำถามจากคนเห็นต่างจากเครือข่ายเทใจให้เทพา ว่า “วันก่อน จะให้หนุดเพื่อทำการSEA แล้ว เมื่อเขาทำแล้วทำไมไม่ยอมรับ “ซึ่งเมื่อวิเคราะห์จากแถลงการณ์และติดตามข่าวจากการทำเวที SEAของนิด้าพบว่า “SEAหรือ
กระบวนการประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ควรเป็นกระบวนการที่ทำให้ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน โดยการยอมรับร่วมกันนั้นต้องมาจากการยอมรับตัวเลขและข้อมูลร่วมกันก่อน แต่ในกระบวนการประเมินของนิด้า การยอมรับข้อมูลร่วมกันยังไม่เกิดขึ้นเนื่องจากยังมีข้อถกเถียงถึงความเที่ยงตรงของข้อมูลตัวเลข คือการไม่เอาข้อเท็จจริงมากางว่าพลังงานภาคใต้เพียงพอหรือไม่ อย่างไร แต่กลับเอาความเห็นของคนสองฝ่ายมาตั้ง มันจึงยังคงขัดแย้งกันอยู่
กล่าวคือโดยกระบวนการประเมินตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เครื่องมือที่ใช้คือการสานเสวนา หากแต่กระบวนการดังกล่าวเป็นการสานเสวนาที่ให้ประชาชนแสดงความเห็นตามจุดยืนและมุมมองของตนเอง ไม่ได้ทำหน้าที่ในการสร้างความเข้าใจร่วมกันกระบวนการสานเสวนานี้มันไม่ได้นำไปสู่การหาทางออก มันต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงไม่ใช่สร้างให้พื้นที่ให้แค่ร่วม ส่วนเรื่องความชัดเจนในการเลือกพื้นที่ กรรมการไม่มีสิทธิในการพิกัดพื้นที่ กรรมการมีหน้าที่กำกับให้ผลการศึกษาที่จะเป็นข้อมูลให้รัฐบาลใช้ประกอบในการตัดสินใจ”
นายสมบูรณ์ คำแหงสะท้อนว่า “บทเรียน SEAที่ภาคประชาชนจะนะ”โครงการจะนะเมืองอุตสาหกรรม “ ก็จะซำ้ร้อยประเด็นเทพา ถ้าเอาคนขัดแย้งเรื่องนิคมอุตสาหกรรมมานั่งบนโต๊ะ ก็ไม่จบ แต่ถ้าตั้งโจทย์ว่าจะทำให้คนจะนะอยู่ดีขึ้นได้อย่างไร….มันจะสร้างทางออกได้มากกว่า “อีกประการสำหรับผู้เขียนคือ “คือการสร้างองค์กรความรู้ ด้วยการติดอาวุธ เรื่องSEA ต่อทุกภาคส่วนของจะนะ”
ส่วนสนธิ ลิ้มทองกุล วิเคราะห์ว่า รัฐพลาดเสียเอง ไม่ทำตามขั้นตอนของการดำเนินโครงการจะนะเมืองอุตสาหกรรม ระหว่างศอ.บต.กับสภาพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจจนต้องหยุดเดินหน้าโครงการชั่วคราว และเริ่มนับหนึ่งใหม่
หมายเหตุ
1.ฟังคลิปที่แนบข้างล่าง
2.ไลฟ์สด…หรือเทพาจะกลายเป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน….https://www.facebook.com/FreeNewsTH/videos/271369437702845/?app=fbl
1,502 total views, 2 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.