เมษายน 20, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

# อิสลามศึกษา คือ กุญแจแก้ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ ศาสนา สิ่งแวดล้อมและอื่นๆในอนาคต:ปัญหาและความท้าทาย

แชร์เลย

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ผู้เขียนได้มีโอกาสประชุมร่วมกับ ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการด้านการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประมาณ 20 คน ณ ห้องกลางชล โรงแรม ซี.เอส. ปัตตานี จังหวัดปัตตานี เพื่อหารือ
๑ .ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดในด้านการเรียนการสอนศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
๒.กรณีศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในต่างประเทศ
๓.ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมและการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
๓.๑ แนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนศาสนาที่สามารถเชื่อมโยงและสร้างความต่อเนื่อง
ในหลักสูตรอิสลามศึกษา ตั้งแต่ในชั้นโรงเรียนตาดีกา โรงเรียนรัฐและโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
๓.๒ แนวทางการเรียนการสอนหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกับหลักสูตรอิสลามศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ควบคู่กับการเสริมสร้างศักยภาพคนรองรับการพัฒนา
ในอนาคต สำหรับผลสรุปในที่ประชุมจากประเด็นหารือ ข้อเสนอแนะหนึ่ง แก้ปัญหาเรื่องจัดทำหลักสูตรศาสนา สามัญ ที่เหมาะสม ในพื้นที่ยืดหยุ่น แต่ได้มาตรฐานทั้งในระดับชาติและสากล

จะเห็นได้ว่า มีหลักสูตรอิสลามศึกษามากมายหลากหลายหลายองค์กรจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการศึกษาพิเศษพร้อมทั้งระดับมหาวิทยาลัย
ถ้าในระบบการศึกษาของรัฐมีการจัดการศึกษาอิสลามศึกษา ระดับต้น (อิบติดาอีย์ ) ของเด็กคนเดียวกัน ซ้ำซ้อน กับหลักสูตรตาดีกา ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กับสี่อำเภอจังหวัดสงขลา(ยกเว้น)บางพื้นที่ที่พูดไทยจะใช้หลักสูตรคุรุสัมพันธ์ นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรอิสลามศึกษาพ.ศ.2546 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรอิสลามศึกษาระบบมักตับ หลักสูตรอิสลามศึกษาของแต่ละจังหวัดของจังหวัดสงขลาและสตูล ที่ทำขึ้นเอง มีการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในสถาบันปอเนาะ ที่มีการเรียนเฉพาะ แตกต่างกันแล้วแต่ความถนัดของเจ้าของปอเนาะ (แต่ปัจจุบันศูนย์พัฒนาอิสลามศึกษา​ สำนักงานศึกษาธิการภาค​ 7 ซึ่งอยู่จังหวัดยะลาได้รวบรวมเป็นเอกสารวิชาการเฉพาะหลักสูตรอิสลามศึกษาสถาบันปอเนาะ 2561)มีการจัดการศึกษาอิสลามศึกษา หลักสูตรอาลิม (หกปี)ส่วนใหญ่จะเปิดการสอนในศูนย์ดะวะห์เช่นมัรกัสยะลา ซึ่งในที่ประชุมได้เห็นพ้องเบื้องต้น จะทำอย่างไรในการออกแบบโรงเรียนของรัฐ กับตาดีกาให้สามารถ จัดทำหลักสูตรอิสลามศึกษากับสามัญศึกษาที่เหมาะสม ในสาระวิชา ที่จำเป็น เพิ่มเติม จุดเน้นในแต่ละระดับ ให้เหมาะสมไม่หนักจนเกินไปที่นักเรียนในโรงเรียนของรัฐเรียนสาระหลักของศาสนาและสามัญ อย่างละ 8 สาระรวมเป็น 16 สาระ ในระดับประถมศึกษา ในขณะที่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและโดยเฉพาะตอนปลาย หลากหลาย แผนการเรียน วิทย์ คณิต ศิลป์ อาชีพ อิสลาม ศึกษา(ศาสนา)70/30 ที่ยืดหยุ่น ตามจุดเน้น ที่แตกต่างเพื่อรองรับในระดับมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ แต่ไม่ทิ้งอิสลามเพื่อวิถีชีวิต
อย่างไรก็แล้วแต่มีบางโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่เปิดห้องพิเศษเช่นใช้คำว่าMS-Gifted MSP เน้นสามัญโดยตรงลดวิชาศาสนา บูรณาการวิชาศาสนาในวิชาสามัญจนเด็กสามารถสอบเข้าแพทย์ แต่ถ้าจะเปิดแผนการเรียนศาสนาจะไปลดโครงสร้างสามัญแปดสาระไม่ได้ เหล่านี้เป็นโมเดลที่ควรถอดบทเรียนและหนุนเสริม เรายังมีโมเดลของโรงเรียนสาธิตของคณะวิทยาการอิสลามแต่นักเรียนก็ต้องจ่ายค่าเรียนเกือบแสนต่อปีก็จะได้เฉพาะคนที่มีฐานะไม่สามารถแก้ปัญหาความเลื่อมล้ำทางการศึกษา
สอง แก้ปัญหาการบริหารเชิงโครงสร้าง ในหน่วยการบริหารการศึกษาชายแดนภาคใต้ ไม่ว่าสำนักงานการศึกษาส่วนหน้า สำนักงานการศึกษาเอกชน ศูนย์พัฒนาอิสลามศึกษา และงานการศึกษาในศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างไรให้สามารถทำงานบูรณาการ ไม่ซ้ำซ้อน อย่างมีประสิทธิผลประสิทธิภาพมุ่งประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก


