อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk
ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัดและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน
(16 กุมภาพันธ์ 2564) ดร.มังโสด หมะเต๊ะที่ปรึกษาสมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา ได้เปิดต่อผู้เขียนว่า “เขาและคณะพร้อมขึ้นไปกรุงเทพมหานครเพื่อประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้งหากร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่าเบี้ยวสัญญาลูกผู้ชายไม่แต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่ภาคประชาชนร่วมอยู่ด้วยซึ่งได้สัญญาตอนที่ท่านนำคณะชุดใหญ่ลงพื้นที่จะนะเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 “
ท่านได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “วันที่ 27 มกราคม 2564 นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เซ็นต์ (ลงนาม) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีดำเนินการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ หรือเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ตามที่กลุ่มจะนะรักษ์ถิ่นที่ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกโครงการเมืองต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จังหวัดสงขลา ระหว่างเมื่อวันที่ 10 – 15 ธันวาคม 2563 ได้ทำข้อตกลงไว้กับรัฐบาล โดยรองนายกรัฐมนตรีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ พีมูฟ ซึ่งได้ยอมรับข้อเสนอของเครือข่ายฯ ที่ให้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ ศอ.บต. พร้อมกับให้ยุติการดำเนินการใดในโครงการนี้เอาไว้ก่อน โดยเฉพาะการเปลี่ยนสีผังเมืองในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 16,700 ไร่ รวมทั้งการยุติการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรือ EIA. ทั้ง 4 ฉบับ ที่บริษัท TPIPP. IRPC. ในฐานะผู้จะเข้ามาลงทุนทำนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่แห่งนี้ กำลังจะดำเนินการในเดือนมกราคม 2564 เอาไว้ก่อน หลังจากนั้นได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า ในฐานะรองประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรมคนที่ 2 ลงมาตรวจสอบพื้นที่จริงในอำเภอจะนะทั้ง 3 ตำบลเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ซึ่งได้ทำให้รัฐบาลได้รับทราบถึงข้อเท็จจริงและสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายมิติ ภายใต้การดำเนินงานในโครงการนี้ของ ศอ.บต. และเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามข้อเรียกร้องของประชาชน จึงได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และแก้ไขเพิ่มเติม
จึงให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการดำเนินโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ จังหวัดสงขลา โดยมีองค์ประกอบ และหน้าที่ดังนี้ ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า) เป็นประธาน ให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน (ศาสตราจารย์นฤมล ภิญโญสินวัฒน์) เป็นรองประธาน และมีคณะกรรมการตำแหน่งปลัดกระทรวงของกระทรวงต่าง ดังนี้ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และยังประกอบด้วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร แม่ทัพภาคที่ 4 ผู้บัญชาการตำรวจภาค 9 โดยมีรองปลัดสํานักนายกรัฐมนตรี ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชนสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการประชาชนสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจำนวน 2 คน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ในคำสั่งนี้ให้มีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการขยายโครงการเมืองต้นแบบสามเหลี่ยมมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หรือเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต ให้ศึกษาและทวนปัญหารวมทั้งผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต เสนอแนะแนวทางในการกำหนดนโยบายและมาตรการการแก้ไขปัญหาตามข้อเรียกร้องของประชาชนที่เกี่ยวข้อง ให้รายงานผลการดำเนินการปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี เชิญผู้แทนส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐและบุคคลเข้าร่วมประชุมชี้แจงข้อเท็จจริงให้ข้อมูลรวมทั้งจัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการต่อไป ซึ่งตอนแรกเรามองว่า
