เมษายน 26, 2024

spmc สื่อเพื่อสันติ สรรค์สร้างสังคม

ตัน สรี มุห์ยิดดินฯ นายกมาเลเซีย แถลงการณ์หารือกับ ปธน.อินโดนีเซีย

แชร์เลย

CR.กันย์ ทันข่าว.


– วันนี้ ก.พ. ๖๔ ตัน สรี มุห์ยิดดิน ยัสซิน นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย (มซ.) แถลงแก่ผู้สื่อข่าว ร่วมด้วย นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดี อินโดนีเซีย (อซ.) หลังการพบปะทวิภาคี ที่ พระราชวัง เมอร์เดกา กรุงจาการ์ต้า อซ. ว่า มซ. – อซ. ต้องการให้ความสัมพันธ์ระหว่าง ๒ ประเทศ ถูกปรับปรุงให้อยู่ในระดับยุทธศาสตร์ โดยตนมั่นใจว่าการเพิ่มขึ้นของความสัมพันธ์ทวิภาคี จะช่วยให้ทั้ง ๒ ประเทศ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพความร่วมมือที่มีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจ, การค้า และการลงทุน ซึ่งการเสริมสร้างความร่วมมือดังกล่าว ยังสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของผู้นำ ๒ ประเทศ ที่จะทำงานร่วมกันเพื่อรักษาความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ในเรื่องนี้เราได้สั่งให้ รมว.กต. ทั้ง ๒ ประเทศ ระบุประเด็นยุทธศาสตร์ที่สามารถให้ความสำคัญได้ นอกจากนี้เรายังจะเพิ่มความพยายามการค้าและการลงทุน ระหว่าง ๒ ประเทศ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) โดยเราได้จัดการหารือเบื้องต้นในขั้นตอนการทำงานและตนหวังว่าทั้ง ๒ ฝ่ายจะสามารถกระชับการเจรจา เพื่อให้รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติตามมาตรฐาน (SOP) สำหรับการดำเนินการตามเส้นทางสีเขียว ซึ่งกันและกัน (RGL) ได้ ส่วนในการรณรงค์ต่อต้านน้ำมันปาล์มที่เกิดขึ้น ในสหภาพยุโรป (EU), ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย

โดย อซ. – มซ. ในฐานะ ๒ ประเทศ ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มที่ใหญ่ที่สุดในโลก จะยังคงทำงานร่วมกันในการเผชิญกับปัญหาการเลือกปฏิบัติ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า เราสามารถปกป้องอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการช่วยชีวิตชาวสวนรายย่อยหลายล้านราย ที่พึ่งพาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มทั้งหมดใน มซ. – อซ. และร่วมกันยื่นฟ้อง EU หลังจากการเลือกปฏิบัติของ EU ต่อผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยน้ำมันปาล์ม ซึ่ง มซ. ได้ยื่นฟ้อง EU ต่อ องค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อ ๑๕ ม.ค. ๖๔ ที่ผ่านมา เช่นเดียวกับ อซ. ทำในเดือน ธ.ค. ๖๒ โดย มซ. จะทำงานร่วมกับ อซ. ต่อไป ในประเด็นการเลือกปฏิบัติน้ำมันปาล์ม โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถให้กับสภาผู้ผลิตน้ำมันปาล์มแห่งชาติ (CPOPC) และเรามีความกังวลเกี่ยวกับการรณรงค์ต่อต้านน้ำมันปาล์มที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะใน EU, ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย เนื่องจากการรณรงค์ต่อต้านน้ำมันปาล์มไม่มีมูลความจริง และไม่ได้สะท้อนถึงความยั่งยืนของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของโลก รวมทั้งความมุ่งมั่นของ EU ขัดแย้งกับองค์การ WTO ในการปฏิบัติทางการค้าเสรี ส่วนประเด็นประมงในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล มซ. – อซ. ได้ตกลงที่จะสานต่อบันทึกความเข้าใจ (MOU) ของแนวทางร่วมเกี่ยวกับกิจกรรมการประมงในพื้นที่ที่มีปัญหาทางทะเล เพื่อรักษาสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ของชาวประมงในทั้ง ๒ ประเทศ โดย มซ. หวังว่าหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของทั้ง ๒ ประเทศ จะยังคงดำเนินการตาม MOU อีกทั้ง มซ. – อซ. จะยังคงหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและหมอกควันข้ามพรมแดนระหว่าง ๒ ประเทศ ด้วยความร่วมมือนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบในทั้ง ๒ ประเทศ จะสามารถแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ในการจัดการฟาร์มและพื้นที่ป่าพรุ นอกจากนี้กระทรวงที่รับผิดชอบของทั้ง ๒ ประเทศ จะสร้างประเด็นแห่งความเข้าใจ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมและหมอกควันข้ามพรมแดน ด้านประเด็นการจัดหาแรงงานชาว อซ. และการบริการ อซ. ไปยัง มซ. ยังคงเป็นไปตามกฎหมายของประเทศที่มีอยู่ โดยการหารือและความร่วมมือในเรื่องนี้ยังคงดำเนินต่อไป ซึ่ง มซ. เชื่อว่าการหารืออย่างต่อเนื่อง ทั้ง ๒ ประเทศ จะบรรลุข้อตกลงบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน สำหรับการบริการภายในประเทศ ของชาว อซ.