สาม ปัญหาเร่งด่วนนักศึกษาที่จบหลักสูตรซานาวีในประเทศไทยซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ รับรองสามัญต่อยอดในระดับมหาวิทยาลัยคณะอิสลามศึกษาและภาษาอาหรับในต่างประเทศเช่นอียิปต์ ซูดาน ซาอุดีอาระเบียแต่กลับใช้วุฒินี้อย่างเข้าเรียนด้านศาสนาใสมหาวิทยาลัยไทยมิได้ ไม่ว่าที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยฟาฏอนีโดยเฉพาะล่วงโควิดนักศึกษาไทยกลับจากต่างประเทศแต่จะขอเทียบโอนในประเทศไทยไม่ได้ในแต่ละลชั้นปีเพราะเขาไม่มีวุฒิม.6 (แน่เขามีแค่วุฒิซานาวี)
สี่ ผศ.ดร.Sukree Langputeh มีวิสัยทัศน์ไกลเสนอ “จัดสัมมนาปรัชญาการศึกษาอิสลาม”เพื่อตอบโจทย์อนาคตของชาติและสร้างความเข้าใจกับต่างศาสนิกที่กำลังเป็นข่าวดังในโลกโซเชี่ยลในความแตกแยกและจะนำไปสู่ความสั่นคลอนต่อความมั่นคงของชาติโดยเชิญทุกภาคส่วนรัฐและเอกชนภายใต้การจัดโดยสำนักจุฬาราชมนตรีซึ่งมีภาครัฐเป็นผู้หนุนเสริมซึ่งที่ประชุมทั้งหมดเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง
ห้าผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มูหัมมัดรอฟลี แวหะมะ
คณบดีคณะวิทยาการอิสลามเสนอให้อิสลามศึกษา คือ กุญแจแก้ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ ศาสนา สิ่งแวดล้อมและอื่นๆในอนาคต
หก เพื่อให้ข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นรูปธรรมผู้เขียนจึงเสนอให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการชุดหนึ่งที่ทำงานในเรื่องนี้โดยเฉพาะแต่มิใช่ง่ายในการแก้ปัญหาอันเป็นความท้าทายทั้งคณะทำงานและมุสลิมชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะนักการศึกษาด้วยเช่นกัน
หมายเหตุ อ่าประกอบเอกสารการประชุมเพื่อจะได้ทราบที่มาการประชุมครั้งนี้ใน
(https://www.facebook.com/1245604111/posts/10225319757201352/?d=n)

 1,239 total views,  2 views today

You may have missed