เป็นความก้าวหน้าอีกขั้น ในการที่จะให้ร้อยเอกธรรมนัส มีอำนาจทางกฎหมายแต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่ท่านเคยสัญญาตอนที่ท่านลงมาจะนะ และมีหลายภาคส่วนพยายามดิสเครดิตท่านว่า ไม่มีอำนาจแต่งตั้ง และพยายามแย่งซีนแต่งตั้ง คณะอนุกรรมการนี้แทนเพื่อสะดวกในการควบคุมและสามารถปกปิดความผิดพลาดองค์กรตน ซึ่งพวกเราคาดหวังว่าการดำเนินงานของกลไกนี้ต้องตรงไปตรงมา หลังจากนั้นท่านได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริง แต่มีแต่ส่วนราชการตามที่เห็นในหน้าสื่อและลงมาจะนะเพื่อรับฟังความคิดเห็นอีกเมื่อวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ก่อนอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีแค่สองวัน มีนัยยะอะไรทางการเมือง? ซึ่งพวกเราจึงมี(สิทธิ)กังวล ตั้งข้อสังเกตและสงสัยว่าคณะอนุกรรมการฯ ตามที่ได้ตกลงกันไว้กับพวกเรา (ซึ่งได้มีการส่งรายชื่อและกำกับบทบาทหน้าที่ไปด้วยแล้ว) นั้น ยังจะมีการแต่งตั้งด้วยหรือไม่อย่างไร ? เราอยากให้ทุกเปิดเผยบนโต๊ะทุกคนมีส่วนร่วมโปร่งใสเป็นธรรมและตรวจสอบได้ดังนั้นเราจึงเสนอว่า ต้องทำการศึกษาผลกระทบทางยุทธศาสตร์ หรือ SEA. โดยมีคณะนักวิชาการที่มีความเข้าใจในมิติด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม ศาสนา วัฒนธรรม วิถีชีวิตและด้านสันติวิธี (แก้ไขปัญหาความขัดแย้งชายแดนใต้) เพื่อใช้หลักวิชาการในการตัดสินใจต่อโครงการนี้”
ท่านกล่าวทิ้งท้ายโดยส่งเสียงดังๆอีกครั้งว่า “เขาและคณะพร้อมขึ้นไปกรุงเทพมหานครเพื่อประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาลอีกครั้งหากร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่าเบี้ยวสัญญาลูกผู้ชายไม่แต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่ภาคประชาชนร่วมอยู่ด้วย”
อนึ่งนาย ประสาน หวังรัตนปราณี ผช.รมต.ประจำ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรียืนยันว่าจะตั้งคณะอนุกรรมการที่ได้สัญญาว่าแน่นอนหลังจากชุดนี้ซึ่งทีภารกิจทางกฎหมายเป็นหลักเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับการดำเนินการขยายผลโครงการและท่านกล่าวโดยสรุป
“การเดินทางมารับฟังข้อเท็จจริงครั้งนี้ เนื่องจากโครงการเมืองต้นแบบที่ 4 หรือ เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ถูกนำไปเป็นประเด็นในการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านที่มีต่อรัฐบาลในวันที่ 16 ก.พ.นี้…วันนี้ ผมมาประชุมกับ จนท. ส่วนราชการต่างๆ เพื่อขอความร่วมมือในการตรวจสอบ แต่มีคนสั่งการ ไม่ให้เอกสาร แก่คณะอนุกรรมการ แต่มาวันนี้ เราได้เอกสารมาเกือบครบ แล้ว เพราะจะเร่งสรุปผล … ตนขอเตือนไว้ก่อนว่า ตนทำงานตรงไปตรงมา ไม่เห็นแก่หน้าใคร ต่อให้คนเป็นนายสั่ง ถ้าไม่ถูกต้อง ตนจะไม่ทำ ถ้าจะถูกไล่ออกก็ยอม และขอเตือนว่าเรื่องนี้ไม่ได้จบที่ ครม. ตนจะดำเนินการไปถึง ปปช. สำหรับคนที่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ซึ่ง นายประสาน ได้กล่าวย้ำในเรื่องจะเอาผิดกับหน่วยงานในพื้นที่ถึง 3-4 ครั้ง ต่อหน่วยงานที่เข้าไปรับฟังและชี้แจงในสิ่งที่ คณะอนุกรรมการฯ ต้องการรับทราบ
โดยคณะอนุกรรมการเราได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษถึงประเด็นหนึ่งของการเปลี่ยนผังเมืองเพื่ออุตสาหกรรมจากโยธาธิการจังหวัดว่าทำตามกฎหมายถูกต้องหรือไม่ ซึ่งโยธาธิการจังหวัดได้ชี้แจ้งรายละเอียดว่า ปฏิบัติตาม พรบ.ผังเมือง มาตราที่ 35 ที่มีการแก้ไขใหม่ ลดขั้นตอนจาก 18 ข้อเหลือเพียง 8 ข้อ ขณะนี้ทำถึงข้อที่ 3 คือส่งเรื่องให้คณะกรรมการผังเมืองของประชาชน และการแก้ไขผังเมืองตามความร้องขอของ ศอ.บต. เป็นการร้องขอตาม มาตราที่ 35 ซึ่งเป็นตามกฎหมายทั้งสิ้น โดยนายประสาน ได้ถามว่ามีเอกสารตามคำร้องขอของ ศอ.บต. หรือไม่ และให้ส่งให้คณะอนุกรรมมาธิการด้วย
สองประเด็นที่ดินที่ชาวบ้านร้องเรียนเรื่องการออกโฉนดที่ดิน 70 ไร่ให้กับบริษัท ทีพีไอโพลีนซึ่ง ที่ดินดังกล่าวเป็น นส.3 ก. ที่ออกถูกต้องหรือไม่?”
ในขณะที่ นางมัยมูเนาะ ชัยบุตรดี ชาวบ้านจากเครือข่ายจะนะรักษ์ถิ่นเห็นด้วยกับดร.มังโสด หมะเต๊ะ และกำหนดเส้นตาย ทวงสัญญานี้ภายใน 15 วัน ต่อหน้านาย ประสาน หวังรัตนปราณี
https://www.facebook.com/100000567941247/posts/4158977337464490/?d=n
หมายเหตุฟังคลิปประกอบได้ใน
https://www.facebook.com/shukur.dina/videos/10225301082454495/?
1,018 total views, 15 views today
More Stories
SEC ภาคใต้กับSEA สงขลา-ปัตตานี
สู่พรบ.สันติภาพ เพื่อประกันกระบวนการสันติภาพชายแดนใต้
ฮัจญ์ไทยในภารกิจทูตสันติภาพใน 3 ภารกิจ จชต.