นอกจากนี้ยังตนขอขอบคุณรัฐบาล อซ. ที่อำนวยความสะดวกในกระบวนการส่งตัวกลับประเทศของพลเมือง อซ. ที่ทำงานอย่างผิดกฎหมายใน มซ. อีกทั้ง มซ. ยังมีโครงการ Recalibration Pulang (PRP) ซึ่งมีระยะเวลาจนถึง ๓๐ มิ.ย. ๖๔ นี้ เพื่อให้ผู้หลบหนีเข้าเมืองชาว อซ. เดินทางกลับประเทศได้โดยที่ไม่มีความผิด รวมทั้งตนขอความร่วมมือจากนายโจโกฯ ในการเพิ่มความพยายามในการดูแลให้พลเมือง อซ. ที่ต้องการเข้ามาทำงานใน มซ. สามารถเข้ามาได้โดยใช้ช่องทางตามกฎหมาย ขณะเดียวกัน มซ. – อซ. ยังตกลงที่จะจัดการประชุมอาเซียนวาระพิเศษ เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองประเทศเมียนมาร์ ในเชิงลึกมากขึ้น ดังนั้น รมว.กต. ทั้ง ๒ ประเทศ จึงได้รับมอบอำนาจให้หาข้อตกลงผ่านการประชุมพิเศษในอนาคต ซึ่ง อซ. – มซ. ให้ความสำคัญกับสถานการณ์ทางการเมืองในเมียนมาร์ในปัจจุบัน ซึ่งถูกมองว่าเป็นการก้าวถอยหลังของกระบวนการประชาธิปไตยในประเทศ และกลัวว่าความไม่สงบทางการเมืองในเมียนมาร์ จะส่งผลกระทบต่อสันติภาพ และเสถียรภาพในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเยือน อซ. อย่างเป็นทางการ จะใช้เวลาไม่ถึง ๒๔ ชม. แต่ตนยืนยันว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยตนรู้สึกขอบคุณที่แม้จะเดินทางเยือนเพียงไม่นาน แต่ก็ให้ประโยชน์มากมายแก่ทั้ง ๒ ประเทศ เนื่องจากมีหลายสิ่งที่สามารถพูดคุยกันได้ในการประชุม และข้อตกลงร่วมกันได้สำเร็จ และเห็นได้ชัดว่าการสนทนาระหว่างทั้ง ๒ คน เป็นมิตรและสร้างสรรค์มากกว่าการประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนฟาเรนซ์

 614 total views,  4 views today

You may have missed